XO AUTOSPORT
  • Home
  • XO NEWS
  • XO MAGAZINE
    • J-Zone
    • U-Zone
    • Race Zone
    • Live Zone
    • Knowledge Zone
  • VIDEO
  • XO EVENT
  • X-SELL
  • SOUPED-UP
  • CONTACT
No Result
View All Result
XO - AUTOSPORT : THAILAND TUNING CARS MAGAZINE
  • Home
  • XO NEWS
  • XO MAGAZINE
    • J-Zone
    • U-Zone
    • Race Zone
    • Live Zone
    • Knowledge Zone
  • VIDEO
  • XO EVENT
  • X-SELL
  • SOUPED-UP
  • CONTACT
No Result
View All Result
XO - AUTOSPORT : THAILAND TUNING CARS MAGAZINE
No Result
View All Result
Home XO MAGAZINE Live zone b

My Name is… Pondtech

xo team by xo team
2019-04-02
in Live zone b
0
My Name is… Pondtech
Share on FacebookShare on Twitter

ๆ
Photo : ธัญญนนท์ แสงภู่

เป็นครั้งแรกนะที่ได้คุยกับนักแข่งรถแดร็กมืออาชีพ ทำไมผมถึงเรียกแบบนี้  เพราะตั้งแต่ทำงานมาสิบกว่าปี ก็เพิ่งเจอ ปอนด์ เทค เนี่ยแหละ  ที่ประกอบอาชีพนักแข่งรถ คือ มีเงินเดือนประจำ มีผู้สนับสนุนติดตัวมากมาย  เค้าไม่มีรถไว้แข่งส่วนตัว  แต่เค้ามีหน้าที่ขับรถแข่งแดร็ก ให้กับต้นสังกัด หรือผู้ว่าจ้าง เพียงอย่างเดียวครับ
“พี่!! มีคนชวนผมไปขับรถแดร็กที่อเมริกา” เป็นประโยคเด็ดสำหรับผมนะ  ฟังจากน้ำเสียงที่เค้าพูดกับผมในวันนั้น  มันเป็นเสียงแห่งความภูมิใจ ผมเองก็ดีใจกับเค้านะ ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปในเรื่องของอนาคต ว่าเสียงปลายสายที่โทรมาชวนปอนด์ ไปขับรถแข่งในถิ่นกำเนิดแดร็กขนานแท้ จะเป็นเช่นไร ผมเชียร์นะ แล้วก็คิดว่าพวกเราชาวไทยทุกคนก็เชียร์ให้ปอนด์ได้ไปเหมือนกันครับ
จากงาน LEO Presents ECU=SHOP Souped Up Thailand Records 2017  ในปีที่ผ่านมา  ผลงานของปอนด์ มีความชัดเจนมาก  และเมื่อผมเหลือบตามองชุดแข่งที่เค้าใส่ ผมเห็นโลโกแบรนด์ผู้สนับสนุนเค้า มากมายนับไม่ถ้วนจริงๆ เป็นไปตามคอนเซปต์ลีโอเลยครับ  #รวมมันส์กันมันส์กว่า  ซึ่งการที่คุยกับปอนด์ในครั้งนี้ก็ทำให้รู้เรื่องราวมากมายจากตัวตนของเค้า  ซึ่งโอกาสไม่ได้เดินเข้าไปหาเค้า แต่ตัวเค้าต่างหากที่เดินเข้าไปหาโอกาส จากแว้นซิ่ง 2 ล้อถนน มาสู่นักแข่งแดร็กมืออาชีพ ระดับเบอร์ต้นของประเทศไทย ผู้ชายที่เปลี่ยนเกียร์โดยไม่มองวัดรอบ แต่ใช้สัญชาตญาณจากการฟังเสียงเครื่องในการเปลี่ยนเกียร์  ได้เล่าให้ฟังว่า “ถ้านับความซิ่งของตัวผมก็ต้องเริ่มตั้งแต่แว้น 2 ล้อเลยนะ แต่ถ้าเป็นรถยนต์ก็คงเป็น Mitsubishi E-Car เอารถที่บ้านนั่นแหละ มาทำเป็น EVO III  ตั้งแต่เรียน ปวช. 1 เลย

