Lamborghini Huracán Super Trofeo
รถแข่ง Cup Car ที่เร็วที่สุด การันตีด้วย 3 แชมป์ติด
เปิดฤดูกาลแข่งขันรถรุ่นใหญ่อย่าง Super Car ในบ้านเรา เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในรายการ Thailand Super Series มีรถแข่งที่ถูกจับตามองอย่างยิ่ง เพราะในการแข่งขันครั้งนั้น แบ่งย่อยเป็น 3 เรซ ซึ่งรถแข่งคันนี้สามารถคว้าแชมป์มาได้ทั้งหมด แถมทิ้งห่างคู่แข่งแบบไม่ต้องไล่กันเลยทีเดียว
ซึ่งในการแข่งขันรุ่นนั้นคือ Super Car Class 2 หรืออีกชื่อที่ดูสากลหน่อยคือ Super Car GTM ซึ่งรถที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในรุ่นนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นรถแข่งแบบ One Make Race จากค่ายต่างๆ หรือเรียกกันว่า Cup Car อย่างเช่น รถ Ferrari ก็จะมีการแข่งขันชื่อว่า Ferrari Challenge รถ Porsche ก็จะมีการแข่งขันชื่อว่า Porsche Carrera Cup รถ Audi R8 ก็จะมีการแข่งขันชื่อว่า Audi R8 LMS Cup
รถแต่ละค่ายเมื่อมารวมกันแล้ว ก็จะต้องมีการจำกัดในเรื่องเทคนิคต่างๆ อย่างแรงม้า น้ำหนัก ความสูง เพื่อให้รถแต่ละค่ายวิ่งรวมกันได้ หรือที่เรียกกันว่า BoP (Balance of Performance) ซึ่งจะทำให้รถที่เร็วช้าลงมาพอๆ กับคันอื่นๆ ทำให้เกมการแข่งขันดูสนุกขึ้น
ซึ่งรถแข่งคันนี้มาจากซีรีส์ Lamborghini Huracán Super Trofeo และแน่นอนว่า มันคือ Lamborghini Huracán สปอร์ตคาร์ระดับโลกที่ออกมาให้ชาวโลกยลโฉมเมื่อปี 2014 และมีการนำรถมาแปลงร่างเป็นรถแข่งและเริ่มซีรีส์การแข่งขันในปี 2015 ซึ่งคันนี้เป็นรถแข่งของ โต้ง สรัญ เสรีธรณกุล จากทีม Racing Spirit ครม คนรักเมีย PSC นักแข่งที่มีประสบการณ์การแข่งขันทั้งดริฟต์และเซอร์กิต
- ล้อขอบ 18 กับยาง Hoosier
- ปีกแบบคอหงส์ (Swan-neck Wing) สร้างแรงกดได้มากกว่าแบบเดิม
ซึ่งฤดูกาลก่อนหน้านี้เคยใช้ Porsche ลงทำการแข่งขัน แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงได้วางแผนที่จะเปลี่ยนรถแข่งคันใหม่ ศึกษาหาข้อมูลว่ารถแข่งจากค่ายไหนที่ทำเวลาได้ดีที่สุด ลงทุนบินไปชมการแข่งขันในซีรีส์ต่างๆ ทั่วเอเชีย สุดท้ายก็มาจบลงที่ Lamborghini Huracán คันนี้
ซึ่งเหตุผลที่เลือกรถคันนี้ก็เพราะเป็นรถที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดในกลุ่มรถ Cup Car และอีกประเด็นคือการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง ช่างในทีมสามารถทำได้เองหลายอย่าง อย่างเช่น เกียร์ก็เปลี่ยนมาเป็น sequential ซึ่งช่างในบ้านเราสามารถเซอร์วิสได้เอง ไม่ต้องส่งกลับไปเซอร์วิสที่ต่างประเทศ
