HURRICANE : Born in Japanese Racing League

 

เรื่อง: อินทรภูมิ์ แสงดี

Photo : ธัญญนนท์ แสงภู่, ทวีวัฒน์ วิลารูป, พงศกร พรามแม่กลอง, Turtle Snack, เสือมืด

 

เพื่อตอบสนองรายการ Grand Prix Racing League รุ่น Japanese Power Challenge ที่เป็นรุ่นรวม “รถสปอร์ตในฝัน” ของคนไทย จึงเกิด “Hurricane” คันนี้ขึ้นมา เป็น “ตัวลูก” ที่ใช้รูปแบบ “ตัวพ่อ” ที่แข่ง WTAC (World Time Attack Challenge 2014) Sydney Motorsport park ออสเตรเลีย คันนี้เป็นฝีมือ “คนไทยล้วน” จากสำนัก P&C Garage ที่ทำ Hurricane Thai Version ขึ้นมา เพื่อร่วมการแข่งขันรายการนี้โดยเฉพาะ ขับโดย “แพน” คัมภีร์ ธรรมธาราณา สังกัดทีม 3M-Overdrive -P&C Garage นั่นแหละครับ สำหรับ “แพน” ก็เป็นครั้งแรกที่มาขับ Hurricane ในรายการนี้ ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ในช่วง “ปรับตัว” และทีมงาน P&C Garage ก็อยู่ในช่วง “ปรับรถ” เพื่อให้ได้จุดที่ลงตัวที่สุด รายละเอียดที่น่าสนใจ จัดให้ที่บรรยายใต้รูปครับ…

TECH SPEC

 

ภายนอก

ชุดพาร์ท : Hurricane WTAC by RE AMEMIYA

 

ภายใน

มาตรวัด : Defi Super Sport Cluster

พวงมาลัย : OMP

หัวเกียร์ : RE AMEMIYA

เบาะ : BRIDE

เข็มขัดนิรภัย : Sabelt

หน้าปัด : หยก คาร์บอน

เครื่องยนต์

รุ่น : 13B-REW

พอร์ต : Street Port by P&C Garage

เทอร์โบ : GReddy TD07S-25G

เวสต์เกต : HKS GT II

เฮดเดอร์ : ชาญ อินเตอร์

ท่ออินเตอร์คูลเลอร์ : ชาญ อินเตอร์

อินเตอร์คูลเลอร์ : Custom Made V-Mount

โบล์ว ออฟ วาล์ว : GReddy Type R

กรองอากาศ : HKS

หัวฉีด : 850 ซี.ซี. x 4

กล่อง ECU : HKS F-CON V PRO 3.4 by Mai P&C Garage

 

ระบบส่งกำลัง

เกียร์ : 13B-REW 5 สปีด

คลัตช์ : ORC

ลิมิเต็ดสลิป : MAZDASPEED

เพลาข้าง : G-Force

 

ช่วงล่าง

โช้คอัพและสปริง : HKS Hypermax IV

เบรก : HKS หน้า 6 pot หลัง 4 pot

ล้อหน้า-หลัง : ENKEI RS-05RR  ขนาด 10.0 x 18 นิ้ว และ 11.0 x 18 นิ้ว

ยางหน้า-หลัง : YOKOHAMA AD08R ขนาด 245/40R18 นิ้ว

 

Contact : P&C Garage Facebook/Maipcgarage, Tel. 08-1855-8342

 


X-TRA Ordinary

สำหรับ “สปอยเลอร์หน้า” จะเป็นทรงถาดที่ยาวมาก เพื่อ “รับแรงกดจากลมให้ได้มากที่สุด” เพื่อเอา Traction ไปล้อหน้าเยอะๆ ตรงกลางก็จะทำเป็น “ลิ้นช้อนลม” ขึ้นไปเป่า “หม้อน้ำและอินเตอร์คูลเลอร์” ได้อย่างเต็มๆ ก็นับเป็นประโยชน์สองทาง…

