Green Bull Return “Gone in 6.5XX sec”

 

เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี

ภาพ : ธัญญนนท์ แสงภู่ (TakeSnap), ภูดิท แซ่ซื้อ   

Green Bull Return “Gone in 6.5XX sec” 

“YA SERVICE” ย้อนตำนานกระทิงเขียวสู่ Dragster ลำล่า

V8 CHEVY Twin-Turbo + Full Chrome-Moly Frame

หลังจากที่เราได้สัญญากับท่านผู้ชมไว้แล้ว ว่าจะนำเสนอเกี่ยวกับ Dragster คันใหม่ จากบุคคลตำนานทางตรงระดับตำนาน ที่มีอดีตกับรถสีเขียว นั่นคือช่างญาปัญญา อร่ามรัศมีแห่ง YA SERVICE ในช่วง Souped Up Thailand Records 2018 ที่ผ่านมา Dragster คันเดิม กับอันดับ 4 Super Dragster ด้วยสถิติเวลา 7.118 วินาที กับเครื่องยนต์ CHEVY V8 Small Block ซึ่งตอนนั้นเฟรมคันเก่านั้นช้ำมาหลายรอบ จากการแข่งตั้งแต่ปี 2016 มาถึงปี 2017 ก็ยกล้อลอยทั้งลำแล้วตกกระแทกพื้น ตอนนั้นเล่นเอาจอย เรนเจอร์คอแทบหัก (ดีกว่าใส่ HANS ไว้นะ เห็นความสำคัญของมันหรือยัง) ในปี 2018 “ร่มไม่พอต้องเบรกกะทันหัน จนเฟรมแอ่นกระแทกพื้นอีกรอบ เลยสั่งหยุดวิ่งได้แค่ 1 Run เพราะเป็นห่วงตัวขี่ไม่ควรเอาชีวิตมาเสี่ยง พอจบงาน จึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเพื่อความปลอดภัยและเป็นเหตุให้สร้างคันนี้ขึ้นมาใหม่ โดยมีการพัฒนาจากคันเดิมเยอะมาก ทั้งตัวเฟรมที่มีเทคนิคพิเศษ เครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดใหม่ รวมไปถึงเรื่องของคลัตช์สลิปที่เป็นของจำเป็นสำหรับ Drag Car สเต็ปสูงๆ ซึ่ง YA SERVICE ได้ผลิตออกมาเอง ในแบรนด์ “YRS” ไทยทำ ตามฉายา “OTOP Style” แน่นอนว่า ออกจากมือชายร่างเล็กที่ชื่อปัญญา อร่ามรัศมีกับประโยคในตำนานผมรักรถ Drag” ในครั้งนี้จะสะเด่าขนาดไหน

เฟรมใหม่ ใหญ่ขึ้น ไม่ต้องรองสเปเซอร์ ???

สำหรับเรื่องของเฟรม ก็เคยเปิดไปคร่าวๆ แล้วว่า จะเปลี่ยนวัสดุเป็นโครโมลีทั้งหมด เรื่องที่สอง จะต่อเฟรมตามแบบพิมพ์เขียวหรือ “Blue Print” (สงสัยฝรั่งกับคนไทยมองสีไม่เหมือนกัน) ของ MARK WILLIAMS ซึ่งเป็นแบบ Original ดั้งเดิม แต่ก็ยังใช้ได้ ถ้าทำถูกแบบและถูกวัสดุ แต่ไม่ใช่วัสดุราคาถูกนะครับ โครงพวกนี้มันจะต้องมีการยืดหยุ่นตัวได้ สังเกตว่าตอนวิ่งกลับ พอเจอทางไม่เรียบ เฟรมจะดึ๋งๆโยนๆ ไปตามคลื่นถนน ดูเหมือนจะหักหรือเปล่า แต่จริงๆถูกต้องนะครับ เพราะถ้าแข็งเป็นเสือกะบากเลย ออกแรงๆ ก็กระโดดทั้งลำหรือหักกลางมันไม่ซับแรงไงครับ พวกจุดรับแรงต่างๆ ก็จะต้องคำนวณให้เหมาะสม จริงๆ อาจจะดูยุ่งยากหน่อย เราก็ต้องอาศัยแบบพิมพ์เขียวเป็นต้นแบบเพื่อความชัวร์ แต่อาจจะมาปรับทรงนิดหน่อยตามความเหมาะสม

