เรื่อง: อินทรภูมิ์ แสงดี / ภาพ : ธัญญนนท์ แสงภู่ (TakeSnap), Image Jinzz
ความเหน็ดเหนื่อยในระยะเวลาอันยาวนาน 10 ปี กับการเรียนรู้ และ 4 ปีให้หลัง กับการค้นหาจุดลงตัวของ RX-7 คันนี้ แต่ด้วยความอดทนทั้งกายและใจของทีมงาน WESTERN DYNOJET 345 & PROSTREET รวมถึงทีมงานที่ช่วยเหลือในการทำรถคันนี้ทุกท่าน จึงทำให้มี “รางวัลแด่นักล่าฝัน” เกิดขึ้นในงาน Souped Up Thailand Records 2015 นั่นก็คือ “1st of PRO 4” กับสถิติอันน่าพอใจ “8.547 วินาที” เชื่อสิ โรตารี่ก็ทำได้ !!! ซึ่งรายละเอียดบางอย่างมันก็ต้อง “เข้าใจ” มากกว่าเครื่องลูกสูบ เราได้เจาะรายละเอียดน่ารู้ต่างๆ ซึ่งคนที่ไม่เคยได้ “สัมผัสลึก” รู้แล้วจะต้อง “ทึ่ง” เพราะบางอย่างมันก็ต้องแก้ไขตามประสบการณ์จริง ความผิดพลาดในอดีต จึงเป็นครูในปัจจุบันของตำแหน่งอันทรงเกียรติที่ได้มานั่นเอง..
แรงผลักดันชนะแรงกดดัน
คำว่า “แรงผลักดันภายใต้แรงกดดัน” ใช้ได้กับเหตุการณ์นี้ เพราะกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ มันไม่ใช่ง่ายๆ จากสิ่งที่จะต้องแก้ปัญหาเกี่ยวกับตัวรถ เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ไหนจะแรงกดดันจากทั้งคนและสิ่งรอบด้านอีก แต่ “เป๊ก” ดุษฎี พงศ์พิพัฒน์ หัวเรือใหญ่แห่ง WESTERN DYNOJET 345 ก็ยังยืนหยัดจะเล่นกับเครื่องโรตารี่ ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัว และคิดว่าต้องแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นให้หมดให้ได้ มีการ Brain Storm จากหลายๆ ฝ่ายรวมกัน เอาข้อดีของแต่ละคนมารวมกันเป็นองค์ประกอบหนึ่ง จึงทำให้การแก้ปัญหานั้นสำเร็จลงได้ จริงๆ ผมว่าเรื่องเครื่องโรตารี่ในอดีตที่มันเสียหายบ่อยๆ ก็อยู่ที่ Apex Seal เป็นหลักใหญ่ ตรงนี้เลยต้องสั่งของที่มีคุณภาพสูงมาใช้ แล้วก็นำมา “วิเคราะห์ทางโลหะวิทยา” (ทางครอบครัวของ เป๊ก จะทำกิจการเกี่ยวกับการตรวจสอบวัสดุจำพวกโลหะต่างๆ และมีห้อง Lab สำหรับทดสอบ) ตอนนี้ก็รู้แล้วว่ามันเป็นอย่างไร ตอนทำเครื่อง จึงได้ร่วมงานกับ PROSTREET คือ “พี่เอ๋” เจ้าสำนัก ผู้เป็นส่วนหลักในการประกอบเครื่อง เซตระบบต่างๆ ทั้งหมด และ “พี่โจ” มือจูนประจำอู่ เพื่อที่จะได้แก้ไขในสิ่งที่บกพร่อง…
มาถึง PROSTREET กันบ้าง ประการแรกที่ได้คุยกับ “พี่เอ๋” ได้ความว่า “เราต้องคุยกันตรงไปตรงมา ก่อนที่จะลงมือทำ” ซึ่งทุกคนก็ได้ความเห็นตรงกันว่า ขอแบบ “ทุกอย่างลงตัว” และมีพิกัดเวลาในใจกันอยู่แล้ว จากการที่ได้คุย จับประเด็นสรุปแบบโดนๆ ดังนี้…
- แม้ของที่ใช้อยู่มันมีครบอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้มันใช้ได้ดีที่สุด อันไหนใช้ได้ อันไหนต้องซื้อใหม่ แต่สิ่งหนึ่งต้องรู้เลยว่า “ของที่ซื้อมานั้น ลิมิตอยู่แค่ไหน” จะได้รู้ว่าควรจะทำแรงม้าได้เท่าไรโดยที่เครื่องยังทนไหว…
