BRZ TURBO FOR CIRCUIT! : SET UP BY A MOTORSPORT – TECHDESIGN

 

Photo : Thanyanon Sangpoo (TakeSnap)

ใครจะรู้ว่า SUBARU BRZ ที่เคยขึ้นปก XO AUTOSPORT เมื่อปีที่แล้ว จากรถบ้านสภาพเท่ จะกลายร่างมาเป็นรถแข่ง CIRCUIT ได้ และที่สำคัญ ใช้เวลาแปลงร่างเพียง 1 อาทิตย์เท่านั้น งานนี้ เอ้ TECHDESIGN มีคำตอบมาเล่าให้เราได้รู้กันครับ

โปรเจ็คกต์ BRZ คันนี้ ทางเจ้าของรถ คุณเกรียงไกร วรรัตนธรรม ได้ส่งให้ทาง A MOTORSPORT-TECHDESIGN จัดการสร้างขึ้นมาเพื่อแข่งรายการ THAILAND SUPER SERIES CLASS 3 เริ่มต้นรถคันนี้เป็นเกียร์อัตโนมัติมาจากโรงงาน ทางเจ้าของนำมาเซตเทอร์โบคิต GReddy เพื่อไปวิ่งเล่น CLUB RACE  พอแข่งไปเรื่อยๆ เริ่มวิ่งดีขึ้น เลยอยากขยับไปลองวิ่งรายการใหญ่บ้าง จึงมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยใช้เวลาทำก่อนลงแข่งประมาณ 1 อาทิตย์  ตอนนั้นยังคงเป็นเกียร์อัตโนมัติ อารมณ์รถบ้านเซตเทอร์โบ สนามแรกวิ่งที่บุรีรัมย์ มีปัญหาเรื่องความร้อน ระบบเกียร์ ออกไปซ้อมครั้งนึง กลับเข้ามาก็เจอปัญหาน้ำมันเกียร์เดือด ต้องคอยเปลี่ยนใหม่ เล่นเอาน้ำมันเกียร์หมดไปเกือบ 2 ลัง ไม่ว่าจะซ้อมหรือแข่ง ต้องจัดการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์กันตลอด

สนามต่อมาเลยจัดการแก้ปัญหา แต่รถรุ่นใหม่ไม่ใช่ว่าจะแค่ซื้อเกียร์ธรรมดาลูกใหม่มาชนง่ายๆ เหมือนเครื่อง EJ ใน SUBARU ที่สามารถเปลี่ยนจากเกียร์ 5 สปีด มาเป็น 6 สปีดได้เลยโดยใช้เครื่องตัวเดิม แต่ใน BRZ เป็นระบบกล่อง CAN-BUS สัญญาณทุกอย่างจะเชื่อมกันหมด ไม่สามารถที่จะเอาเกียร์ธรรมดามาจับชนได้ เพราะกล่อง ECU จะไม่อ่าน ทำให้ต้องหารถอะไหล่มาเกือบทั้งคัน เพื่อให้ได้เครื่องเกียร์ ชุดสายไฟ มาครบ ใช้เวลาทำอยู่ประมาณเดือนครึ่งเพื่อเซตให้เป็นเกียร์ธรรมดา ตอนนี้ระบบส่งกำลังบางชิ้นส่วนยังน่าเป็นห่วงอยู่ เนื่องจากการออกแบบมาให้ใช้กับเครื่อง N/A เมื่อนำมาเซตเทอร์โบแรงม้าอยู่ที่ 300 กว่า แรงบิดประมาณ 50 นิวตันเมตร ทำให้เกิดปัญหากับฟันเฟืองเกียร์ที่ค่อนข้างจะเล็ก ซึ่งจุดนี้จะต้องมีการพัฒนาต่อไป อนาคตอาจต้องมีการเปลี่ยนเป็นเกียร์ SEQUENTIAL