แต่รถคันนี้เป็นรถที่เร็วที่สุดในบรรดา Cup Car งานนี้ก็ต้องมีการต่อให้คันอื่นๆ กันหน่อย โดยกฎ BoP (Balance of Performance) ซึ่งคันนี้ต้องแบบกน้ำหนักเพิ่มอีก 50 กิโลกรัม ยกรถให้สูงขึ้น ลดแรงม้าลงโดยใช้คอคอดขนาด 48 มิลลิเมตร อุดอยู่หน้าลิ้น ทำให้ความเร็วลดลงจนใกล้เคียงกับรถแข่งคันอื่นๆ
- ภายใน ยังคงสภาพรถบ้านอยู่ในบางส่วน
- พวงมาลัยมีปุ่มที่ต้องใช้ประจำติดตั้งอยู่
- จอ MoTeC C185
- Key Pad สำหรับสั่งเปิดอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงสตาร์ตเครื่องยนต์
มาดูกันที่ตัวรถกันบ้าง บอดี้ที่เสริมชุดแอโรคิตเข้าไป และปีกหลังแบบ Swan-neck Wing หรือปีกแบบคอหงส์ ซึ่งยุคหลังๆ รถแข่งระดับซูเปอร์คาร์เปลี่ยนมาใช้ปีกหลังแบบนี้กันหมด ก็เพราะปีกแบบนี้สามารถสร้างแรงกดได้มากกว่า โดยการย้ายจุดยึดปีก ซึ่งแต่เดิมจะยึดอยู่ข้างล่าง แต่แบบ Swan-neck Wing จุดยึดปีกจะอยู่ด้านบน
การทำงานของปีกหลัง คือการที่ลมวิ่งผ่านปีกด้านบนช้ากว่าด้านล่าง ซึ่งลมที่วิ่งช้าจะมีแรงกดมาก ลมที่วิ่งเร็วจะมีแรงกดน้อย นั่นก็หมายถึงด้านบนปีกจะมีแรงกดมากกว่าด้านล่างปีก ทำให้โดยรวมปีกจะสร้างแรงกดให้กับตัวรถ และถ้าเรายิ่งมีพื้นที่ใต้ปีกมาก แรงกดใต้ปีกก็ยิ่งลดลง ความแตกต่างของด้านบนและด้านล่างยิ่งมาก ทำให้แรงกดด้านบนยิ่งเพิ่มขึ้น ทำให้ปีกแบบ Swan-neck Wing มีแรงกดมากกว่าแบบเก่า ซึ่งเมื่อรวมกับขาพาร์ทของคันนี้ ทำให้รถมีแอโรไดนามิกส์ที่ดีมาก
ระบบเครื่องยนต์ เปลี่ยน ECU ใหม่ เป็น MoTeC M182 และชุด PDM+Key Pad ซึ่งได้รับการปรับแต่งมาจากผู้ผลิต มีกล่อง Datalog ที่ติดตั้งเพิ่มเข้าไปจากทางผู้จัดการแข่งขัน เพื่อเอาข้อมูลจากการแข่งขันมาวิเคราะห์ เพื่อหาแต้มต่อ BoP (Balance of Performance)
- กล่อง ECU ที่ทางผู้ผลิตรถเปลี่ยนมาให้ เป็น MoTeC M182
ระบบส่งกำลังที่มีการเปลี่ยนใหม่ จากเดิมที่เป็นระบบ dual-clutch ซึ่งมีความยุ่งยาก ไม่สามารถรับแรงม้าสูงและการใช้งานในแบบการแข่งขันได้ดีเท่าไหร่ Lamborghini Huracán Super Trofeo คันนี้ได้เปลี่ยนระบบส่งกำลังใหม่ โดยใช้เกียร์ 6-speed sequential gearbox electrically actuated by Marelli ซึ่งเป็นเกียร์แบบ sequential สำหรับแข่งขันทั่วไป และควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ด้วย electrically actuated ซึ่งตัวนี้จะเป็นตัวออปชันเสริม สำหรับการเปลี่ยนเกียร์ด้วย paddle shift บนพวงมาลัย และระบบคลัตช์เป็นแบบ 3 แผ่น
- เครื่องยนต์ V10 ที่ถูกกฎ BoP ลดแรงม้า จาก 600+ เหลือแค่ 500+
