“How to” Set Circuit : Civic “Thailand Fastest” OMR

เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี  / ภาพ : พิศวัส พงศ์พุฒิโสภณ, วิวัฒน์ ภัยวิมุติ

CIVIC ONE MAKE RACE

         จากการริเริ่มโครงการ ระหว่าง HONDA AUTOMOBILE THAILAND กับ GRAND PRIX INTERNATIONAL CO., LTD ได้ร่วมกันจัดงาน HONDA RACING FEST ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนวงการมอเตอร์สปอร์ตให้กับ HONDA ยกระดับสู่สากล โดยมีรุ่น CIVIC ONE MAKE RACE ที่เป็นรุ่นหนึ่งในการแข่งขัน โดยทางผู้จัดการแข่งขันจะผลิตรถแข่งในโครงการนี้ขึ้น  กำหนดเงื่อนไขการปรับแต่งของตัวรถให้เหมือนกันทุกคัน ไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก จึงเป็นรุ่นที่น่าสนใจ เพราะวัดกันที่กึ๋นเป็นหลัก ตัวรถอาจจะดูไม่อลังการ แต่ขอว่าอย่ามองข้ามเรื่องการเซ็ตอัพเป็นเด็ดขาด จะกินกันก็ตรงนี้แหละครับ สำหรับรถคันนี้เป็นของเทอร์โบทายาทของคุณมงคล เสถียรถิระกุลที่เคยสร้างสถิติเอาไว้ในสนามพีระฯ ที่ยังไม่มีใครลบล้างได้ และมีมือโปรหลายท่านมาช่วยเซ็ตรถ จึงประมาทไม่ได้เด็ดขาด

Body : HONDA CIVIC 1.8 S MT OEM Equipment

         ในด้านตัวถังของรถ ONE MAKE RACE ก็ไม่ได้ให้ดัดแปลงอะไรมากนัก โดยหลักแล้ว จะไม่ให้ดัดแปลงโครงสร้างผิดไปจากมาตรฐานโรงงาน (OEM) แต่ตาม Regulation ก็ให้มีการปรับเปลี่ยนได้นิดหน่อย เช่น แก้มหน้าทั้งสองข้าง อนุญาตให้ขยายขนาดให้กว้างขึ้นได้ เจาะช่องรับลมที่กันชนหน้าเพื่อดักอากาศได้ นอกเหนือจากนี้ ไม่อนุญาตให้ปรับแต่งหรือปรับเปลี่ยน  และชิ้นส่วนของตัวถังต้องอยู่ครบ ในระหว่างการควอลิฟายและก่อนการแข่งขัน วัสดุซับเสียงต่าง สามารถเลาะออกได้ น้ำหนักตัวรถ พร้อมนักแข่ง และอุปกรณ์การแข่งขัน แข่งเสร็จแล้วก็วนกลับมาชั่งเลย ต้องไม่ต่ำกว่า 1,180 กก. เหมือนกันทุกคัน

Engine : K20A MUGEN Accessories

         เครื่องยนต์จากเดิมเป็น R18A ปีนี้ได้เปลี่ยนเป็น K20A จาก CIVIC FD2 Type R เพื่อเพิ่มความเร้าใจมากขึ้น โดยเครื่องยนต์ยังเป็นสแตนดาร์ด ไม่มีการเปิดมาโมดิฟายใด มีอุปกรณ์ของ MUGEN คือ กล่อง ECU, สปริงวาล์ว อย่างอื่นไม่อนุญาต ชุดท่อไอเสีย HKS ระบบจ่ายเชื้อเพลิงเดิม ห้ามใส่ตัวปรับแรงดันใด ส่วนแรงม้าที่เคยจับรถมาสุ่มวัด ลงพื้นอยู่ประมาณ “225 PS” แต่ด้วยลักษณะของเครื่องบล็อกนี้ ที่เคยผ่าน มา จะให้ Power Band ที่กว้าง จึงเป็นเครื่องที่ตอบสนองได้ดีมาก

Transmission : OEM FD2

         ระบบส่งกำลัง จะใช้เกียร์ตามรุ่นของ FD2 แบบ 6 สปีด เหมือนเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราทดใด เพราะของเดิมก็เซ็ตมาได้ลงตัวดี สำหรับรุ่น FD2 จะใช้เฟืองท้ายอัตราทด 5.062 : 1 ซึ่งไม่เหมือนกับ DC5 โดยลองมาแล้วว่าเหมาะกับสนามในบ้านเรา ลิมิเต็ดสลิป MUGEN ถูกใส่เข้าไป เพราะเวลาเร่งออกโค้ง รถเอียง ถ้าล้อด้านในเริ่มยกตัวขึ้นบ้าง แรงยึดเกาะจะน้อยลงเป็นปกติ ถ้าไม่มีลิมิเต็ดสลิป ล้อที่ยกตัวอาจจะฟรีทำให้การออกโค้งไม่เร็ว ส่วนชุดคลัตช์ ก็เป็นของ MUGEN เพื่อรับภาระหนักในการขับแบบกระแทกกระทั้น