open
“จำฝังใจเลยครับ วันนั้นขับรถเฟรม SUPER MAX เข้าเส้น 8.5 วินาที  

ร่มกางนะ แต่เบรกแตก  ร่มหน้าที่มันคือชะลอรถ ไม่ได้มีไว้หยุดรถ 
เบรกต่างหากที่เป็นตัวหยุดรถ  วินาทีที่รู้ว่าเบรกแตก  ความเร็วเข้าเส้น 280 กม./ชม.
ตั้งสติ ต้องทำอะไรก่อนเป็นลำดับ เพื่อให้รถหยุด บนระยะทางที่เหลืออยู่ 600 เมตร
ผมพยายามนำรถชิดซ้าย  เพื่อที่จะใช้พื้นที่ด้านหลังสนาม
คิดซะว่าเหมือนรถดริฟต์ หมุนไป 1 รอบ  แล้วหยุด ปลอดภัยทั้งคนทั้งรถครับ”

แต่ชีวิตมันเปลี่ยนเมื่อรถผมโดน Honda แซงตอนซิ่งถนน ก็ยังงงที่ว่า รถ NA มาแซงรถเทอร์โบได้ยังไง ก็เลยตัดสินใจย้ายค่ายมา Honda ทันที การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เอง ทำให้ผมเข้าสู่สนามแข่งเป็นครั้งแรก ด้วยการชักชวนของเพื่อนให้มาลองเวลา  ผมก็คิดว่ามาลองทำไมในสนาม  คือชอบซิ่งถนนมากกว่า  แต่พอมาสัมผัสครั้งแรก มาลองซ้อม วันศุกร์เอารถเข้าไป เจอคนนั่งดูในสนาม รู้สึกตื่นเต้น  คนดูเยอะ โคตรเขิน ยุคนั้นรถยังต้องวิ่งลอดอุโมงค์คนดู เพื่อเข้าจุดสตาร์ต เป็นยุคแรกของสนามคลอง 5 เลย ผมใช้ Honda EF เครื่อง B16 ท่อนล่าง 20 วิ่งครั้งแรกได้ 15 วินาทีกว่า   ขับแย่มาก ไปแบบไม่รู้เรื่อง ไม่มีเทคนิค ไม่มีอะไรทั้งสิ้น บ้ามุทะลุอย่างเดียวเลย ซึ่งพอผมได้คุยกับเพื่อนๆ เค้าวิ่งได้เร็วกว่า ทั้งๆ ที่ความจุเครื่องก็น้อยกว่าของผม  ก็มาคิดว่าทำไมถึงจะวิ่งดีกว่าชาวบ้านเขา ก็เลยตั้งสติใหม่ ด้วยความที่อยากจะเอาชนะเพื่อน ก็เลยมาซ้อมบ่อยทุกวันศุกร์  หัดออกตัว เปลี่ยนเกียร์ แบบไหน รถถึงจะดี ลองทำเองโดยไม่มีใครสอน  ส่วนรถผมก็ให้ พี่แจ็ค J Speed เป็นคนทำเครื่องให้  ก็คิดอยู่เหมือนกันนะ ว่าที่วิ่งสู้เค้าไม่ได้ เป็นที่รถหรือเป็นที่คน ก็เลยลองให้เพื่อนคนนั้นมาขับรถผม สรุปว่าเวลาออกมาดี สรุปตัวผมเองนี่แหละที่เป็นจุดอ่อน ทีนี้ก็ขยันซ้อมออกตัวตลอด  ซึ่งเพื่อนผมก็บอกว่าให้ไปขอ time slip เพื่อดูเวลาระยะออกตัวเป็นยังไง เวลาอยู่ที่เท่าไหร่  จะได้เอามาคำนวณ ว่าช้าช่วงไหน เพื่อปรับปรุงการขับให้ดีขึ้น ก็เลยฝังใจกับ time slip นี่แหละ วิ่งทุกครั้งก็จะขอดูทุกครั้ง เผื่อไปปรับตัวเอง ก็ฝึกอยู่ 2-3 เดือน กว่าจะเข้าที่ ร่างกายเริ่มจำว่าจะต้องทำอะไรตอนไหน ในช่วงระยะไหน
บอกตรงนะ ผมไม่เคยลงแข่งงานไหนเลยนะ มาซ้อมแค่วันศุกร์เท่านั้น  ซึ่งงานแรกที่ผมลงแข่งคืองาน VTEC Party  ผมเอา EF คันนี้ เครื่องยนต์ B16 ท่อนล่าง B20 วิ่งได้ 14.1 วินาที ได้ที่ 1 มาครองในครั้งนั้น  ซึ่งหลังจากแข่งขันในครั้งนั้น มันเปลี่ยนความรู้สึกผมเลยนะ  ผมหลงใหลการแข่งขันในสนาม  มีรางวัลให้ภูมิใจ แล้วก็ปลอดภัยกว่าบนถนนเยอะเลย  มี่สำคัญ กลับบ้านไป พ่อถามไปเอาถ้วยมาจากไหน ก็บอกเค้าได้อย่างเต็มปากว่า ไปแข่งในสนามมา มันภูมิใจนะ ที่เราประสบความสำเร็จ

