สุดยิ่งใหญ่! มาสด้าเปิดสายการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ เจนเนอเรชั่นที่ 2
กรุงเทพฯ – ประเทศไทย – 7 พฤศจิกายน 2557, นายยูจิ นากามิเน่ ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส มาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ให้การต้อนรับ ฯพณฯ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ผู้แทนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดสายการผลิตอย่างเป็นทางการสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือโครงการรถอีโคคาร์ เจนเนอเรชั่นที่ 2 พร้อมส่งออกรถยนต์คุณภาพเยี่ยมจากฝีมือคนไทยไปยังตลาดโลก โดยมี ฯพณฯ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย มร. ซิเกะคะสุ ซะโต และคณะผู้บริหารจากมาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดสายการผลิตรถยนต์นั่งมาสด้า2 อย่างเป็นทางการ ณ โรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยอง
MAZDA 2 SKYACTIV D 1.5L SPECIFICATIONS
แบบ………………………………………..แฮตช์แบค 5 ประตู 4 ที่นั่ง
ผู้ผลิต………………………………………Mazda
เครื่องยนต์………………………………..ดีเซลแถวเรียง 4 สูบ
ชนิดเครื่องยนต์………………………….ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮตแคมชาร์ป DOHC
วาล์ว………………………………………..4 วาล์วต่อสูบ=16 วาล์ว
ระบบอัดอากาศ………………………….เทอร์โบแปรผัน Turbocharger Variable Turbine Geometry
ระบบหล่อเย็น…………………………….อินเตอร์คูลเลอร์
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง……………………..คอมมอนเรล ไดเรคอินเจคชั่น
กระบอกสูบ x ช่วงชัก …………………76.0 x 82.6 มิลลิเมตร
อัตราส่วนกำลังอัด………………………14.8 : 1
ระบบระบายความร้อน…………………หม้อน้ำ พัดลมไฟฟ้า
แรงม้าสูงสุด………………………………105 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด………………………………250 นิวตันเมตร หรือ 25.5 กิโลกรัม/เมตร ที่ 1,500 – 2,500 รอบ/นาที
ระบบส่งกำลัง……………………………..เกียร์อัตโนมัติ SkyActiv Drive 6 Speed
ระบบพวงมาลัย…………………………..พวงมาลัยไฟฟ้าแบบแรคแอนพีเนียน
ล้อและยาง…………………………………อัลลอยขอบ 16 นิ้ว ยาง Dunlop Enasave EC300T 185/60/R16 ทั้งสี่ล้อ
ระบบเบรก
ด้านหน้า……………………………………ดิสเบรก
ด้านหลัง……………………………………ดิสเบรก
ระบบช่วยเบรก………………………….ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS
ระบบช่วยทรงตัว………………………..Dynamic stability control
ระบบสะสมพลังงานจากการเบรก…. Electronic Double Layer Capacitor Re-Entry Beake
ระบบรองรับ
ด้านหน้า…………………………………….แมคเฟอร์สัน สตรัท สปริง โช้คอัพ เหล็กกันโคลง
ด้านหลัง……………………………………..ทอร์ชั่นบีม
มิติ
กว้าง………………………………………..1,695 มิลลิเมตร
ยาว…………………………………………4,060 มิลลิเมตร
สูง…………………………………………..1,500 มิลลิเมตร
ระยะฐานล้อ…………………………….. 2,570 มิลลิเมตร
ถังเชื้อเพลิงความจุ ……………………44 ลิตร
น้ำหนักตัวรถทั้งคัน……………………. 1,210 กิโลกรัม
Cr. ข้อมูล Specification จาก ไทยรัฐ
มาสด้าขึ้นไลน์ผลิตรถอีโคคาร์เฟส2 รายแรก ทุ่ม 1.2 หมื่นล้าน
ปั้นไทยเป็นฐานผลิตรถประหยัดพลังงานป้อนตลาดโลก
- มาสด้าประกาศเปิดสายการผลิตมาสด้า อีโคคาร์ เป็นรายแรก ภายใต้โครงการอีโคคาร์ เฟส 2
- มาสด้า อีโคคาร์ ใช้เทคโนโลยี สกายแอคทีฟเต็มคัน พร้อมเครื่องยนต์คลีนดีเซล
- มาสด้า2 เริ่มผลิตที่โรงงานเอเอที จ.ระยอง เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกทั่วโลก
กรุงเทพฯ – ประเทศไทย – 6 พฤศจิกายน 2557, มาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับโรงงานผลิตรถยนต์มาสด้า ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) ส่งความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ด้วยเงินลงทุนหนึ่งหมื่นสองพันล้านบาท เพื่อเริ่มสายการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มาพร้อมเทคโนโลยีสกายแอคทีฟเต็มคัน และเครื่องยนต์คลีนดีเซล พร้อมทั้งเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องยนต์ใหม่ โดยสามารถเริ่มสายการผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2558 ส่งเสริมประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์มาสด้าที่ใหญ่สุดในอาเซียน พร้อมส่งออกรถยนต์คุณภาพเยี่ยมจากฝีมือคนไทยไปยังตลาดโลก
มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ร่วมฉลองพิธีเปิดสายการผลิตรถยนต์ในโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 หรือโครงการอีโคคาร์ เฟส 2 เป็นรายแรก โดยได้รับเกียรติอย่างสูงจาก ผู้แทนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เป็นประธานพิธีเปิดงานฯ อย่างเป็นทางการ ร่วมด้วย ฯพณฯ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มร. ซิเกะคะสุ ซะโต รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงจาก บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย, มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และมาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดสายการผลิตรถยนต์นั่งมาสด้า2 อย่างเป็นทางการ ณ โรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยอง
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวว่า “รัฐบาลทุกสมัยได้มีการวางทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่ชัดเจน และต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการพัฒนาสอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่มุ่งพัฒนาไปสู่ “Sustainable Mobility” โดยอาศัยกลไกของโครงสร้างภาษีและการส่งเสริมการลงทุน เริ่มต้นจากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ โดยเปลี่ยนหลักเกณฑ์การให้สิทธิลดหย่อนอัตราภาษีสรรพสามิต จากรถยนต์ที่มีขนาด “ซี.ซี.ต่ำ แรงม้าน้อย” มาเป็นรถยนต์ที่มีคุณสมบัติ “สะอาด ประหยัด ปลอดภัย” แล้วต่อมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดให้มี
การส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสในการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ 5 รายเดิมในการขยายกำลังการผลิตอีโคคาร์ รวมทั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการทุกรายในการผลิตอีโคคาร์ รุ่นที่ 2 ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นกว่าอีโคคาร์รุ่นแรก ทั้งในด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่ นโยบายส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ ระยะที่ 2 มีผู้ยื่นขอรับการส่งเสริมถึง 10 ราย (ซึ่งรวมถึง บริษัท มาสด้าฯ ด้วย) นับเป็นเครื่องยืนยันถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทยเป็นอย่างดี รวมทั้ง เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินนโยบายของภาครัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่ง เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลกที่ครบวงจร”
รถยนต์ “Mazda2” เป็นอีโคคาร์ที่มีลักษณะเด่น 2 ประการ คือ 1) เป็นรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ดีเซลคันแรกที่จะใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ซึ่งพบว่า เครื่องยนต์ดีเซลเทคโนโลยีชั้นสูง (Advanced Diesel) มีแนวโน้มจะเข้ามาแทนที่เครื่องยนต์เบนซินมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 2) เป็นรถยนต์นั่งคันแรกที่มาพร้อมกับคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) โดยมีระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS) ซึ่งได้ติดตั้งระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ESC) ตามข้อกำหนดทางเทคนิค UN Reg.13H
“Mazda2” เป็นอีโคคาร์ รุ่นที่ 2 ซึ่งมีคุณสมบัติโดดเด่นกว่าอีโคคาร์รุ่นแรก และรถยนต์นั่งแบบ B ในทุกด้าน ทั้งในด้านการประหยัดพลังงานที่เหนือกว่า (มีอัตราการใช้พลังงาน 4.3 ลิตร/100 กิโลเมตร หรือ 23 กิโลเมตรต่อลิตร) ด้านการปล่อยมลพิษที่น้อยลง (มาตรฐานมลพิษระดับ ยูโร 5 โดยมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กรัมต่อกิโลเมตร) และด้านความปลอดภัยระดับสากลที่สูงกว่า โดยเป็นมาตรฐานความปลอดภัยในระดับเดียวกับที่บังคับใช้ในสหภาพยุโรป ได้แก่ คุณสมบัติการป้องกันอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้าและการชนด้านข้าง รวมทั้ง คุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ดังที่กล่าวมาแล้ว สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า รถยนต์ “Mazda2” เป็นรถยนต์คุณภาพสูงที่สามารถรองรับความต้องการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลของผู้บริโภคในสังคมยุคใหม่ได้อย่างครบถ้วน
