“TOYOTA COROLLA” Legend : เริ่มต้นตำนานตั้งแต่ปี 1970

 

Toyota Corolla รุ่น 1 ST (1966-1970)

ประวัติความเป็นมาของรถ Toyota Corolla

 

แปลโดย: KANDARAT เจ (GPI Group) / Cr. Toyota Global

 

Mr.Tatsuo เซกาวา

ระยะเวลาการทำงาน – ค.ศ. 1963 – 1974

Mr.Tatsuo Hasegawa หลังจากเข้าร่วมงานกับ Toyota Motor Corporation ในปี 1946 Hasegawa ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบรถบรรทุกและรถโดยสารประจำทาง รวมถึงการพัฒนารถยนต์รุ่น Crown  ช่วงปี 1962 ได้ดำรงตำแหน่ง Engineer of the Publica ได้ริเริ่มคิดคอนเซปต์รถยนต์ Corolla ขึ้น ต่อมาปี 1967 หลังการเปิดตัวรถ Corolla รุ่นแรก Hasegawa รับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปของฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์ของแต่ละโปรเจค นอกจากนี้เข้ายังมีส่วนร่วมในการพัฒนา Corolla รุ่นที่ 2 ด้วย

Mr.Hasegawa ก็ได้ร่วมพัฒนา Toyota หลายๆรุ่นด้วย ทั้ง Sedan และ รถกระบะ

ปี 1966 เป็นปีที่วงการรถยนต์รุ่นโรจน์ในประเทศญี่ปุ่น และมีรถยนต์รุ่นหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้น พร้อมชื่อที่มีความหมายว่า “มงกุฎดอกไม้” Crown Flowers  นั่นก์คือสัญลักษณ์ของ Toyota Corolla ซึ่งจะกลายมาเป็นหนึ่งในรถครอบครัวที่ได้รับความนิยมมาที่สุดทั่วโลก

Corolla เป็นที่รู้จักจากวลีดังว่า “รถยนต์ที่ต้องการมากที่สุดในตลาดรถยนต์ นำเสนอสู่โลกโดยการนำเทคโนโลยีของโตโยต้ารวมเข้าไว้ด้วยกัน” รถรุ่นนี้ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีมากมายซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นำมาใช้ในการผลิตรถในประเทศและครั้งแรกของโลกสำหรับรถครอบครัว Corolla มีรูปแบบที่จะวาดเส้นสายที่ชัดเจนระหว่างมันและรถยนต์อื่น ๆ ในครอบครัวโตโยต้า ณ ช่วงเวลานั้น ด้วยรูปลักษณ์ การออกแบบ อุปกรณ์ใหม่ๆ ที่นำมาติดตั้งในตัวรถให้ดูหรูหรา อุปกรณ์ใหม่เทียบเคียงกับที่พบในรถเกรดสูง ทำให้สามารถชนะใจผู้คนได้ไม่ยาก และสามารถคว้ายอดขายอันดับ 1 ในประเทศได้สำเร็จ โดยใช้เวลาเพียง 3 ปีหลังจากเปิดตัวเท่านั้น…

ความสนใจที่ Corolla ได้รับนั้นถือเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์เลยทีเดียว ตามคำบอกจากพนักงานขายตอนนั้น เขากล่าวว่า Corolla เป็นการปฏิวัติลูกค้าวงการรถยนต์ บ่อยครั้งที่จะได้ยินเสียง Wow!! เพียงเอ่ยชื่อทั้งที่ยังไม่ได้เจอตัวจริงด้วยซ้ำ ภายในห้องโดยสารเบาะนั่งมีความสะดวกสบาย หลังคาสูง เกียร์สไตล์สปอร์ต ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นใด ด้วยนวัตกรรมใหม่ต่างๆ ทำให้ Corolla มีความโดดเด่นมากที่สุด

