เรื่อง: อินทรภูมิ์ แสงดี / ภาพ: ธัญญนนท์ แสงภู่
จะว่าไป ตระกูล SKYLINE นี่ถือว่ามาจากทางสาย PRINCE Motor Company ที่ผลิตรถยนต์ชั้นสูง สมรรถนะยอดเยี่ยมมาตั้งแต่เดิม ก่อนจะมา “คาบยุค” เปลี่ยนจาก PRINCE เป็น NISSAN เอาในรุ่น S50 เป็นเจเนอเรชั่นที่ 2 ซึ่งเป็น “รุ่นพี่” ของ C10 ที่ว่าเก่าแล้วก็ยังเกิดทีหลัง ซึ่งตระกูล SKYLINE นี้ ก็เป็นโมเดลที่ NISSAN ภูมิใจมากที่สุดรุ่นหนึ่ง ในส่วนของ C10 ในเมืองไทย ถ้าใครศึกษาดูก็จะรู้ว่ามีขาย “หลักๆ” เฉพาะตัว Sedan คือ 1500 Standard รหัสตัวถัง C10 ซื่อๆ และ 1800 Deluxe รหัสตัวถัง PC10 ซึ่งทั้งสองรุ่นนี้ ผลิตขึ้นมาเพื่อเป็น Family Sedan หรือ “รถเก๋งสำหรับครอบครัว” แต่ถ้าอยากจะ “เดินทางเร็ว” ก็ต้องหันไปหา 2000 GT Sedan เครื่อง L20 6 สูบ ที่ให้การตอบสนองได้ดีกว่า หรือจะสุดๆ ในตัว Sedan ก็ต้อง 2000 GT-R รหัส PGC10 (ซึ่งขอละไว้ก่อนนะ) แต่ยังไงก็ตาม SKYLINE 1500 และ 1800 Deluxe ก็ยังอยู่ใน Timeline ของประเทศไทยอยู่ยุคหนึ่งเลยทีเดียว…
Assorted of 1800 Deluxe
ย้อนกลับมาที่คันนี้ เป็นรุ่น 1800 Deluxe ซึ่งถือว่าเป็นรุ่น Top ในตระกูล C10 หน้าสั้น เป็นรถขนาดกลางที่ค่อนข้างหรูหรา สวยงาม แต่ไปในทาง “ประหยัด” (ราคาไม่สูงมากเหมือนกับพวก 2000 GT ที่เหนือขึ้นไปอีกพอสมควร ทั้งเครื่องยนต์และช่วงล่าง) สำหรับข้อมูล “ที่น่าสนใจ” ต่างๆ เกี่ยวกับรุ่นนี้ มีดังนี้
- เครื่องยนต์ Dynamic G18 ความจุ 1,815 C.C. (110.7 CI.) กระบอกสูบ 85.0 มม. ช่วงชัก 80.0 มม. กำลังอัด 8.3:1 กำลังสูงสุด 105 bhp ที่ 5,600 rpm แรงบิดสูงสุด 15.9 kg-m ที่ 3,600 rpm
- อัตราเร่งควอเตอร์ไมล์ 18.0 วินาที ความเร็วสูงสุด 165 km/h
- ความปลอดภัยของตัวถัง ผ่านมาตรฐาน MVSS ของอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่เข้มงวดระดับโลก
- อัตราทดเกียร์ธรรมดา 4 Speed เท่ากับ 3.382/2.013/1.312/1.000 ตามลำดับ ซึ่งเกียร์ 4 สปีด จะมีเฉพาะรถที่เป็น “สเป็กพวงมาลัยขวา” เท่านั้น
- มิติของรถ กว้าง 1,595 มม. ยาว 4,235 มม. สูง 1,405 มม. น้ำหนักรถเปล่า 995 กก.