3
“แมตช์ที่เหวอที่สุด ก็ตอนขับ RX-8  แล้วเสียอาการ

ตอนนั้นเข้าเกียร์ 5 ความเร็ว 290 กม./ชม รถเข้ากำแพง 
เป็นประสบการณ์ที่หนักที่สุดของผมตั้งแต่เคยขับรถมา
แต่ต้องยอมรับเรื่องระบบ Safety ของพี่อ๋อ  ดีมากจริงๆ
บริเวณค็อกพิต คนขับไม่เป็นอะไรเลยแม้แต่นิดเดียว ปลอดภัยดีครับ”

ส่วนรถก็ขยับสเต็ปเพิ่มขึ้นโดยให้ พี่แจ็ค ทำเหมือนเดิม ซึ่งพอรถมันเริ่มแรงมากๆ ขึ้น   เครื่องก็เริ่มเปราะ หลายครั้งเข้าก็เริ่มเกรงใจพี่เค้า เพราะต้องคอยมาเซอร์วิสให้ผมตลอด งานที่อู่ก็เยอะอยู่แล้ว  ก็เลยตัดสินใจรื้อเครื่องทำเองที่บ้าน ผมไม่เคยทำเครื่องรถยนต์เลยนะ  เคยทำแต่เครื่องมอเตอร์ไซค์ ช่วงแรกๆ ก็วุ่นวายกับชีวิตเพื่อนๆ รอบตัวมาก  โทรวุ่น ถามนู่นนี่นั่น ว่าทำไอ้นี่ยังไง ตั้งมาร์คตรงไหน เรียกว่าถามตลอด  ก็ทำออกมาตัวนึงไปลองวิ่ง ก็สู้เครื่องที่พี่แจ็คทำให้ไม่ได้ เพราะผมยังหาความต้องการของเครื่องยนต์ไม่เจอ ว่ามันต้องการอะไร ในช่วงรอบไหน  คือผมเอาประสบการณ์จากการทำเครื่องมอเตอร์ไซค์มาประยุกต์ใช้ แต่ก็ยังไม่ถูกที่สุด กับความต้องการของเครื่องยนต์  ผมก็โทรปรึกษาพี่แจ็คด้วย ซึ่งพี่เค้าก็ให้คำปรึกษาอย่างดีเลย  เรียกว่าหมดเครื่องไป 2 ตัว กว่าจะได้ความแรงกลับมา ยุคนั้นทำเครื่องเสร็จ ก็ให้ พี่เบิร์ด V Pro เป็นคนจูนรอมให้
ในปี 2010 ผมเริ่มจริงจังในการทำรถตัวเองแล้วก็ไปลองวิ่งสนาม  ไม่มีใครรู้จัก จะมีแต่เพื่อนๆ กันที่ให้ผมเซอร์วิสรถให้ ซึ่งทำไปทำมากลุ่มเพื่อนเริ่มมากขึ้น ก็ช่วยๆ กันทำ ไม่ได้เก่งกาจอะไร ก็คือพอทำได้  เซอร์วิสให้กับเค้าได้  อะไหล่ผมก็ซื้อที่พี่แม็ค (MacTec)   จนในปี 2011 ผมได้มาขับ Cefiro ให้กับพี่ตา (ราม 77) ซึ่งตัวผมเองรู้จักกับพี่ตา และพี่อ๋อ มาก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากรถผมเอง ก็ยังมี 200 SX เครื่อง 2JZ ของเพื่อนอีกคันนึงด้วย ที่ผมขับ แล้วก็ทำเวลาได้ดีนะ 11 วินาทีต้นๆ สำหรับยางเรเดียล  จากจุดนี้แหละมั้ง ที่พี่อ๋อชวนมาให้ลองขับรถพี่ตา ขับได้ก็ขับ  ถ้าขับไม่ไหวก็บอก  ซึ่งรถคันนั้นเป็นรถแข่งรุ่น Pro 6 