ย้อนมาที่โครงคันนี้ใช้โครโมลีขนาด 1 ¾ นิ้ว หรือนิ้วหกหุนซึ่งใหญ่กว่าเดิมที่ใช้ขนาดนิ้วครึ่งหรือ 1 ½ นิ้ว เดินเฟรมขยายในส่วนของห้องโดยสารให้กว้างขึ้น ทำให้การขยับร่างกายโดยเฉพาะช่วงแขนง่ายขึ้น คันเก่าแลจะอึดอัดไปหน่อย ขยับแขนไม่ใคร่สะดวก  เข้าออก จากรถก็ง่ายและเร็วขึ้น และในส่วนของด้านท้าย ในรูปจะเห็นว่าตำแหน่งก่อนจะถึงจุดที่ยึดเพลาท้ายจะสอบเข้าเพื่อที่จะให้หลบยางคันนี้จะได้ไม่ต้องรองสเปเซอร์ล้อซึ่งเป็นแบบของ MARK WILLIAMS ซึ่งเป็นความชอบของ ช่างญา ตานี้ไอ้ความยากมันมาตั้งแต่ช่วงกลางรถจนถึงท้ายรถ จะใช้ท่อเส้นเดียวแล้วดัดโค้งตามที่ต้องการ โดยไม่มีรอยคอด มันจะยาก เพราะท่อยาว ต้องยึดทรงให้ดี เพราะถ้ายิ่งยาว มันบิดผิดรูปไปหน่อยเดียว ก็จะพานบิดไปทั้งเส้น

ยอมเพิ่มน้ำหนัก แล้วไปลดน้ำหนัก ???

ต้องมีคำถามต่อมาว่า เราสร้างเฟรมรถให้ใหญ่ขึ้นก็จริง แต่น้ำหนักก็ต้องเพิ่มตามใช่ไหม ความจริงคือใช่แต่ถ้าคิดกันในด้านความปลอดภัยและความแน่นอนแล้ว ก็ยอมแลกอีกอย่าง คือ เครื่อง V8 CHEVY เป็นเสื้อเหล็กหล่อหนา มีน้ำหนักมากกว่า UZ อย่างน้อย 50 กก. เฟรมที่รับก็จะต้องแข็งแรงขึ้น แต่เราก็ไปไดเอตลดอุปกรณ์ในส่วนต่างๆ ลง หลักๆ ดังนี้

โบราณแมน แต่ดี

สำหรับเครื่องยนต์ตัวนี้จะเป็น CHEVY V8 Small Block 350 ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ LS ที่ตอนนี้ฮิตกัน อันนี้พูดตรงๆ ก็เป็นเครื่องโบราณแมนมาตั้งหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน สำหรับเลข 350 จะหมายถึงความจุ 350 คิวบิกนิ้วคูณออกมาก็ได้ “5,735 ซี.ซี.” ขนาดนี้ยังแค่บล็อกเล็กของอเมริกันนะ แต่โคตรใหญ่สำหรับญี่ปุ่น เพราะเครื่องที่ใช้ในญี่ปุ่นเอง ใหญ่สุดก็เห็นจะมี 1GZ-FE V12 ความจุก็ 5.0 ลิตร เท่านั้นเอง เหตุผลในการเปลี่ยนจาก UZ มาเป็น CHEVY นี้ เราก็เคยเหลากันไปแล้วบ้าง แต่ครั้งนี้จัดเต็มกันหน่อย

 

แก้ไขระบบไฟให้ทันสมัย

ลำพังระบบไฟเดิมๆ ก็มาแบบคลาสสิกเหมือนกัน ยังใช้ระบบจานจ่ายและหัวนกกระจอกอยู่เลย แต่เปลี่ยนเป็นของ MSD สีแดง ที่อัปเกรดให้รองรับกับกระแสไฟแรงๆ จาก CDI และสร้างสนามแม่เหล็กในการสร้างกระแสไฟในการจุดระเบิดได้มากขึ้นกว่าของเดิมติดรถ แต่ว่าความแม่นยำน้อยมันยังเป็นระบบกลไกอยู่  เราไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขอะไรได้เยอะนัก เพราะฉะนั้น เลยต้องเปลี่ยนระบบใหม่ เป็นไดเร็กต์คอยล์ตามกระแสนิยมในสมัยนี้กัน แต่มันดีกว่ายังไงนะ

คลัตช์สลิป แบบ OTOP by YRS : Part I

สำหรับประเด็นหลักที่เราจะมาพูดถึงในครั้งนี้ ก็จะเป็นเรื่องของคลัตช์สลิปตามภาษาบ้านเรา ส่วนเมืองนอกจะเรียก “Centrifugal Clutch” หรือคลัตช์ที่ใช้แรงเหวี่ยงจริงๆ ก็เคยพูดถึงไปแล้วในรถของ AOR 77 SHOP เมื่อหลายปีก่อน แต่ครั้งนี้ ช่างญา ได้ผลิตคลัตช์สลิป YRS เป็นแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา โดยเป็นงานที่ผลิตในไทยทั้งหมด (เว้นแผ่นคลัตช์”) แล้วปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เอาส่วนการทำงานหลักๆ ไปก่อนแล้วกัน