มร. ยูจิ นากามิเน่ ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ผมและทีมงานมาสด้าทุกคนรู้สึกภาคภูมิใจและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในวันนี้ ที่รถยนต์มาสด้า2 ใหม่ ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการและเป็นรายแรกของโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ Eco Car ระยะที่ 2 ด้วยการผ่านข้อกำหนดอันเข้มงวดที่สุดในโลก รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่ำกว่า 100 กรัม/กิโลเมตร ผมขอถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง ทั้งทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ (BOI) กระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ที่ได้ให้วิสัยทัศน์และมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี การได้รับอนุมัติโครงการในครั้งนี้จะช่วยให้มาสด้าสามารถนำเสนอรถยนต์นั่งขนาดกะทัดรัดที่อัดแน่นไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ มากมายแก่ลูกค้าชาวไทยในอัตราภาษีที่ดีขึ้นได้ การผลิตรถยนต์มาสด้า2 ใหม่ ในประเทศไทยจะช่วยยกระดับมาตรฐานทางเทคนิคของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยด้วยการร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ภายในประเทศ นอกจากนี้ เนื่องจากรถมาสด้า2 นั้นเป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ดังนั้นการผลิตรถยนต์มาสด้า2 ใหม่ เพื่อจำหน่ายในประเทศไทยและเพื่อการส่งออกนี้จึงจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างมีนัยสำคัญ”
รถยนต์มาสด้า2 ใหม่ รุ่นนี้เพิ่งทำการเปิดตัวแนะนำในประเทศญี่ปุ่น สามารถคว้ารางวัล Japan Car of the Year ของประเทศญี่ปุ่น นับเป็นรถยนต์มาสด้ารุ่นที่ 5 แล้วที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ต่อจาก Mazda CX-5 เมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งรถยนต์รุ่นนี้กำลังจะทำการเปิดตัวสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกของโลกในงานมหกรรมยานยนต์ช่วงปลายเดือนนี้ และจะเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปีหน้า มาสด้ามีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่ารถยนต์รุ่นนี้จะสามารถเอาชนะใจลูกค้าชาวไทยและทำให้ลูกค้าหันมาเห็นคุณค่าของความสนุกสนานในการขับขี่ได้อีกครั้ง”
มร. ยูจิ นากามิเน่ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “มาสด้ามีความตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นความเชื่อมั่นของมาสด้าที่มีต่อประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา โดยเฉพาะในเดือนมกราคมปีหน้า มาสด้าจะเริ่มสายการผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติที่โรงงานผลิตเกียร์อันทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของมาสด้า โดยจะผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติให้กับทั้งเอเอทีและโรงงานอื่นๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ มาสด้ายังได้เพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์นั่งที่โรงงานเอเอทีจาก 50,000 คันต่อปี เป็น 120,000 คันต่อปี นอกจากนี้มาสด้ากำลังดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องยนต์แห่งใหม่ในบริเวณเดียวกับโรงงานผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งโรงงานผลิตเครื่องยนต์แห่งใหม่นี้จะเริ่มสายการผลิตได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2558 นอกจากนี้มาสด้ายังมุ่งมั่นที่จะนำเสนอรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์การขับขี่ที่สนุกสนานในสไตล์ของมาสด้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะเข้ามาเติมเต็มชีวิตของลูกค้าชาวไทย ด้วยการเป็นแบรนด์ที่สามารถสร้างสายสัมพันธ์พิเศษให้กับลูกค้า และไม่มีรถยนต์แบรนด์อื่นใดเข้ามาทดแทนได้”
ข้อมูลเพิ่มเติม
มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
สำนักงานใหญ่มาสด้าตั้งอยู่ที่เมืองฮิโรชิมา บนที่ราบลุ่มแม่น้ำโอตะอันเงียบสงบ ท่ามกลางภูมิประเทศอันสวยงามระหว่างทิวเขาและท้องทะเลสีคราม เป็นศูนย์รวมของการบริหารรูปแบบใหม่ และยังเป็นที่ตั้งของการออกแบบ การทดสอบรวมถึงการผลิตและประกอบรถยนต์ที่ครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีกำลังการผลิตสูงถึง 1,400,00 คันต่อปี ส่งออกไปทั่วโลกมาสด้าเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น ด้วยเกียรติภูมิของตัวเองเป็นระยะเวลายาวนานถึง 92 ปี ทั้งในด้านการออกแบบที่ยอดเยี่ยม การนำเสนอรถยนต์ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลูกค้าล้วนรับรู้ถึงภาพลักษณ์ความเป็นยานยนต์สายพันธุ์สปอร์ตอย่างแท้จริง และสมรรถนะการขับขี่ที่สนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ เป็นยานยนต์ที่ขับสนุก นอกจากนี้มาสด้ายังเป็นบริษัทรถยนต์ชั้นแนวหน้าในด้านเทคโนโลยีเครื่องยนต์ ระบบช่วงล่างที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบโรตารี่ ที่ทำให้มาสด้าได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน เลอ มังค์ ในปี 1991 ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นรายแรกและรายเดียวที่ได้รับรางวัลนี้