มันคนละเรื่องกับขับหน้าที่เคยขับเลย  ชอบรถมันแรงมาก  แต่มันแรงเกินความสามารถผมในตอนนั้น กลัวจะเอาไม่อยู่ พี่อ๋อเคยขับไว้ 8.2 วินาที ผมขึ้นไปลองขับครั้งแรก 8.9 วินาที  ในใจคิดว่าทำไม่ได้แน่ๆ ความสามารถผมไม่ถึง  แต่พี่อ๋อบอกผมว่า ใจเย็นๆ เดี๋ยวลองไปเรื่อยๆ ก็จับอาการรถได้  ลองขับได้ 5 ครั้ง ก็ทำเวลาลงมาได้เท่าที่พี่อ๋อขับ เค้าก็บอกว่า เอ็งขับได้แล้วปอนด์  หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ก็คืองาน Souped Up Thailand Records ผมก็ขับคันนี้แหละลงแข่งในรุ่น PRO  ถ้าใครจำไม่ได้ ให้ลองไปดู Cefiro คันที่ติดข้างรถว่า “ทำไมต้อง UZ”  ได้อันดับ 3 Overall คือรถคันที่ผมขับในปีนั้น เริ่มมีคนรู้จักผมแล้วว่าชื่อ ปอนด์  ก็จะเรียกกันว่า ปอนด์ ราม 77
หลังจากนั้นผมก็ขับรถแข่งให้กับพี่ตามาตลอด  ซึ่งซ่อมเซอร์วิสรถผมก็ทำอยู่ที่บ้าน ในปี 2012  ผมได้แชมป์ซุปอัพ แต่ก็ต้องบอกว่าไมใช่มาจากความสามารถผมนะ  เพียงแต่รถคนอื่นเค้ามีปัญหา  แต่รถผมพร้อมที่สุด แต่ไม่ใช่รถแรงที่สุด  ฉายา ปอนด์ เทค เกิดขึ้นมาจากช่วงๆ นี้แหละ เพื่อนๆ  เค้าบอกว่า ผมทำรถฮอนด้า  ระบบเครื่องยนค์มี VTEC ก็เลยเรียก ปอนด์ เทค กันติดปาก กลายเป็นชื่อใหม่ผมตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งชื่อ ปอนด์ เทค ในสายฮอนด้า มันไม่แรงเท่าในสายตัวขับแดร็ก  ซึ่งในปี 2013 ถ้าใครจำได้ จะรู้ว่ารถแข่งผมไฟไหม้ เหตุเกิดจากหลังเข้าเส้นไปแล้ว กางร่ม สายน้ำมันมันแตก  ไปสีกับตัวถังแล้วทำให้เกิดไฟลุก ผมปลดเข็มขัด โดดออก มาข้างนอก ปล่อยให้รถไหลไปชนกำแพง  บอกเลยว่า ร้องไห้ เสียดายมาก คิดว่าไม่มีรถขับแล้ว พี่ตาบอกอย่าซีเรียส ปลอดภัยก็ดีแล้ว เดี๋ยวรถค่อยทำใหม่ได้ นับว่าเป็นอุบัติเหตุครั้งแรกในชีวิตของผมเลย  จะว่าไปในตอนนั้นผมก็เริ่มมีรายได้จากการขับรถแข่งแล้ว ซึ่งก็ต้องขอบคุณพี่ตา ที่ให้โอกาส แล้วส่งผลต่อเนื่องไปให้ทุกๆ คนเห็นแววของผมครับ

4
“ในยุคออนไลน์ ทุกคนสามารถขับรถได้โดยอาจารย์ใน YouTube 

เข้าเกียร์ เหยียบคลัตช์ ได้เหมือนกันหมด
แต่ทีนี้มันอยู่ที่หูคนจะฟังรอบ หรือเอาตามองวัดรอบแทน”