ย้อนมาถึงหน้าที่ของมันโดยหลัก คือตั้งให้มันลื่นได้โดยไม่พังและทวีแรงกดแผ่นคลัตช์เพิ่มได้ที่รอบสูงจังหวะออกตัว ถ้าเป็นคลัตช์แรงกดแรงจับสูงๆ หลายๆ แผ่น เวลายกคลัตช์มันก็จะจับทันทีทันใดทำให้เกิดแรงกระชากอย่างรุนแรง ล้อก็จะฟรีมาก ระยะ 0-60 ฟุต ไม่ดี หรือไม่ก็พังยกระบบเกียร์แตก เฟืองท้ายแตก เพลาขาด อาจจะถึงเครื่องแตกได้เพราะมันเกิดแรง Shock ทันทีทันใดและรุนแรง แม้คนขับจะพยายามเลี้ยงคลัตช์ออก แต่ก็ยากที่จะควบคุมได้ในเสี้ยววินาทีนั้น

ดังนั้น เจ้าคลัตช์สลิปจึงออกแบบให้สามารถตั้งให้ลื่นหรือสลิปได้ตอนออกตัว  เพื่อให้เกิดความนุ่มนวล ออกตัวได้เนียนๆ สังเกตพวกรถเมืองนอกที่ใช้คลัตช์แบบนี้ พวกรุ่นใหญ่ๆ ไปยัน Top fuel ตอนออกจะดูไม่เร็ว ไม่โดด แต่รถไหลออกแล้วพุ่งไปอย่างรวดเร็ว ไม่เสียอาการ ซึ่งไม่สามารถเลี้ยงได้แบบนี้ในคลัตช์ปกติแน่ๆ ไม่งั้นไหม้ตั้งแต่ออกตัว คนขับสามารถปล่อยคลัตช์ได้หมดทันทีโดยไม่ต้องเลี้ยง เรียกว่าง่ายกันทุกฝ่าย แต่จะต้องใช้เวลาและความเข้าใจในการปรับตั้งครั้งแรก จะต้องลองเวลา 0-60 ฟุต ว่าตั้งแบบไหนดีที่สุด

ส่วนในช่วงปลาย ที่คลัตช์จะมีตีนผีที่เหมือนไม้คานกระดกและที่ปลายจะใช้น้ำหนักถ่วงใช้นอตหรือบู๊ชเล็กๆ ขันใส่ไป แล้วแต่จะเอาน้ำหนักแรงกดมากน้อย เวลาคลัตช์หมุนรอบสูงมากขึ้น แรงกดก็จะทวีไปตามรอบ แรงเหวี่ยงจะหนีศูนย์ออก ทำให้ตีนผียิ่งกดแผ่น Pressure plate กดคลัตช์ให้แน่นมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รอบสูงคลัตช์จะไม่มีการลื่น ส่วนแผ่นคลัตช์อันนี้จะต้องสั่งนอกเป็นของที่ผ่านมาตรฐาน SFI Certified ซึ่งเป็นผ้าคาร์บอนที่ทนความร้อนได้สูง และมีการยืดหยุ่นเรียกว่าลื่นไปยันปลายเส้น มันก็ยังไปได้ โดยไม่ไหม้” (ที่บ่แม่นไหม้ไหม้”) ซึ่งเราจะมาผสมเองก็คงจะแพงเกินเหตุ ซื้อของที่มีมาใช้ง่ายกว่า ส่วนตอนเซอร์วิส เราก็เปลี่ยนเฉพาะแผ่นคลัตช์เท่านั้นเอง เรียกว่าลงทุนครั้งแรก แต่ระยะยาวเซฟกว่า ในส่วนของราคาก็ถูกกว่าของนอกเท่านึง ลองสอบถามไปที่ช่างญาดูครับ

ขอสรุปหน้าที่เบื้องต้นก่อน เพราะเนื้อที่จะหมดแล้ว เดี๋ยวจะมีปัญหาหัวใจกับอ้อย คลองแปดในส่วนของรายละเอียดที่ลึกลงไป รวมถึงเทคนิคของหลักการปรับตั้งคลัตช์สลิปอันนี้ เอาไว้ไปอ่านต่อในเล่มหน้ารถ Dragster ค่ายหนุ่ย & เป๋อสุพรรณ ที่มาใส่คลัตช์ของ YRS เป็นดีเซลคันแรกของเมืองไทยที่ใช้คลัตช์แบบนี้ซึ่งมีการปรับตั้งที่ต่างกับเบนซินโดนสิ้นเชิงแล้วมันต่างกันอย่างไร รอชมครับ ไม่ผิดหวังแน่นอน… 