 

พาร์ท RE AMEMIYA อันนี้เป็น “ไฟเบอร์” (ส่วนตัวที่วิ่ง WTAC จะเป็น Dry Carbon)

หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมตัวรถดูสูงจัง เนื่องจากรถคันนี้ยังไม่ได้ทำซุ้มใหม่ จึงเตี้ยไปกว่านี้ไม่ได้ เพราะ “ยางติดซุ้ม”

ด้านหลังยังไม่ได้ติดตั้ง Diffuser เพราะยังไม่เสร็จ แต่ไม่มีปัญหามากนัก เพราะเครื่องยังไม่แรงขนาดที่จะทำ Top Speed ให้มีผลกระทบได้ ซึ่งการทำ Diffuser ก็ช่วยรีดลม และลด “Wake Flow” หรือ “ลมหวน” ที่จะมาดึงรถให้ช้าลง

ถังน้ำมันเชื้อเพลิงนิรภัย ATL บรรจุ E85 ส่วนท่อไอเสียก็ขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะต้องการไม่ให้รอรอบ ตรงนี้มีผลนะครับ ท่อยิ่งใหญ่ก็ยิ่งรอรอบ เล็กไปก็อั้น ก็ต้องดูว่าขนาดไหนเหมาะกับการใช้งานของเราที่สุด

ภายในก็ง่ายๆ ตามนี้ คาร์บอนงานบ้านเรา เกจ์วัดใช้ “ตัวเดียวจบ” ไม่ต้องติดอะไรให้มาก ติดเยอะๆ “มองไม่ทัน” หรอกครับในการแข่งขันจริง

โรลบาร์เต็มคัน มีเว้าหลบช่วง “ขา” ไว้เรียบร้อย

สเต็ป Street Port เน้นตอบสนองไว ตามกติกา เครื่อง 4 สูบ/2 โรเตอร์ ถูกใส่ Restrictor ตอนนี้แรงม้าสูงสุด (จากคำบอกเล่าของช่าง) อยู่ประมาณ “290 PS” อนาคตก็จะทำเครื่องให้แรงขึ้นกว่านี้ เพื่อให้ “สมรรถนะการดูดอากาศ” เพิ่มขึ้นใน Restrictor ขนาดเท่านี้ ก็จะได้แรงม้าเพิ่มขึ้น

 

JAPANESE POWER CHALLENGE

“รายการที่เปิดโอกาสให้รถซิ่งญี่ปุ่นก้าวสู่สนามแข่ง”

ปฐมบทเริ่มต้นของรุ่นนี้ ไม่น่าเชื่อว่าเกิดจากการพูดคุยกันก่อนงานปาร์ตี้ปีใหม่ ถึงการแข่งขัน PRO. RACING SERIES ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  และมีแนวโน้มสืบทอดการดูแลสู่ XO AUTOSPORT นั่นเป็นเหตุผลให้เราคิดว่า “ทำอย่างไรถึงจะเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย XO AUTOSPORT” ซึ่งรู้กันอยู่แล้วว่าเป็นกลุ่มรถซิ่งตัวแรงซะส่วนใหญ่ จนได้คำตอบที่ทุกคนเห็นพ้องกันว่ายังไงก็แล้วแต่ ต้องมีรุ่นที่เปิดขึ้นมารองรับรถเหล่านี้ เพื่อจะได้มาร่วมสนุกกันในสนามเหมือนต่างประเทศ โดยจำกัดแรงม้า เพื่อให้รถทุกคันมีพละกำลังใกล้เคียงกันมากที่สุด