ในวันนึง พี่อ้า ECU โทรมาหาผม ถามว่าสนใจจะเป็นนักแข่งในทีมมั้ย?  ผมตอบไม่คิดเลยครับ ว่าเป็นครับ!!!  สรุป ผมเข้าเป็นนักแข่งรถให้กับทาง ECU=SHOP โดยมีเงินเดือนประจำ มีหน้าที่คือขับรถแข่งเท่านั้น  ผมเองก็ไม่เคยคิดว่าชีวิตจะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้  มีคนจ้างให้เป็นนักขับรถมืออาชีพ  โดยรถคันแรกที่ผมขับให้กับทาง ECU=SHOP คือรถฮอนด้า ซีวิค 3 ประตู ขับแข่งที่เชียงใหม่  สนาม 700 ปี เป็นสนามแข่งแดร็กระยะ 200 เมตร  ในยุคนั้นเค้าวิ่งกัน 8 วินาที  ผมได้ไปแข่งครั้งแรก รันแรกก็ 7.6 วินาทีเลย ทุกคนประหลาดใจ ว่าทำไมผมเปลี่ยนเกียร์เร็วจัง ทุกคนจับตาดูผม  กลายเป็นว่ามีกล้อง 4-5 ตัว ติดเต็มรถที่ผมขับ เพื่อดูว่าผมขับรถในลักษณะอย่างไร ทำไมถึงเร็ว กลายเป็นทุกคนทั่วประเทศเห็นการขับของผมหมดเลย ด้วยกล้องในรถของ ECU=SHOP
ในยุคออนไลน์ ทุกคนสามารถขับรถได้โดยอาจารย์ใน YouTube  เข้าเกียร์ เหยียบคลัตช์ ได้เหมือนกันหมด แต่ทีนี้มันอยู่ที่หูคนจะฟังรอบ หรือเอาตามองวัดรอบแทน  แต่ส่วนตัวผม ไม่ได้มองวัดรอบ  ผมใช้หูฟังเสียงรอบเครื่องทุกครั้งเวลาขับ  ซึ่งทุกครั้งที่ขับรถแข่ง ผมทำแบบนี้ ทำไมผมถึงไม่ดูวัดรอบ? ก็เพราะผมเกิดมาจากมอเตอร์ไซค์  มอ’ไซค์สมัยนั้นไม่มีวัดรอบให้ดู ใช้การฟังเสียงเอาอย่างเดียว เวลาเปลี่ยนเกียร์ ก็เลยกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวผมมา อย่างจูนเนอร์เค้าจูนเครื่องตัวนี้ไว้ที่ 9,000 รอบ  ผมก็ไม่รู้ว่าผมเปลี่ยนเกียร์เป๊ะมั้ย แต่ด้วยเซ้นส์มันบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนเกียร์  เมื่อคนจูนเปิดดูข้อมูลทุกรอบที่ขับ ผมก็เปลี่ยนเกียร์ที่ 8,900 อยู่ประมาณนี้ตลอด  ผมว่ามันเหมือน พรสวรรค์ที่ติดตัวผมมา  ผมไม่เคยเลือกรถ  แต่รถจะเลือกตัวผมเอง  ยิ่งในช่วงงานใหญ่ๆ อย่าง Souped Up จะเห็นได้ว่าผมขับคันนั้นเสร็จ แล้วต้องกระโดดขึ้นไปขับอีกคันต่อ รถแต่ละคันก็มีความแตกต่างกันออกไป  ผมจะรู้เพียงแค่ว่ารถคันนี้ต้องออกตัวประมาณไหน  ส่วนแทร็กจะรู้ว่าหนึบขนาดไหนก็จะรู้เมื่อตอนผมเบิร์นยาง แล้วชู้ตออกไป  แล้วเช็กหน้ายางอีกหนึ่งที ถึงจะรู้ว่าจะต้องออกตัวประมาณไหน สรุปคือ หน้างานอย่างเดียวครับ
เรื่องของอนาคต มันก็คือสิ่งที่ยังไปไม่ถึง  แต่ก็มีสัญญาณที่ดีส่งมาถึงตัวผม อยากจะให้ไปขับรถแดร็กที่อเมริกา แต่ก็ต้องรอดูกันต่อไป  มันก็คือความฝันของผมนะ ที่จะได้ไปสู่จุดเริ่มต้นแดร็กในแบบฉบับออริจินอล ถึงช่วงเวลานั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม  แต่วันนี้ผมมาเกินฝันของตัวเองมาก ความฝันเด็กน้อยคนนึงที่ยืนเกาะรั้วดูรถแข่งอยู่ข้างสนาม อยากจะมีโอกาสขับรถแบบนั้นบ้าง  วันนี้ผมได้ขับแล้วครับ”
หลายๆ คนจำภาพติดตาว่า ปอนด์ เทค คือนักแข่งมืออาชีพ  แต่ผมก็อยากบอกว่า ในอีกมุมนึง เค้าก็ยังคงรับเซอร์วิส รถแข่ง รถบ้าน ซ่อมบำรุง รับทำหมดทุกอย่างเหมือนเดิม  ซึ่งการที่เค้ามีวันนี้ได้ มันเริ่มต้นจากจุดนี้ เพราะมันคือธุรกิจหลักที่หาเลี้ยงครอบครัวเค้าครับผม มีปัญหาเรื่องฮอนด้า ปรึกษา ปอนด์ เทค ได้ครับ