- ระบบเบรก ดิสก์เบรกหน้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ส่วนรุ่น 1500 จะเป็น Option สั่งพิเศษ
- ภายใน เป็นแบบ Padded Dashboard & Switched เนื้อวัสดุเป็นแบบนิ่ม ดูหรูหรา Hi-class กว่าแบบพลาสติกแข็งธรรมดา
- ระบบไฟหน้า เป็นแบบ Dual Fuse System แยกสองวงจร เมื่อวงจรใดวงจรหนึ่งเสีย ยังมีอีกวงจรสามารถทำงานได้ ไฟหน้าก็จะติดอยู่หนึ่งข้าง ไม่ดับไปทั้งหมด
- ความสวยสดงดงาม ของ 2000 GT-R Item ที่ช่วยให้ 1800 Deluxe คันนี้มีคุณค่าขึ้นมาทันที สำหรับ C10 รุ่น “ไมเนอร์เชนจ์” จะเป็นกระจังหน้าแบบ 3 ชิ้น แยก “แว่นไฟ” ออกมาเป็นชิ้นต่างหากกับหน้ากระจัง ส่วน C10 รุ่นแรก จะเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด สำหรับหน้ากระจังคันนี้เป็นของ 2000 GT-R (KPGC10) รุ่น Hardtop ที่ออกมาหลังรุ่น Sedan (PGC10) ก็จะเป็นแยก 3 ชิ้นตามนี้
The Restore to GT-R look
แม้ว่ามันจะเป็นรุ่น “หน้าสั้น” แต่มันก็คือ C10 ที่ “พี่วสันต์ เหล่าเรืองธนา” เจ้าของเดียวกับ SUNNY KB110 คันสีเขียว ได้หลงใหลและหามาทำกันจนได้ โดยไปได้รถคันนี้มาจากต่างจังหวัด ในสภาพที่เกือบจะเป็นซาก จนต้องมา “ปั้น” กันใหม่ทั้งคัน ทั้งในด้านการทำสี และการหาอะไหล่ ทั้งการประมูลต่างๆ และทั้งของในไทยเท่าที่หาได้ ก็ได้พรรคพวกที่เล่น Retro สนิทๆ กันช่วยหา ถามว่าทำไมต้องคันนี้ เพราะมันคือ 1800 Deluxe แท้ๆ ที่เป็นรุ่น Top ในตระกูล 4 สูบ เราก็จะทำเดิมๆ ทั้งหมด แต่ภายนอกก็ทำเป็น 2000 GT-R ให้ดูดุดันหน่อย ส่วนเครื่องยนต์ก็ยังคง G18 ไว้เหมือนเดิม แต่ทำให้มันขับสนุกขึ้น โดยรวมเป็นรถ Retro ที่สามารถขับได้อย่างสบาย ห้องโดยสารออกแบบดี นั่งนุ่มดี วิ่งได้ไม่เกเร แค่นี้ก็พอใจแล้วครับ…
- อย่างที่บอกไปว่า C10 มีเสน่ห์ที่ “เส้นข้าง” จะต้องมีทรงที่สวยดั้งเดิม ถึงจะ “น่าเล่น” ซุ้มหลังต้อง “ปาดกลม” ตามทรงของ 2000 GT-R ที่ทำเผื่อใส่ “ล้อใหญ่” มาจากโรงงาน ถ้าเป็นรุ่นอื่นๆ ก็จะเป็นซุ้มหลังแบบปาดตรง ใส่ล้อใหญ่ล้นไม่ได้ ส่วน “คิ้วใต้ประตู” อันนี้หายาก และส่วนใหญ่จะหลุดหาย หรือแกะทิ้งไป เรียกว่า “จัดครบ” จริงๆ สำหรับคันนี้
สำหรับคำว่า In The Theme of G ที่ผมตั้งให้กับรถคันนี้ มาจากการที่เห็นว่ารถคันนี้ใช้เครื่อง G18 และถูกตกแต่งภายนอกเป็นรุ่น GT-R ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของรถคันนี้นั่นเอง และอีกประการ ด้วยความที่ C10 คันนี้ เป็นรุ่นไมเนอร์เชนจ์ จึงได้รับการตกแต่งเป็น 2000 GT-R Hardtop (KPGC10) ที่ออกมาทีหลัง เพื่อให้ “เข้ายุค” กัน…