- “โรตารี่ไม่ต้องวิ่งรอบสูงมากก็ได้” สไตล์การทำคันนี้ คือ “เน้นความพอดีและเหมาะสม” ไม่บ้าพลังมาก อย่างพอร์ตที่ทำก็เป็น “Semi Direct Port” เพื่อนำไอดีเข้าไปช่วยเผาไหม้ แต่ไม่ถึงกับใหญ่มาก เพราะไม่ต้องการให้รอรอบ ให้มีช่วง Power Band กว้างตั้งแต่รอบกลางขึ้นไป ไม่เน้นไปที่รอบสูงมากๆ เพราะมีความเสี่ยงสูง…
- เห็นความตั้งใจของทีมงานทุกคน เพราะหลังจากที่ทดลองวิ่ง หรือแข่งจริง หลังจากจบ Run จะต้องมีการเช็ก Data Log หรือคุยรายละเอียดกับทีมงานถึงสิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาในรอบถัดไป…
ก่อนอื่นเราขอกล่าวถึง “ประทวย กล้วยทองคำ” กันก่อนแล้วกัน เป็นนักขับ Drag ที่มีประสบการณ์สูง และ “No Fear” มีอะไรกูก็แก้ไปหน้างาน ประกอบกับความสนิทสนมส่วนตัว จึงถูกเลือกมาขับรถคันนี้ แน่นอนว่า คนขับก็จะต้อง “สื่อสาร” ให้ได้ว่าอาการรถแสดงออกอย่างนี้ ทีมช่างจะต้องแก้ไขอย่างไร ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญมาก อีกประการ เราจะได้เห็นใน Clip การเบิร์นยางใน “รอบชิง” ณ สนามบุรีรัมย์ฯ ประทวย เบิร์นถึง “5 เกียร์” ถามว่าทำไมต้องขนาดนั้น…
- การเบิร์นยาง จะต้องทำให้อุณหภูมิของยางสูงพอที่เนื้อยางจะ “เหนียวพอดี” ต้องคำนวณและทดสอบเอาเอง ที่เบิร์น 5 เกียร์ เพราะต้องการให้ “Wheel Speed” สูง ล้อปั่นเร็ว อุณหภูมิก็จะเพิ่มอย่างรวดเร็ว ตอนแรกก็ต้องลองเบิร์นปกติดูก่อน ถ้าเบรกหน้ามันจับอยู่ก็สามารถใช้เกียร์สูงขึ้นได้…
- ตอนออกตัวในรอบควอลิฟาย ก็มีปัญหาเรื่อง Missfire ตั้งตาม “บูสต์” เวลาออกตัวแล้ว “บูสต์ตก” Missfire ตัดการทำงาน “บูสต์หาย” ทำให้ออกตัวไม่ได้ เลยแก้ปัญหาโดยการตั้งตาม “องศาลิ้นเร่ง” เวลาออกตัว ถ้าคันเร่งยังไม่ถอน Missfire ก็จะไม่ตัด สามารถออกตัวได้ครับ…
- การขับเครื่องโรตารี่ จะต้อง “แม่น” มากกว่าเครื่องลูกสูบ เพราะด้วยเชิงกลของมันเป็นเครื่องที่มีแรงบิดน้อยกว่าเครื่องลูกสูบ เน้นเลยคือตอนออกตัว ถ้าออกตัวพลาด รอบตก บูสต์ตก ก็คือเสียไปเลย แต่ถ้าออกไปได้ดีแล้ว ที่เหลือก็ไม่ใช่ปัญหา…
- สไตล์ของ “ประทวย” หลายคนก็ว่าบ้าระห่ำ แต่ผมว่าไม่ใช่ เพราะถ้าคำว่า “แข่ง” คือมันก็ต้องไป “รถแข่งไม่มีวันเชื่อง” นักแข่งเก่งๆ ก็จะต้องประคองไปให้ได้ แต่ตัวรถเองก็ต้องสมบูรณ์ด้วย มันต้องประกอบกันนะครับ…
Max Torque: 73.39 kg-m
ก็ไม่น้อยเหมือนกันนะ สำหรับแรงม้าเครื่อง 2 โรเตอร์ จริงๆ แล้ว การจูนแรงม้าขนาดนี้ จะเป็นค่าใกล้จุดสูงสุดที่เครื่องตัวนี้สามารถรับได้ เหลือเนื้อที่ในการ Play Safe ไว้ แต่พอตอนแข่งจริงๆ ก็ลดลงไปอีก เหลือประมาณ 700 กว่า เอาที่วิ่งได้ตามเป้าหมายก็พอ ถ้าดูกราฟแรงม้า (สีน้ำเงิน) และกราฟแรงบิด (สีแดง) มันไปในทิศทางเดียวกัน งั้นพูดทีเดียวเลยแล้วกัน กราฟจะขึ้นแบบ “ต่อเนื่อง” ไม่ได้จู่ๆ ก็มีดีดพรวดทีเดียวตรงปลาย ลักษณะนี้จะทำให้ “ขับง่าย” ไม่ต้องขยี้รอบสูงอย่างเดียว เอารอบกลางมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ช่วงที่ใช้เต็มๆ ก็ตั้งแต่ 700-800 PS มีช่วงให้ใช้ได้กว้างพอควร (แหม เสียดายที่ไม่ได้มีรอบเครื่องให้ดู จะพิจารณาได้ง่ายมากขึ้น) ที่แน่ๆ เป็นไปตามที่ PROSTREET ต้องการ ซึ่ง Power Band ที่เป็นลักษณะ Linear แบบนี้ อย่าคิดว่าทำกันง่ายๆ นะครับ ยากกว่าไอ้แบบหายๆ แล้วจู่ๆ ก็ฟาดพรวดพราดอย่างเดียว แบบ Linear จะต้องคิดกันทุกจุด การโมดิฟายพอร์ต การเลือกเบอร์โข่งหลังเทอร์โบ มันต้องสะเวิ้บกันลงตัวครับ…
- คันนี้กำลังจะเปลี่ยนเป็นเบรกหน้า 2 pot เพราะ 1 pot เวลาเบิร์นแล้วเบรกไม่อยู่ รถไหล (ออกแบบมาให้ใช้กับรถเฟรมที่มีน้ำหนักเบากว่านี้) ทำให้การเบิร์นไม่มันส์เท่าที่ควร รถต้องหยุดนิ่ง ยางหลังถึงจะเกิดการเสียดสีสูง ปั่นอุณหภูมิสูงขึ้นได้เร็ว ส่วนรอบดุมล้อ จะเห็นเป็นฟันเฟือง นั่นคือ “Speed Sensor” ที่ต้องเอามาไว้ล้อหน้า เพราะมันจะหมุนตามความเร็วจริงของรถ เพื่อเอาความเร็วไปรายงานที่กล่อง ECU เวลาวิ่งเร็วขึ้น ก็จะมีการชดเชย (Compensate) ทั้งน้ำมันและปรับองศาไฟจุดระเบิด ถ้าเป็นล้อหลัง ความเร็วที่วัดได้อาจจะไม่ใช่ความเร็วของรถจริงๆ เพราะมีโอกาสที่ล้อจะฟรี หมุนเร็วกว่าความเร็วรถจริง ทำให้การรายงานผลผิดพลาดไป ส่วนโช้คอัพเป็นของ OHLINS ที่ถูก Revalve ให้เหมาะสมกับสภาวะของรถคันนี้
Comment: “เป๊ก” ดุษฎี พงศ์พิพัฒน์ WESTERN DYNOJET 345 & Signature Garage
การทำโรตารี่ ผมยืนยันได้เลยว่ามาจาก “ความรัก” จากอดีตที่ผมไม่ประสบความสำเร็จ แต่ผมก็ไม่ยอมเลิก ท่ามกลางเสียงคัดค้านต่างๆ นานา ซึ่งเขาไม่รู้ว่าผมกำลังทำสิ่งใด และค้นหาอะไรอยู่ ยอมรับว่าคันนี้จะสำเร็จ ก็กินเวลาไปหลายปี มันก็ดีว่า “เราได้หาประสบการณ์จริง” ตัวผมเองก็เป็นผู้ที่สนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่าย รวมถึงวาง Concept ร่วมกับทีมงานตัวเอง และอาศัยความช่วยเหลือจากทีมและอู่ที่มีความสนิทกัน และมีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่เรายังขาด พูดง่ายๆ คันนี้จะทำกันแบบ “เพื่อน พี่ น้อง” แก้ปัญหากันจนจบ ในปลายปีนี้ผมก็จะมีการปรับเซตบางจุดให้ดีขึ้น เน้นความสมบูรณ์มากขึ้น บอกได้เลยว่า “8.5 เป็นแค่จุดเริ่มต้นของคันนี้” นะครับ ท้ายสุด ขอขอบคุณทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการสร้างรถคันนี้ขึ้นมาครับ…
Special Thanks to
- พี่เอ๋ พี่โจ ทีมช่าง PROSTREET
- พี่ๆ น้องๆ อู่ Signature Garage
- เต้ Racing D Garage
- พี่ชาญ Chan inter
- กิ๋ง Chameleon industries
- พี่โบ้ Bo Autopart
- 9 overdose sticker
- พี่โจ Blackyard