 

Comment : YA SERVICE

คันนี้จริงๆ ตัวผมช่างญาเอง ก็ใช้ประสบการณ์จากคันเก่า นำมาปรับปรุงใหม่ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โดยเน้นในด้านความปลอดภัย และให้คนขับ ขับได้อย่างสบายขึ้น นอกจากนี้ ยังรองรับน้ำหนักและแรงบิดจากเครื่อง V8 CHEVY ที่หนักหน่วงกว่า 2UZ อยู่มาก ถ้าจะดื้อใช้เฟรมเก่าอยู่คงไม่ปลอดภัยแน่ๆ เลยตัดสินใจทำใหม่เลยดีกว่า ในส่วนของคลัตช์สลิปตัวผมเองก็ตั้งใจที่จะสร้างมันขึ้นมาโดยเป็นฝีมือคนไทยทั้งหมด” (ยกเว้นแผ่นคลัตช์) ผมมีการปรับปรุงแบบให้ตั้งง่ายขึ้นและราคาถูกกว่าของนอกครึ่งหนึ่ง ที่สำคัญมีอะไหล่ Support ตลอดเวลาไม่ต้องเสียเวลารอสั่งของนอก ผมอยากจะให้รถแข่งคนไทยได้ลองใช้กันดู ซึ่งมันใช้ได้ครับ อย่าง รถแข่งรุ่น SUPER ต่างๆ ที่เป็นยางเรเดียลก็ใช้ได้นะ ดีด้วย เพราะทำให้ออกตัวได้ Smooth อาการฟรีทิ้งลดลง ไม่จำเป็นต้องใช้เฉพาะรุ่นใหญ่เสมอไป ผมก็พยายามจะพัฒนาให้มันใช้ได้ทุกรุ่น แต่ตอนนี้ขอลองทดสอบและปรับปรุงไปเรื่อยๆ ก่อน ไว้ทุกอย่างสมบูรณ์ ก็จะจำหน่ายอย่างเป็นทางการในแบรนด์ YRS ครับ… 

Comment : วสุ ปริยพาณิชย์

บอกตรงๆ ว่าเพิ่งจะเห็นรถในสภาพสมบูรณ์พร้อมๆ กับทาง XO autosport นี่แหละครับ เรื่องความสวยงาม ผมว่าดีขึ้นนะ แต่ที่ชอบก็จะเป็นส่วนของความแข็งแรงที่มันส่งผลเรื่องความปลอดภัยของตัวเรา ความมั่นคงในการควบคุมรถ ทำให้ไปได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ในส่วนของ Cockpit ที่กว้างขึ้น ลองนั่งแล้ว รู้สึกว่าเราขับมันได้อย่างสะดวกขึ้น ซึ่งของเดิมจะแคบและบีบไปหน่อย คันนี้เท่าที่คุยกับ พี่ญา ก็หวังเวลาไว้ในระดับ “6.5XX sec” แน่นอนว่า ใครก็หวังทำลายสถิติ  แต่ก็ค่อยเป็นค่อยไปครับ ปีนี้ก็ดีหน่อย เพราะรถเสร็จล่วงหน้าหลายเดือน ก็จะได้มีเวลาซ้อมและปรับปรุงให้ดีที่สุดครับ

Comment : อินทรภูมิ์ แสงดี

ก็มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ นะครับ สำหรับช่างญา” YA SERVICE หรือ YRS ที่สร้างผลงานให้ทุกคนเห็นจริงๆ สไตล์ทำสด งดน้ำลายคันนี้ก็จะได้เรื่องความสวยงามทั้งแบบสติกเกอร์ใหม่ รวมไปถึงความเรียบร้อยในการเก็บงาน และ CNC จากระดับมืออาชีพ ทำให้รถดูมีคุณค่ามากขึ้น ส่วนเรื่องเครื่องยนต์ ก็นับว่า ช่างญา คิดถูก ที่เอาเครื่องใหญ่ขึ้นมาใส่ เหมือนสมัยที่เอา 1UZ ลงแทน RB26 ในมารชมพูก็เหตุผลเดียวกัน แม้ว่าแรงม้าระดับ 1,400-1,500 PS เครื่อง 2JZ ทำได้สบาย แต่ก็ต้องเค้นบูสต์และรอบเครื่องมากกว่าโอกาสเสียหายก็มีสูงกว่าเครื่องใหญ่ที่เค้นน้อยบนแรงม้าเท่ากัน ก็ได้แรงบิดเยอะกว่าด้วย ต้องลองดูว่า ถ้ามันเต็มสตรีมปลายปีนี้จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามชมอย่างเดียวครับ