Tatsuo Hasegawa ผู้นำการพัฒนาของรถรุ่นแรก ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 1962 Hasegawa เสนอแผนการพลิกโฉมรถยนต์ใหม่ทั้งหมด เนื่องจากช่วงเวลานั้นประชาชนทั่วไปต้องการถที่สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้แก่พวกเขาได้ รถยนต์ที่สามารถสัมผัสได้ถึงความหรูหรา ด้วยเหตุนี้ชิ้นส่วนที่มีนั้นไม่ตอบสนองความต้องการของยุคนั้น ดังนั้นคอนเซปต์ที่เปิดตัวที่เรียกได้ว่าเป็นยานยนต์ที่ได้รับการพัฒนาใหม่ รวมถึงเครื่องยนต์และระบบกันสั่นของรถ การพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นในปีถัดมา หรือค.ศ. 1963 นั่นเอง อย่างไรก็ตามการดำเนินงานตามแผนการนี้ไม่ง่ายเลย การพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่นั้นจำเป็นต้องใช้ทุนหลายพันล้านเยน นอกเหนือจากนั้นโตโยต้าเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ละครั้งที่มีการพัฒนารถยนต์ใหม่เกิดขึ้น ก็ต้องใช้เงินลงทุนด้านอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงโรงงานที่ต้องสร้างใหม่อีกนับพันล้านเยน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะล้มเหลวในการพัฒนารถยนต์ใหม่และทำให้เกิดความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ช่วงแรกข้อตกลงอนุมัติเพียงการพัฒนาเครื่องยนต์ใหม่เท่านั้น ในที่สุดก่อมีการสร้างโรงงานใหม่ขึ้นเพื่อผลิต Corolla ด้วยเงิน 30 พันล้านเยน กระบวนการผลิตในโรงงานสาขา Takaoka จึงเริ่มต้นขึ้น

นโยบายของแผนขั้นตอนกำหนดเป้าหมายสำหรับความจุเครื่องยนต์ 1000 cc (1.0 ลิตร) แรงขับเคลื่อนสูงสุดอยู่ที่ 45 แรงม้า/ 550 รอบต่อนาที ทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมากในช่วงเวลานั้น ถึงทางทีมงานจะยังขาดประสบการณ์ในด้านออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ แทนที่จะเลือก OHV (Overhead valve) แต่ในขณะที่เป็นที่รู้ดีกันว่า เครื่องระบบ OHC (Overhead Camshaft) เป็นเครื่องยนต์ที่สร้างสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพสูง ทางทีมงานจึงพยายามต่อไป แนวคิดบรรลุตามเป้าหมายซึ่งได้ผลคล้ายกับเครื่อง OHC โดยกำหนดเพลาลูกเบี้ยวให้อยู่ตำแหน่งที่สูงที่สุดของเสื้อสูบเท่าที่จะทำได้และลดก้านกระทุ้งให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามข้อมูลที่แจ้งคือ ความจุเครื่องยนต์ของคู่แข่งรถยนต์ครอบครัวไปในทางเดียวกันโดยมีขนาด 1.0 ลิตร ดังนั้นวัตถุประสงค์ของนโยบายจึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสำหรับความจุเครื่องยนต์ขนาด 1.1 ลิตรและขั้นตอนดำเนินการพัฒนา ผลที่ได้จากการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เครื่องยนต์ของโตโยต้าอยู่ในระดับที่สูงกว่าบริษัทอื่นมากเลยทีเดียว

ด้วยแผนการที่จะมีการพัฒนารถยนต์และเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายจึงมีผลทำให้เกิดความคิดเห็นตรงข้ามภายในบริษัทตามมา สำหรับ Hasegawa เขาต้องรับผิดชอบและสร้างขวัญกำลังใจให้กับวิศวกรทุกคน ซึ่งถือเป็นงานที่หนักมาก ทั้งการแก้ปัญหาต่างๆ การทดสอบรถต้นแบบที่ต้องทดสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า สองปีครึ่งหลังจากการเริ่มพัฒนาในที่สุดทีมงานก็เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และระบบกันสะเทือนที่จะเป็นระบบมาตรฐานสำหรับรถยนต์อื่นๆ อีกมากมายในอนาคตก็เสร็จสมบูรณ์

การพัฒนาความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 1 ปีก่อนที่จะเปิดตัวรถยนต์ มีการพิจารณาที่จะขยายตัวไปยังตลาดต่างประเทศ และวางแผนพัฒนาเพื่อการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา  ตามนโยบายวางแผนการออกแบบ  Hasegawa ได้รวบรวมเอกสารต่างๆ ที่สรุปแนวคิดการพัฒนา Corolla ไว้ว่า “ในอนาคต Corolla จะสามารถแข่งขันกับรถยุโรป คลาสเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศได้ และด้วยความเหนือกว่าของ Corolla มั่นใจได้ว่าทั้งสมรรถนะและความประหยัดไม่แพ้ใครแน่นอน” ช่วงขั้นตอนแรกการพัฒนาเน้นการส่งออกและเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าทีมงานวางเป้าหมายที่จะให้ Corolla เปิดตัวในตลาดใหม่ๆ และเข้าร่วมแข่งในตลาดต่างประเทศด้วย