ได้รู้จักกับ “เป๊ก และ “บอล” มา ก็ตั้งแต่สมัย MAZDA FAMILIA เห็นว่ารักโรตารี่เอามากๆ แม้ว่าช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา ทุกคนที่มีส่วนร่วมในคันนี้จะต้องผ่านศึกหนักสุดๆ ขนาดในช่วง Souped Up ยังมีลุ้นกันอยู่เลย แต่เมื่อปัญหาถูกแก้จนจบ มันจึงเป็น “ความรู้ใหม่” ในทันที อย่างตัวผมเอง ก็คิดมาตั้งนานว่า “ทำไมเมืองนอกทำโรตารี่แรงๆ กันได้ แล้วทำไมบ้านเราจะทำไม่ได้” งานนี้ถือเป็นการพัฒนาไปอีกระดับของวงการมอเตอร์สปอร์ตเมืองไทย ตัวผมเองก็อยากจะเห็นคนทำเครื่องโรตารี่แรงๆ ที่สามารถวิ่งได้อย่างเสถียรออกมากันเยอะๆ ครับ เชื่อว่าคนไทยทำได้ครับ…
- Signature Garage : Facebook/Signature Performance Garage, Tel. 08-1101-4334, 08-5117-1117, 08-6413-6066
- WESTERN DYNOJET 345 : Facebook/Western Dynojet, Tel. 08-1101-4334, 08-5117-1117, 08-6–413-6066
- PROSTREET : Facebook/Prostreet Garage, Tel. 08-1413-0200
สำหรับ “เป๊ก” และ “บอล” สองคนนี้มีความใฝ่ฝันจะทำ MAZDA Retro Drag Racing ออกมาหลายคัน แต่ด้วยความที่รถเก่ามันสวยจริง แต่เสียที่ Aero Dynamics มันต้านลมเกินไปหน่อย เลยต้องหันมาหา RX-7 FD3S ที่ดูทรงแล้วมัน “ลู่ลม” ที่สุด จับต้องได้ง่าย มีอะไหล่ให้เลือกเยอะ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ที่จะเอา MAZDA ตัวเก๋ารุ่นต่างๆ มาแรดให้เราเห็น อยากจะเห็นก็ติดตามเชียร์กันเยอะๆ นะครับ…
ภายนอก
กันชนหน้า : RX-7 Type R
ฝากระโปรงหลัง : NOTE CARBON
ร่มช่วยเบรก : SIMPSON
- สิ่งที่ยังต้องเพิ่มเติม คือ “การจัดทิศทางลมเข้าเทอร์โบ” ที่ตอนนี้ยังไม่ค่อยถูกใจ ปลายๆ บูสต์ตก เหลือ 1.6 บาร์ (ปกติใช้ 1.8 บาร์) ก็จะต้องจัดทางลมใหม่ หรือจัดตำแหน่งให้เทอร์โบโผล่มารับลมเต็มๆ ที่หน้ากันชน
ภายใน
คอนโซล : NOTE CARBON
เกจ์วัด : AUTO METER
เบาะ : KIRKEY by MONZA SHOP
เข็มขัดนิรภัย : SIMPSON by MONZA SHOP
พวงมาลัย : SPARCO
โรลบาร์ : CHAN INTER
คันเกียร์ : LIBERTY
- โชว์งานกันหน่อย ท่อไอดี Pro-Jay Super Duty ที่เป็นทรง Retro ตรงรุ่น 13B-REW รุ่นนี้ไม่ผลิตอีกแล้ว มีแผ่นป้องกันความร้อน เพราะรางหัวฉีดมันจะอยู่ใกล้ๆ กับท่อไอเสีย และทำทิศทางไว้สำหรับตอนรางหัวฉีดหรือสายน้ำมันรั่ว น้ำมันจะไหลทิ้งโดยที่ไม่โดนท่อไอเสีย
เครื่องยนต์
รุ่น : 13B-REW
Apex Seal : ATKINS ROTARY
เทอร์โบ : GARRETT GTX45
เวสต์เกต : HKS GT2
เฮดเดอร์ : CHAN INTER
อินเตอร์คูลเลอร์ : CHAN INTER
ท่อร่วมไอดี : PRO-JAY
หัวฉีด : INJECTOR DYNAMIC 2,000 c.c.
เร็กกูเลเตอร์ : AEROMOTIVE
รางหัวฉีด : PRO-JAY
หม้อน้ำ : GReddy
ชุดเพิ่มกำลังไฟ : M&W by CMZ ROTARY
สายหัวเทียน : MSD
กล่อง ECU : HALTECH ELITE by JOE PROSTREET
เกียร์ : LIBERTY V-GATE 5 สปีด
คลัตช์ : HKS
เฟืองท้าย : 4.6 : 1
โช้คอัพหน้า-หลัง : OHLINS
ล้อหน้า : WELD ขนาด 3.5 x 15 นิ้ว
ล้อหลัง : WELD ขนาด 10 x 15 นิ้ว
ยางหน้า : M&H ขนาด 24-4.5-15
ยางหลัง : MICKEY THOMPSON ขนาด 26.0-10-15
เบรกหน้า : STRANGE