 

X-TRA Ordinary

สำหรับเรื่องของรถแข่งในตำนานของช่างญาในสมัยยุคสนาม MMC” เป็นช่วงยุคปลาย 90 ถึง 2000 ถ้าใครทันจะต้องจำได้กับกระทิงเขียวเป็น TOYOTA HILUX RN55 สีเขียว ที่สร้างเป็นกึ่ง Spaceframe เครื่องยนต์ JZ ที่ตอนนั้นลีลาการขับของ ช่างญา นับว่าใจถึงพึ่งได้บางคนจะหาว่าแกบ้าเพราะแม้รถจะเสียอาการ แต่ก็ไม่ยกสวนสู้อย่างเดียวเลย ดูเหมือนกระทิงขวิดก็เลยมีการตั้งฉายากันมา หลังจากนั้นปี 2004 ก็เป็น 200SX Full Spaceframe เครื่อง RB26 ที่ ช่างญา สร้างเองทั้งคัน แล้วพ่นสีชมพู (ตอนนั้นผมเขียนคอลัมน์ Souped Up Special คันนี้เป็นครั้งแรกใน XO autosport) ก็เลยคิดว่าจะโปรยหัวว่าไงดีวะ คิดไปคิดมา ก็มารชมพูนี่แหละ แล้วก็ชนะ Souped Up ในปีนั้น เลยเป็นฉายาติดหู และเป็นเอกลักษณ์ของรถแข่งที่นี่ไป

Special Thanks

YA SERVICE : Facebook/Ya Motorsport, Tel. 08-1880-6673

TECH SPEC

ภายนอก

เฟรม : YA SERVICE

ภายใน

เบาะ : JAZ

พวงมาลัย : Pro-Werks Butterfly

จอ : AIM

เครื่องยนต์

รุ่น : CHEVY Small Block 350 cu-in. (5.7 L) 

ฝาสูบ : RHS Billet

วาล์ว : RHS

สปริงวาล์ว : JESEL

กระเดื่องวาล์ว : JESEL Pro Series

แคมชาฟต์ : KELFORD 300 องศา

เฟืองแคมชาฟต์ : JESEL

เสื้อสูบ : DART

ลูกสูบ :  CP 102 มม

ก้านสูบ : CARILLO

แบริ่งชาฟต์ : ACL

ข้อเหวี่ยง : CROWER Billet 6.0 L (3.7 นิ้ว)

พูลเลย์ข้อเหวี่ยง : ATi Super Damper

เทอร์โบ : GReddy T88-38GK x 2 โมดิฟายใบ by YRS

เวสต์เกต : TURBOSMART 

เฮดเดอร์ : BRD

อินเตอร์คูลเลอร์ : BRD

ท่ออินเตอร์ฯ : BRD

ท่อร่วมไอดี : EDELBROCK

ลิ้นเร่งพร้อม Housing : BRD

ปั๊มน้ำมันเครื่อง : PETERSON Dry Sump x 2

รางหัวฉีด : EDELBROCK

หัวฉีด : ATOMIZER 5,500 c.c.

ตัวปรับแรงดันเชื้อเพลิง : AEROMOTIVE

หม้อน้ำ : BRD 

คอยล์ : MSD

ชุด Driver คอยล์ : FUELTECH

สายหัวเทียน : MSD

ไนตรัส : NOS

งาน CNC ทั้งหมด : Macto Auto mechanic (โต สุโขทัย)

กล่อง ECU : HALTECH ELITE 2500 by YA SERVICE

ระบบส่งกำลัง

เกียร์ : LIBERTY Air Shifter 5 สปีด

กล่องควบคุมเกียร์ : YRS

คลัตช์ : YRS Centrifugal Clutch

เพลาท้าย : STRANGE

เฟืองท้าย : STRANGE

ช่วงล่าง

ล้อหน้า : WELD ขนาด 17 x 2.5 นิ้ว

ล้อหลัง : WELD ขนาด 16 x 16 นิ้ว

ดุมล้อหน้า : Stilletto

ยางหน้า : HOOSIER ขนาด 22-2.5-17 นิ้ว 

ยางหลัง : HOOSIER ขนาด 17.0-36-16 นิ้ว

เบรกหลัง : STRANGE 

*เพื่อความสะดวก กรุณาดู Video ผ่าน Google Chrome