SKYLINE C10 ในยุคที่มีจำหน่ายในประเทศไทย โดยบริษัท สยามกลการ จำกัด ซึ่งได้ลองสอบถามบุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัท ณ ช่วงยุคนั้น เป็น “ความทรงจำ” ว่าเป็นรถที่นำเข้ามาเพื่อเป็น “ส่วนเสริมการตลาด” เป็นรถขนาดกลางที่หรูหราและดูเป็นสปอร์ตขึ้นไปอีกระดับ ถ้าเทียบกับ BLUEBIRD ที่ได้รับความนิยมมากกว่า เหมือนกับว่าเอา SKYLINE1 มาเป็นตัว “เรียกแขก” สร้างชื่อเสียงรุ่น C10 ก็มีทำเป็นรถ TAXI บ้างประปราย พูดถึงเรื่องราวของ SKYLINE ทางสยามกลการ ก็นิยมเอามาเป็นส่วนเสริมการตลาดจนถึงรุ่น 2.0 GT-X ในรหัส BJR30 ออกจำหน่ายปี 1984 ซึ่งเป็น SKYLINE รุ่นสุดท้ายที่ขายในประเทศไทย โดยสยามกลการ…
ขอขอบคุณ : “พี่วสันต์ เหล่าเรืองธนา” เจ้าของรถ
- ไฟท้าย 2000 GT-R Hardtop มาจัดให้โหดหน่อย ถ้าเป็นไฟท้ายเดิมๆ ของรุ่น 1800 Deluxe จะเป็นก้อนสี่เหลี่ยม 3 ก้อน ซึ่งคันนี้เซ็ต Fitment ได้สวยพอดี และสามารถขับบนถนนได้จริงแบบไม่ลำบาก
Tech Spec
ภายนอก
กระจังหน้า : 2000 GT-R (KPGC10)
ไฟท้าย : 2000 GT-R (KPGC10)
ลิ้นหน้า : Japan Custom Made by Rang C10
สปอยเลอร์หลัง : 2000 GT-R (KPGC10)
ภายใน
เกจ์ : HKS
วัดรอบ : PIVOT
เบาะ : Retro Style Bucket Seat
เข็มขัด : Sabelt
โรลบาร์ : Custom Made โดย ช่างปรีชา
เครื่องยนต์
รุ่น : G18
คาร์บูเรเตอร์ : SOLEX 40 x 2
ฝาสูบ : โมดิฟาย โดย ช่างรัก บางพลี
ข้อเหวี่ยง : Balance ใหม่ โดย ช่างรัก บางพลี
ระบบส่งกำลัง
ฟลายวีล : โมดิฟาย โดย ช่างรัก บางพลี
ช่วงล่าง
โช้คอัพหน้า : TEIN
ล้อหน้า : WATANABE A-Type ขนาด 8.5 x 15 นิ้ว
หลัง : WATANABE R-Type ขนาด 9.5 x 15 นิ้ว
ยางหน้า : HANKOOK VENTUS R-S2 ขนาด 195/50R15
ยางหลัง : KUMHO ECSTA XS KU36 ขนาด 205/50R15
- พวงมาลัยวงนี้ เป็นสิ่งที่เจ้าของรถภูมิใจมาก เพราะลงทุนบินไป “หิ้ว” มาจากญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ราคากว่า 300,000 เยน หรือ “กว่าแสนบาทไทย” ไม่รักจริงก็คงไม่ลงทุนขนาดนี้ สำหรับหน้าปัดรุ่นไมเนอร์เชนจ์ จะเป็นทรงหลุมกลมแบบนี้ทั้งหมด
- คันนี้ภายในก็ถูกปรับสภาพจน “ครบ” “สวย” “น่านั่ง” และหาของที่สมบูรณ์มาใส่ ขาดแต่วิทยุอย่างเดียวเท่านั้น
- ยังคงรัก G18 ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งทำสมบูรณ์ก็ “ขับสนุก” ได้เหมือนกัน ซึ่งเครื่องบล็อกนี้จะเปลี่ยนระบบฝาสูบเป็นแบบ Cross Flow คือ พอร์9ไอดีและไอเสียอยู่คนละฝั่งเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเครื่อง L ยังเป็นแบบ Turn Flow คือ พอร์9ไอดีและไอเสียอยู่ฝั่งเดียวกัน ทำให้คาร์บูเรเตอร์อยู่เหนือท่อไอเสีย “ต้องระวังให้มาก” ถ้าคาร์บูฯ รั่ว น้ำมันลงท่อไอเสีย โอกาส “ไฟลุก” มีมาก ใครใช้เครื่องฝาสูบแบบ Turn Flow จะต้องทำ “แผ่นกั้น” ระหว่างกัน จะได้ไม่ “เสียว” และเป็นการกันความร้อนไม่ให้ขึ้นมาสู่คาร์บูฯ อีกทางหนึ่ง