Suspension : Seting By SIRIBOON POWERSPORT

         ระบบช่วงล่าง ถูกกำหนดมาว่าจะต้องเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานของรุ่น FD1 ที่จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ได้ยกของ FD2 มาใส่ เนื่องจากให้ง่ายต่อการซื้ออะไหล่เปลี่ยน ราคาไม่แพง ห้ามเปลี่ยนตำแหน่งจุดยึด ปีกนกต่าง เดิม แต่ให้เปลี่ยนลูกหมากได้อิสระ บู๊ชยางเปลี่ยนเป็นยูรีเทนได้ โช้คอัพให้ใช้ HKS HYPERMAX III SPORT ที่ผลิตเพื่อการแข่งขันรุ่นนี้เท่านั้น แต่ด้านในสามารถปรับแต่งได้อิสระ ซึ่งทาง.ศิริบูรณ์จับมาปรับแต่งใหม่ ให้ค่า Rebound หนืดขึ้น เพื่อลดอาการลอยของตัวรถ ทำให้ยึดเกาะดีขึ้น โดยพื้นฐานแล้ว รุ่นนี้ท้ายจะค่อนข้างเกาะ เพราะทำให้ขับง่ายกับคนทั่วไป พอมาเป็นรถแข่งจึงต้องเซ็ตให้ท้ายออกช่วยเลี้ยว ให้หัวจิกเข้าใน โดยเงื่อนไขต่าง จะเซ็ตให้เป็นนิสัยนี้ทั้งหมด สปริงใช้ของ SWIFT โดยใช้ค่าความแข็ง ด้านหน้า 14 K ด้านหลัง 20 K หลังแข็งกว่า เรื่องของมุมล้อ คันนี้จะปรับแคมเบอร์หน้าลบสี่แคมเบอร์หลังลบจุดห้ามุมโท ด้านหน้าโทเอาท์ด้านหลังศูนย์ทั้งนี้ การคำนวณเรื่องมุมล้อต่าง .ศิริบูรณ์ จะทำให้อาการของรถหน้าและท้ายไหลไปพร้อม กันไม่ใช่หน้าเกาะ ท้ายไหล อันนั้นจะโอเวอร์สเตียร์มากไป ทำให้รถช้าลง ที่ปรับอย่างนี้ ให้ตัวรถเข้าโค้งสไลด์แบบไหล ได้อย่างเป็นกลาง ทำให้ขับง่ายไว้ก่อน ตามนิสัยของเทอร์โบที่ขับโกคาร์ท จึงชอบนิสัยรถแบบนี้ แต่จริง แล้ว คนขับอยากได้หน้าเกาะกว่านี้ แล้วท้ายไหลกว่านี้อีกหน่อย เพราะตอนนี้ท้ายเกาะเยอะไปนิด ขนาดตั้งแคมเบอร์เกือบศูนย์แล้ว อยากได้ฟีลลิ่งคล้าย รถขับหลัง แต่ตอนนี้ด้านหน้าไม่สามารถปรับแคมเบอร์ลบได้อีก เพราะเป็นล้อขับเคลื่อน ถ้าลบมาก ทางตรงยางจะแนบไม่เต็มพื้น จะมีผลตอนเร่ง หน้าสัมผัสไม่เต็ม รถจะมีอาการฉก และตอนเบรกหนัก โดยเฉพาะตอนสุดทางตรง เบรกจะล็อก เพราะหน้ายางยึดเกาะน้อยลง ก็อาจจะต้องใช้วิธีอื่นช่วยให้หน้าเกาะขึ้น โดยไม่ต้องปรับแคมเบอร์ลบ

         มาถึงเรื่องของลมยาง คันนี้จะสูบลมยางไม่เท่ากันสักล้อเดียวจะใช้แรงดันลมยางตามสภาพการแข่งจริง พื้นร้อน เปียก ฝน จะไม่เท่ากัน 4 ล้อ ก็จะสูบต่างกันไป ทำไมทำอย่างนั้น อย่าลืมว่า เราไม่ได้วิ่งตรงๆ อย่างเดียว ในสนามจะเลี้ยวไปมา โค้งไม่เท่ากัน ตอนร้อน ลมยางก็จะเปลี่ยนสภาพไป เทคนิคของคันนี้ จะเติมลมยางไม่เท่ากันก่อนทั้งหมด แต่พอยางร้อนได้ที่ ลมยางจะกลับมาเท่ากันจากความร้อนที่เพิ่มขึ้นตามการขับ อย่างในพีระฯ จะเลี้ยวขวาเยอะ ถ้าสูบลมเท่ากัน ล้อด้านซ้ายจะร้อนกว่าด้านขวา เพราะถูกแรงกระทำมากกว่า แต่ถ้าเป็นที่แก่งกระจาน มันจะเลี้ยวซ้ายมากกว่า ก็ต้องไปอีกทางหนึ่ง ส่วนการปรับ Cross Weight ก็จะไปเล่นที่ความสูงของสปริงมีผลมาก เพราะปรับแค่ครึ่งเซนติเมตร น้ำหนักผิดกันเป็นสิบกิโล คันนี้จะพยายามปรับให้แต่ละข้าง Balance กัน อย่างในพีระฯ ก็จะปรับ Cross Weight ในล้อหน้าขวา และหลังซ้าย ให้เยอะกว่าอีกฝั่ง เวลาเลี้ยวขวา ปกติล้อหน้าขวาจะลอย เราก็ปรับให้น้ำหนักไปถ่วงไว้เยอะหน่อย กันล้อลอย ส่วนด้านซ้ายก็ให้เบาไว้ เพราะเวลาเลี้ยวขวา น้ำหนักมันเทมาอยู่แล้ว นี่ก็เป็นเรื่องของ Cross Weight แบบคร่าว ส่วนระบบเบรก ก็อนุญาตให้เปลี่ยนจานเบรกได้ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 330 มม. คาลิเปอร์ด้านหน้าไม่เกิน 4 POT ด้านหลังไม่เกิน 2 POT ซึ่งต้องเผื่อของที่ทนทานไว้ เพราะคนขับจะใช้เบรกหนัก เพื่อให้ได้ระยะเบรกสั้นสุด เลยต้องใช้จานที่มีรูระบายเยอะ ค่อยเอาความร้อนออกให้เร็วสุด