เมื่อเรื่องราวเริ่มจริงจัง งานนี้จึงต้องพึ่งพาที่ปรึกษาเฉพาะทางที่ชำนาญเรื่องกฎกติกาในการทำรถ “อ.ศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข” ผู้ที่จะมาชี้ทางสว่างให้เราในเกมการแข่งขันครั้งนี้ ด้วยคำปรึกษาที่ดี ท่านแนะนำว่าควรจำกัดแรงม้าด้วยวิธี “จำกัดทางเข้าของอากาศ หรือติดตั้ง AIR RESTRICTOR” จนความแรงของเครื่องยนต์บล็อกต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกัน

สำหรับการแข่งขันในรุ่น JAPANESE POWER CHALLENGE มีรถอะไรกันบ้าง เราเก็บภาพจากการแข่งขันใน RACE 5-6 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต มาให้ชมกันครับ (สามารถตามติดการแข่งขันได้ที่ https://www.gpracing.info/ , www.facebook.com/GrandPrixRacingLeague)

59 มานะ พรศิริเชิด

CAR: NISSAN CEFIRO

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

หลังทราบข่าวว่ามีรุ่นการแข่งขันตอบสนองให้รถญี่ปุ่นตัวแรงได้วิ่งกัน คู่หูพี่น้อง เบิร์ดและบอล FOUR CYCLE ก็ไม่รอช้า  จับรถสหาย หนึ่ง มานะ มาทำใหม่ โดยอัญเชิญเครื่อง 6 สูบออก แล้วแทนที่ด้วย SR20DET ผลออกมากับการเก็บคะแนนสะสมครั้งแรก ก็รับอันดับ 1 RACE 5-6 ไปครอง

3 คัมภีย์ ธรรมธาราณา

CAR: MAZDA RX-7

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

“แพน คัมภีย์” คนนี้บอกได้เลยว่ารถเท่มาก เพราะสั่งชุดพาร์ท HURRICANE มาเต็มระบบ เห็นแวบแรกนึกว่ายกรถแข่ง TIME ATTACK มาเลยทีเดียว การเซตรถคันนี้เป็นผลจากลูกพี่วงการ ROTARY “P&C GARAGE” นั่นเอง ความเท่ของรถคันนี้เป็นอย่างไร ตามชมต่อได้ท้ายคอลัมน์เลยคร้าบบ…

 

13 จักรพันธ์ ตันกำเนิด

CAR: NISSAN SILVIA S13

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

มาร์ค CAR LOST ฉายาที่ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่เป็นเรื่องจริงที่ประสบพบมากับตัว งานนี้เขาคุมรถแข่ง SILVIA S13 จากแก๊ง CAR PER ที่มี พี่ป้อม โมดะ เป็นผู้ทำการเซตรถให้ แถมรถคันนี้ยังเป็นคู่แข่งตัวฉกาจกับ มานะ พรศิริเชิด

21 เผด็จ อุดมพร

CAR: SUBARU IMPREZA

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

ประธาน SIAM SUBARU SOCIETY คนล่าสุด ผู้ที่คลุกคลีกับ SUBARU มายาวนาน พร้อมแข่งขันระดับ CLUB RACE จนเป็นที่รู้จัก งานนี้ได้เจอกับรถแข่งความแรงใกล้เคียงกัน เพราะที่ผ่านมา น่าจะโดนรังแกมาจากรายการอื่นพอสมควร

49 อนนท์ จริยพงศธร

CAR: MITSUBISHI EVOLUTION

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

จากงานแข่งขันระดับ CLUB RACE อย่าง ONLY ONE ขยับมาสู่รายการหลักอย่างเต็มตัว นี่คืออีกหนึ่งพัฒนาการของเขา ที่ต้องมาขับเคี่ยวกับรถแข่งที่มีความแรงระดับเดียวกัน

62 มณฑล กรีหิรัญ

CAR: MITSUBISHI EVOLUTION

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

ด้วยความคลุกคลีในการทำรถ EVOLUTION มาอย่างช่ำชอง กับเบื้องหลังตัวแรงนับไม่ถ้วน ถึงเวลาที่จะก้าวมาสู่เบื้องหน้า ในการแข่งขันเซอร์กิตครั้งแรก ผลจะเป็นอย่างไร ร่วมให้กำลังใจกันครับ