ข้อมูลโรงงานผลิตรถยนต์ออโต้อัลลายแอนซ์
บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ร่วมทุนระหว่าง มาสด้า มอเตอร์ คอปอร์เรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) และ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปานี (สหรัฐอเมริกา) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 โรงงานแห่งนี้ทำการผลิตรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลสำหรับจำหน่ายในประเทศไทยและเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายกว่า 100 ตลาดทั่วโลก ทั้งในทวีปยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกากลาง อเมริกาใต้ อัฟริกา และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เป็นต้น โรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยอง ประเทศไทย และมีพนักงานกว่า 9,000 คน มีกำลังการผลิตสูงสุดสำหรับรถยนต์สำเร็จรูปหรือ CBU อยู่ที่ 260,000 คันต่อปี รถยนต์ที่ผลิตจากออโต้อัลลายแอนซ์ในปัจจุบัน ประกอบด้วย มาสด้า บีที-50 โปร มาสด้า2 มาสด้า3 ฟอร์ด เรนเจอร์และฟอร์ด เอเวอร์เรสต์
รายละเอียดข้อมูลมาตรฐานโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงาน
รายละเอียด |
โครงการอีโคคาร์ เฟส 1 |
โครงการอีโคคาร์ เฟส 2 |
1. ผลิตภัณฑ์ อัตราการประหยัดพลังงาน มาตรฐานด้านความปลอดภัย มาตรฐานมลพิษ ขนาดของเครื่องยนต์ |
– ไม่เกินกว่า 5 ลิตร/100 กิโลเมตร (20 กม./ลิตร) – คุณสมบัติป้องกันผู้โดยสารจากการชน ด้านหน้ารถ UNECE R94 และด้านข้าง UNECE R95, Rev.1 หรือระดับสูงกว่า – คุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิง ป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุเหตุ (Active Safety) – มาตรฐาน EURO4, CO2 ไม่เกินกว่า 120g/km – เครื่องยนต์เบนซินขนาดความจุไม่เกิน 1.3 ลิตร – เครื่องยนต์ดีเซลขนาดความจุไม่เกิน 1.4 ลิตร |
– ไม่เกินกว่า 4.3 ลิตร ต่อ/ 100 กิโลเมตร (23.25 กม./ลิตร) – คุณสมบัติป้องกันผู้โดยสารจากการชนด้านหน้ารถ UNECE R94 และด้านข้าง UNECE R95, Rev.1 หรือระดับสูงกว่า – คุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิง ป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ (Active Safety) ตามข้อกำหนดทางเทคนิค UNECE R13H Rev.2 หรือระดับสูงกว่า โดยอย่างน้อยต้องมีระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก ABS ซึ่งติดตั้งระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเลคทรอนิกส์ ESC – มาตรฐาน EURO5, CO2 ไม่เกินกว่า 100g/km – เครื่องยนต์เบนซินขนาดความจุไม่เกิน 1.3 ลิตร – เครื่องยนต์ดีเซลขนาดความจุไม่เกิน 1.5 ลิตร |
2. กำลังการผลิต |
– ไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปีตั้งแต่ปีที่ 5 ถึงปีที่ 8 |
– ไม่น้อยกว่า 100,00 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปและต้องดำเนินการผลิตภายในปี พ.ศ.2562 |
3. จำนวนเงินลงทุน |
– ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท – ต้องมีขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ได้แก่ (Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod โดยมีขั้นตอน Machining ของ Cylinder Head Cylinder Block, Crankshaft เป็นอย่างน้อย) |
– ไม่ต่ำกว่า 6,500 ล้านบาท – และสามารถลงทุนเพิ่มได้ในส่วนการสนับสนุนทางด้าน STI หรือการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศมูลค่า 500 หรือ 800 ล้านบาท – ต้องมีขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ได้แก่ (Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod โดยมีขั้นตอน Machining ของ Cylinder Head Cylinder Block, Crankshaft เป็นอย่างน้อย) |
4. สิทธิพิเศษ |
– ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคล 8 ปี – ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเครื่องจักร – สำหรับชิ้นส่วนและวัสดุ 90% |
– ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคล 6-8 ปี (ในปีที่ 7 และ 8 จะได้รับสิทธิเมื่อลงทุนทางด้าน STI มูลค่า 500 และ 800 ล้านบาท ตามลำดับ) – ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเครื่องจักร – สำหรับชิ้นส่วนและวัสดุ 90% |