การแข่งครั้งแรกที่เป็นเกียร์อัตโนมัติ วิ่งอยู่ที่อันดับ 7 และวิ่งจบ ตอนนั้นคิดว่าประสบความสำเร็จแล้ว อันดับเป็นเหมือนโบนัสมากกว่า แค่ว่ารถวิ่งจบ ทุกอย่างไม่มีปัญหา คือสิ่งที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตอนนี้ต้องรอดูว่าสนามสุดท้ายที่บางแสนจะเป็นอย่างไร ในอนาคตถ้ามีการเปลี่ยนเกียร์เป็น SEQUENTIAL ตัวเทอร์โบก็คงขยับให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเทอร์โบตัวเก่าตอนนี้ดึงประสิทธิภาพสูงสุดมาใช้หมดแล้ว ถ้าจะนำไปสู้กับคู่แข่งคันอื่น จำเป็นที่จะต้องอัพเกรดส่วนนี้เพิ่มเติม

ส่วนไส้ในของเครื่อง FA20 ยังมีของแต่งให้เลือกน้อย เพราะเป็นเครื่องที่ออกมาใหม่ ของบางอย่างในท้องตลาด อาจจะไม่ได้ตามสเป็กที่ต้องการ แต่จำเป็นต้องใช้ไปก่อน ในส่วนของบอดี้ ต้องยอมรับว่าเกิดมาเพื่อแข่ง เพราะสามารถยัดล้อกว้าง 10 นิ้ว ใส่เข้าไปได้สบาย โดยไม่ต้องทำอะไรกับซุ้ม เรื่องบอดี้คิดว่าไม่น่าเป็นห่วง แต่คงต้องไปเน้นที่เรื่องของเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไป ซึ่งตอนนี้รถค่อนข้างพร้อม รอชมและเชียร์กันได้กับสนามสุดท้ายของปีที่บางแสนคร้าบบบ…

X-TRA ORDINARY

CAN-BUS   (CONTROL AREA NETWORK- BUS)   เป็นการส่งสัญญาณติดต่อกันระหว่างเซ็นเซอร์ในตำแหน่งต่างๆ กับกล่อง ECU เพื่อจะนำมาประมวลผลต่อไป โดยสัญญาณจะถูกแปลงเป็นแบบดิจิทัล แล้วส่งผ่านระบบ BUS ที่ไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟหลายเส้นให้ยุ่งยากเหมือนในอดีต รถรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเปลี่ยนอุปกรณ์ เช่น เกียร์อัตโนมัติ เป็นเกียร์ธรรมดา จึงทำได้ยาก เพราะสัญญาณ CAN จะไม่เหมือนกัน ถ้านึกไม่ออก ลองดูเกจ์วัด DEFI เป็นตัวอย่าง เซ็นเซอร์ต่างๆจะเข้ามายังกล่อง UNIT CONTROL จากนั้นสามารถลากสายเพียงชุดเดียวเข้าไปยังเกจ์วัดได้เลย  

TECH SPEC

EXTERIOR

ENGINE

TRANSMISSION

SUSPENSION

สิ่งหนึ่งที่น่าแปลกมากคือ ล้อ VOLK RACING ZE40 ขนาด 18×10 นิ้ว สามารถยัดเข้าไปได้อย่างสบาย โดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงซุ้มล้อเลย

FA20 ไส้ในจัดมาทั้งลูกและก้าน เพื่อตอบสนองบูสต์เทอร์โบในระดับ 1.5 บาร์

กรองอากาศมารับลมที่หลังกันชนโดยตรง ส่วนอินเตอร์คูลเลอร์จับวางนอน ช่วยดักอากาศได้อย่างดี

ภายในรื้อเรียบตามสไตล์รถแข่ง

เบาะ OMP จับคู่กับ SABELT

ถึงจะเป็นรถแข่ง แต่คอพวงมาลัยก็ต้อง WORKSBELL นะครับ

โรลบาร์ชุดเต็มจาก CUSCO