63 ชยกร สาตศิลป์

CAR: MITSUBISHI EVOLUTION

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

จากนักแข่งทางตรงสาย DRAG ที่ร่วมทำสถิติ ยืนแป้นอันดับ 1 รุ่น SUPER 4 4WD ในงาน SOUPED UP THAILAND RECORDS ถึงเวลาร่วมแจมเซอร์กิต ผลเป็นที่น่าพอใจ รับอันดับ 4 ไปใน RACE 6

65 กัณตภณ แสนใจศรี

CAR: SUBARU IMPREZA

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

น้องไปร์ ลูกชายเจ้าสำนัก TAWEE MOTORSPORT อีกหนึ่งตัวเก็งที่น่าจับตามอง หลังสะสมประสบการณ์การแข่งขันเซอร์กิตมาพอสมควร ใน RACE 5-6 นี้ ทำผลงานได้ที่ ด้วยการคว้าอันดับ 2 กลับบ้านไปอย่างสวยงาม

66 สราวุธ ศักดาเธียร

CAR: MITSUBISHI EVOLUTION

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

อีกหนึ่งสมาชิกจากทีม NOI SAIMAI ที่เริ่มต้นแข่งขันด้วยกันมาตั้งแต่ RACE 1 ถือเป็นแฟนพันธุ์แท้ร่วมกันอย่างเหนียวแน่น และจะช่วยให้พัฒนาฝีมือเพื่อฝากผลงานได้ในครั้งต่อๆ ไป

 

69 อนันตพัฒน์ ตราบดี

CAR: MITSUBISHI EVOLUTION

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

จากนักแข่งกีฬาทางน้ำอย่างเจ็ตสกี หันมาเอาดีกับรถยนต์ทางเรียบในรายการนี้ จาก RACE 6 ที่ผ่านมา โชคชะตาอาจยังไม่เข้าข้าง เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจนพลาดโอกาส แต่ครั้งหน้ายังมีโอกาสให้แก้มือครับ

86 สรัญ เสรีธรณกุล

CAR: TOYOTA AE86

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (4 CYLINDER)

โต้ง สรัญ อีกหนึ่งนักแข่งที่ผ่านประสบการณ์การแข่งขันงานใหญ่มาพอสมควร สนามนี้มาร่วมสนุกด้วยรถ AE86 เครื่อง 4AG เทอร์โบ แต่ปรากฏสนามนี้ไม่รุ่ง รถมีปัญหาไปซะก่อน คราวหน้าค่อยว่ากันใหม่คร้าบบ

8 ชัยวัฒน์ ปัณฑยางกูร

CAR: TOYOTA SUPRA

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (6 CYLINDER)

ในอดีตที่เคยฝากผลงานโพเดียมไว้ในการแข่งขัน PRO. RACING SERIES ปีนี้ พี่ใหม่ P&C กลับมาอีกครั้ง โดยเลือกใช้ SUPRA มาแข่งขัน ซึ่งถือเป็นสนามแรกของเขาในปีนี้ แน่นอนว่า ผลงานการขับไม่ธรรมดาเช่นเคย

43 วราพงษ์ แสงฟอง

CAR: NISSAN SKYLINE

CLASS: JAPANESE POWER CHALLENGE (6 CYLINDER)

เริ่มต้นแข่งขันกันมาด้วย MITSUBISHI EVOLUTION แต่ถึงคราวเคราะห์ รถมีปัญหา ไม่สามารถทำเสร็จทันการแข่งขัน  เลยงัดรถเฉพาะกิจมาวิ่ง RACE นี้แทนไปก่อน สนามหน้ากลับมาเจอกับ MITSUBISHI EVOLUTION เช่นเดิมครับ