ระบบช่วงล่างเป็นแบบปีกนก 2 ชั้น เหมือนรถถนนทั่วไป แต่มีการอัพเกรดบู๊ชต่างๆ ให้เป็นแบบ rigid bushing เพื่อความกระชับ ไม่มีการให้ตัวเหมือนพวกบู๊ชยาง และช็อคอัพก็อัพเกรดเป็นรุ่นสำหรับแข่งขันจาก OHLIN แบบ 3 Way ระบบเบรก ใช้คาลิเปอร์ Brembo หน้า 6 pot หลัง 4 pot และยังมีระบบ ABS แต่เป็น ABS สำหรับรถแข่ง ซึ่งจะทำงานได้ดีกว่า ไวกว่ารถบ้านมาก และสามารถปรับการทำงานให้ทำงานมากน้อยได้อีกด้วย
การเลือกรถมาแข่งขัน ก็ต้องศึกษาหาข้อมูลมาก่อน ว่ารถคันไหนจะได้เปรียบ และอยู่ในกติกาที่ผู้จัดกำหนดไว้ จะทำให้เราได้รถที่มี Performance สูงสุดตามกติกา เมื่อบวกกับการขับขี่ที่ดีแล้ว ชัยชนะก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม อย่าง Lamborghini Huracán Super Trofeo คันนี้ ที่สามารถคว้าแชมป์มา 3 สนามติด และอีก 2 สนามถัดมา หลังจากถูกกฎ BoP ไปแล้ว ก็ยังได้โพเดียมอยู่ในอันดับ 3 และ 2 ซึ่งทำให้คะแนนสะสมในขณะนี้นำโด่ง และน่าจะคว้าแชมป์ได้อย่างไม่ยาก
- ช็อคอัพรุ่นสำหรับแข่งขันจาก OHLIN แบบ 3 Way
- โต้ง สรัญ เสรีธรณกุล จากทีม Racing Spirit ครม คนรักเมีย PSC
CHASSIS AND BODY
Body : Complete aero kit with quick fixing (DZUST)
SUSPENSION
Suspension : Double wishbones with rigid bushing
TYRES AND WHEELS
ESP : No
Steering : electro hydraulic power steering
Front tires : Pirelli 305/660-18 DH
Rear tires : Pirelli 315/680-18 DH
Front wheels : 11×18” ET 28.8
Rear wheels : 12×18” ET 32
BRAKES
Brakes : Racing ABS (12 position)
Steel brakes : Discs: Brembo Racing-Front: Steel 380×35 mm.,
Rear : Steel 355×32 mm.;
Calipers: Brembo Racing-Front: 6 pot monoblock, Rear: 4 pot monoblock
ENGINE
Type : V10 IDS (NO MPI), Air Intake by BMC
Displacement : 5,204 cm³ (317.6 cu.in.)
power : 620 CV (456 kW) @ 8,250 rpm
torque : 570 Nm (419 lbft) @ 6,500 rpm
Engine management system : MoTeC M182 (9 position Traction Control)
DRIVETRAIN
Type of transmission : Rear Wheel Drive
Gearbox : 6-speed sequential gearbox electrically actuated by Marelli
Clutch : 3 discs racing clutch Lightweight flywheel
DIMENSIONS
Wheelbase : 2,620 mm. (103.15 in)
Front track : 1,695 mm. (66.73 in)
Rear track : 1,660 mm. (65.35 in)
Dry weight : 1,270 kg (2,800 lb)
Weight/Power ratio : 2.05 kg/CV (4.52 lb/CV)
CAPACITIES
Fuel tank capacity : 118 l (31.2 gal.)