Hasegawa สนับสนุนแนวคิดการออกแบบที่เรียกว่า “80 Point Doctrine +a” เพื่อกระตุ้นให้บรรดาวิศวกรทั้งหลายยังคงความรับผิดชอบในแต่ละส่วนของการพัฒนาไว้ Hasegawa อธิบายว่า “+a” คือสถานะ “ภาพลักษณ์แนวสปอร์ต” ของ Corolla และนำมาใช้ในการเป็นแนวทางหลักสำหรับการพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป

Corolla เปิดตัวครั้งแรกด้วยรูปลักษณ์รถซีดานที่มีเพียงสองประตูเท่านั้น นับตั้งแต่นั้นมาพัฒนากลายเป็นรถซีดาน สี่ประตู และรถแวนเพิ่มเข้ามาในสายการผลิตรวมเป็นสามประเภทสำหรับเจนเนอรชั่นแรก รวมถึงเครื่องยนต์ K ขนาด 1.1 ลิตร, เครื่องยนต์ K-B sporty ที่ติดตั้งมาพร้อมกับคาร์บูเรเตอร์คู่ และเครื่องยนต์ K-D ในช่วงหลัง มีการนำเครื่องยนต์ 3K ขนาด 1.2 ลิตร, 3K-B และ 3K-D มาแทนที่เครื่องยนต์ซีรีย์ K ขนาด 1.1 ลิตร

เครื่องยนต์ 1.1 ลิตร มีกำลัง 60PS / 6000 rpm และแรงบิดสูงสุด 8.5kg-M / 3800 รอบต่อนาที ส่วนเครื่องยนต์ 3K ขนาด 1.2 ลิตร มีกำลัง 68 ps / 6000 rpm และแรงบิดสูงสุด 9.5kg-M / 3500 รอบต่อนาที อัตราเร่งประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นในระดับปานกลางและช่วงความเร็วสูง ระบบส่งกำลังเปลี่ยนจาก 2 สปีด อัตโนมัติ ที่คันโยงเกียร์ที่ติดตั้งบนคอพวงมาลัย ย้ายมาไว้ที่พื้นแบบรถในปัจจุบันแทน และยังมีเกียร์แบบธรรมดา 4 สปีด อีกด้วย ส่วนช่วงล่าง ในด้านหน้า จะเป็นแบบ MacPherson Strut ส่วนด้านหลังจะเป็นแบบ Semi-Floating type คานแข็งแหนบ พร้อมกับระบบเบรก ในครั้งแรกเป็นดรัมเบรก ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังจากนั้นได้เปลี่ยนระบบบรกในด้านหน้าเป็นแบบดิสก์เบรก เป็นครั้งแรกสำหรับรถครอบครัว

สำหรับการออกแบบภายนอกนั้นจะเป็นไปในทิศทางแสดงภาพลักษณ์ที่สดใหม่เพื่อแสดงถึงยุคสมัยใหม่ได้เดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว ด้วยเหตุนี้ถือเป็นครั้งแรกของโตโยต้าที่รถยนต์เป็นแนวสไตล์กึ่ง Fastback ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับพื้นผิวโค้งที่แสดงให้เห็นถึง ”เสน่ห์และภาพลักษณ์ความเป็นผู้หญิง” การออกแบบได้ถูกวาดภาพออกมาแล้ว จะได้เห็นได้ว่าภาพลักษณ์ของทั้งคันรถจะเป็นแนวสไตล์สปอร์ต และแนวคิดของผู้พัฒนาด้าน “+a = sporty image” ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจน จากรายการรถยนต์ Corolla ได้รับการแนะนำในฐานะการออกแบบที่มีความสร้างสรรค์แสดงออกถึงความเรียบง่ายของค่านิยมของคนญี่ปุ่น และรูปแบบที่น่าสนใจเพิ่มความสดชื่น พร้อมทั้งให้ความรู้สึกที่หรูหรา ด้วยส่วนผสมทั้งหมดทำให้สามารถคว้าหัวใจของผู้คนทั่วไปได้ไม่ยาก…

เบาะนั่งด้านหน้า แบบแยก สไตล์สปอร์ต เลื่อนสไลด์ไปด้านหลัง ได้ 120 ม.ม. ปรับเอนนอนได้ถึง 16 ระดับ รุ่นท๊อป จะมีที่วางแขน วิทยุ กล่องคอนโซล และฮีตเตอร์ มาให้พร้อมซึ่งถือว่าหรูหราสะดวกสบายมากในยุคนั้น

Corolla รุ่นครบรอบ 40 ปี