*เพื่อความสะดวก กรุณาดู Video ผ่าน Google Chrome
Tags: pondtechปอนด์ เทคเบญจรงค์ ชมายกุล

Related Posts

Thai Scale Tuning : AMP MODELCAR
Live zone b

Thai Scale Tuning : AMP MODELCAR

  STORY : PHOTO   วรุตม์ สีหนาท THAI SCALE TUNING AMP MODELCAR หลายคนที่เก็บสะสมรถโมเดล Die-cast คงต้องเคยได้ยินชื่อของเพจ หรือถ้าอายุมากหน่อยอาจจะเคยเล่นเว็บบอร์ด “Ampmodelcar” จากความชอบในวัยเด็ก นำมาสู่การเป็นเจ้าของเพจรถโมเดลชั้นนำในประเทศไทย...

by xo team
2020-08-04
Man And The Machine : Never Break Down
Live zone b

Man And The Machine : Never Break Down

  STORY : PHOTO   วรุตม์ สีหนาท MAN AND  THE  MACHINE “Never break down “ “คุณเคยถามตัวเองไหมว่า ถ้าร่างกายมีอุปสรรค คุณพร้อมที่จะต่อสู้อย่างสุดกำลังไหม เพื่อสิ่งที่คุณรัก” ...

by xo team
2020-07-22
IMPORT 9
Live zone b

IMPORT 9

  เรื่อง. ToN ชวลิต สิทธิวรการ ภาพ: TakeSnap “รถต้องสวย รวยทีหลัง หมดช่างมัน พลังไว้ก่อน “IMPORT 9”   รถสวยเนี่ยไม่เถียงเลย สำหรับ IMPORT 9 กว่าจะมาเป็น IMPORT...

by xo team
2020-07-10
Top 10 Garage
Live zone b

Top 10 Garage

  PHOTO : ธัญญนนท์ แสงภู่ Club Xo :  TOP 10 GARAGE คลับเอ็กซ์โอ ในเล่มนี้ พบกับ Top 10 Garage  ศูนย์บริการซื้อ-ขาย รถยนต์มือสอง...

by xo team
2020-07-03
Next Post
‘ภูริต-กันตศักดิ์’ แชมป์จีที เอเชีย ที่เซปัง

'ภูริต-กันตศักดิ์' แชมป์จีที เอเชีย ที่เซปัง

No Result
View All Result
  • Home
  • XO NEWS
  • XO MAGAZINE
    • J-Zone
    • U-Zone
    • Race Zone
    • Live Zone
    • Knowledge Zone
  • VIDEO
  • XO EVENT
  • X-SELL
  • SOUPED-UP
  • CONTACT

© 2021 XO AUTOSPORT Thailand's Auto Tuning Culture Media

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Reject Allow
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save
Privacy Preferences
Name
dpdpa_consent
Category
คุกกี้ที่จำเป็น
Host
.xo-autosport.grandprix.co.th
Duration
10 ปี
Description
เพื่อสำหรับเก็บความยินยอมของ User
Name
_ga
Category
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
Host
.xo-autosport.grandprix.co.th
Duration
1 ปี
Description
ใช้สำหรับเก็บนับจำนวนผู้เข้าชมไปยัง Google Analytic