Owner Comment

         ในนามอู่  IMPRESSION GARAGE จากการที่ได้เซ็ตอัพรถคันนี้ ซึ่งเป็นรถแบบ ONE MAKE RACE ที่ไม่เปิดโอกาสให้ทำอะไรได้มากนัก จึงต้องหาทางปรับทุกอย่างช่วยเอา  เครื่องก็ไม่มีอะไร เพราะเป็น K20A สแตนดาร์ด ไปยุ่งอะไรไม่ได้ กำลังเครื่องจึงไม่หนีกันมาก แต่กติกาเปิดให้ปรับเซ็ตช่วงล่างได้ มันก็จะกินกันตรงนี้ สำหรับสไตล์การขับของเทอร์โบ ก็จะชอบแบบรถขับหลัง จึงต้องเซ็ตรถให้โอเวอร์สเตียร์หน่อย แต่ก็ไม่มาก เพราะต้องการหน้าและหลังไหลไปเป็นหน่วยเดียวกัน ถ้าท้ายมากเกินไป รถก็จะไม่เร็ว ขับยากขึ้น ตอนนี้ก็อยากได้ให้หน้าเกาะมากขึ้น ท้ายเกาะน้อยลงอีกนิด อนาคตก็จะค่อย ปรับไปให้ตรงกับความต้องการของคนขับมากที่สุด

Editor Comment

         โดยปกติ คนจะเฉย กับรถ ONE MAKE RACE เพราะคิดว่าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ใคร ก็ขับเหมือนกัน แต่ผมชอบและ ตื่นเต้น เพราะว่ามันมีการได้เสียกันอยู่ในที รถมีข้อจำกัด เพราะเปลี่ยนอะไรไม่ได้มากนักจากกติกาหลัก ดูจะทำง่าย แต่กลายเป็นยาก เพราะเงื่อนไขที่ถูกจำกัด ต้องหาทางปรับเท่าที่จะทำได้ โดยให้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ก็ต้องใช้สมองมากกว่าเงินเพียงอย่างเดียว ฝีมือคนขับก็เป็นส่วนหลักเช่นกัน คนขับคนนี้เป็นทายาทของ คุณมงคล เสถียรถิระกุล อดีตผู้ที่เร็วที่สุดในสนามพีระฯ จึงมีฝีมือไม่ธรรมดา ประกอบกับได้ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค อย่าง .ศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข เป็นผู้เซ็ตอัพช่วงล่างทั้งหมด จึงมีลูกเล่นมากมายในการปรับ ซึ่งผมเองก็ได้รู้อะไรเยอะมากกับเรื่องช่วงล่างและศูนย์ล้อของรถแข่ง จากการที่ทำคอลัมน์รถคันนี้ มีประโยชน์มากครับ เงินเท่ากัน ของเหมือนกัน คนที่เป็นเท่านั้นถึงจะชนะ ท้ายสุดก็ขอขอบคุณช่างเล็ก” IMPRESSION GARAGE ที่ให้ข้อมูลเต็มที่ และ DYNO KING อ่อนนุช สำหรับสถานที่ถ่ายทำ

X-TRA ORDINARY

         คำว่าเซอร์กิตไม่ได้แปลว่าสนามแข่งรถอย่างเดียว จริง มันแปลว่าวงจรหรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับวงจรต่าง เช่น ในสนามเซอร์กิต จะเป็นสนามปิด รถจะวิ่งวนไปมาในสนามเป็นรอบ แต่ที่น่ารู้กว่านั้น คือดริฟต์คำนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับรถแม้แต่น้อย เพราะมันแปลว่าเลื่อนลอยเฉย แต่ที่เป็นสแลงเรียกกัน สันนิษฐานเอาว่า เวลาดริฟต์รถ ตัวรถจะขวางลำมา ไถลมาเรื่อย เหมือนกับลอยมา อะไรทำนองนั้นมากกว่า