- ตัวแสบยุคใหม่ไฮเทค KOENIGSEGG REGERA ที่ใช้เครื่องยนต์ CAMFREE
“รัวลิ้นได้” แบบ “ไร้แคม” !!!???
KOENIGSEGG กับ CAMFREE มี “พันห้าร้อยม้า”
งานนี้เพลียล่ะมึงเอ๊ยยย…
เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี (P’ สี่ภาค)
ชอบกันใช่มั้ย เรื่อง “แคมๆ” เนี่ย แคมใหญ่ก็ “แรงมาก” แคมเล็กก็ “แรงน้อย” เป็นธรรมดาของโลก แต่ถ้า “ไร้แคม” มันคงจะหมดความหรรษาไปหรือเปล่า ถ้าท่านคิดว่าใช่ มันก็คือใช่ ถ้าท่านคิดลึกเหมือนผม แต่ถ้าท่านอ่านให้จบ ก็จะรู้ว่า “ไม่มีแคมก็แรงมากได้” เอาละสิ แล้วเอาแคมออกไปจะเปิดปิด “ลิ้น” ที่ไม่ได้เอาไว้ “เบิร์น” กันยังไงล่ะ ???
- ซ่อนพลังผสาน Hybrid แบบ Plug-In ไว้ “พันครึ่ง” กับความเร็วปลายแหวกนรก ระดับ 400 km/h
ก็ไม่ต้องมี คือคำตอบ
แคมชาฟต์ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เปิดปิดวาล์ว สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบ 4 จังหวะ ที่ตัวมันเองจะมี “ลูกเบี้ยว” อยู่บนเพลา อีกอย่างเรียกว่า “เพลาราวลิ้น” (Cam + Shaft) มันก็จะหมุนพาลูกเบี้ยวกระด๊อกกระแด๊กไปเตะวาล์วให้เปิด พอมันหมุนผ่านตัว Lobe ไป สปริงวาล์วก็จะดีดกลับที่ ซึ่งเราได้หาแดกกับระบบแคมชาฟต์มาเป็นเวลานับร้อยปี ซึ่งก็มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ เตะเปิดปิดมันธรรมดาไป ก็ต้องพัฒนาให้มันเป็นระบบ “แปรผัน” ให้ได้ เช่น VTEC ของ HONDA, VVTL-i ของ TOYOTA, Valvetronic ของ BMW หรือ Vario Cam ของ PORSCHE ที่เพิ่มสมรรถนะให้กับเครื่องยนต์ในช่วงกว้าง แรง ทำให้ประหยัด ลดมลพิษให้ต่ำกว่าระบบพื้นๆ ทั่วไป แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป แคมชาฟต์เยอะแยะมากมาย มีระบบขับเคลื่อนตัวมันอีกมายมาก กลับกลายเป็นภาระเสียแล้ว หนทางแก้ ก็คือ “ไม่ต้องมี” หรือ Cam-Less แต่ว่ามันจะมีอะไรเงื่อนงำกว่านั้น…
- บั้นท้ายอวบอูม ทรงเสน่ห์ “น่าขยี้ๆๆๆ”
KOENIGSEGG สานฝัน CAMFREE & FREEVALVE
จริงๆ ไอ้เรื่องไร้แคมฯ นี่ ผมเคยอ่านเจอ Cam-Less Project ริเริ่มมาน่าจะมีเกือบ 20 ปี ได้ ตามที่อ่าน “เขาว่า” จะทำใส่กับเครื่องยนต์ F1 แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้ทำสักที จน KOENIGSEGG ยนตกรรมแปลกประหลาดที่ใครๆ ก็ต้องทึ่ง ที่เอาระบบ Cam-Less มาใช้ โดยตั้งชื่อใหม่ว่า CAMFREE ซึ่งแน่นอนว่า การที่เครื่องยนต์ไร้แคมฯ นั้น การเปิดปิดวาล์วจะทำได้อย่างไร แต่ก็ทำไปแล้วครับ มีรายละเอียดน่าสนใจเพียบ…
- ภายในแนวคลาสสิก แต่สุดหรูจนไม่น่าเชื่อว่าเป็น Exotic Car เกือบ 1,500 ม้า
สำหรับระบบ CAMFREE ก็จะใช้การเปิดปิดวาล์ว โดยมีส่วนประกอบหลักๆ ดังเน้…
- Rail หรือ ราง อยู่ด้านบนสุดของฝาสูบ เป็นทางเดินของระบบไฟฟ้า อีกอันเป็น “ท่อแรงดันลม” (Pressurized Air In) และ “ท่อลมไหลกลับ” (Air Out Line) รวมถึง ท่อน้ำมัน (Oil Supply Line) สำหรับระบบ “นิวแมติค” ในการเปิดปิดวาล์ว…
- Actuator เป็นชุดกลไกในการเปิดปิดวาล์ว มีทั้ง นิวแมติค (ระบบแรงดันลม) และ ไฮดรอลิค (ระบบแรงดันน้ำมัน)
- Pneumatic Spring มันก็คือ สปริงวาล์ว แต่ใช้แรงดันลมในการช่วยดันกลับ เพื่อประคองไม่ให้วาล์วลอย (Floating Valve) ในรอบสูง…
- Position Sensor เป็นเซนเซอร์ที่วัดตำแหน่งวาล์ว ว่าอยู่ตำแหน่งใด และส่ง Feed Back กลับไปที่กล่องควบคุม เพื่อจะให้คำนวณว่าควรจะเปิดปิดด้วยเวลานาน (Duration) เท่าไร…
- Timing Solenoid ทำหน้าที่กำหนด “ระยะเวลาการเปิดปิดวาล์ว” ถ้าเป็นแคมฯ ปกติ ไอ้นี่ก็เป็นตัวกำหนด “องศา” นั่นเอง…
- Lift Solenoid ทำหน้าที่กำหนด “ระยะการยกของวาล์ว” ซึ่งจะอยู่คู่กันกับ Timing Solenoid ซึ่งจะทำหน้าที่ในการเปิดปิดวาล์ว 1 ตัว…
- การวางตำแหน่งขุมพลัง ประกอบไปด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ ICE (Internal Combustion Engine) และมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยขับเคลื่อนอีก 3 ตัว แถมระบบเกียร์ที่ “ไม่มีเกียร์” อันนี้ขอศึกษาก่อนว่ากลไกเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ มันเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้การต่อกำลังเป็นไปอย่างราบลื่นไร้รอยต่อ (Seamless) และน้ำหนักเบาลง รวมถึงขนาดที่กะทัดรัดลงมาก
การทำงาน ง๊าย ง่าย ดี๊ ดียย์…
ระบบ CAMFREE บอกตรงๆ ว่าการทำงานของมันง่ายมาก ถ้าต้องการให้ “วาล์วเปิด” ระบบจะสั่งเพลงมา เฮ้ย แรงดันน้ำมันมา เฮ้ย ถูกแล้ว ผ่านทาง Oil Supply Line ส่วนอีกอันก็จะสั่ง “ลม” มาทาง Pressurized Air Line เพื่อดันให้วาล์วเปิด จะเอากี่องศา ลิฟต์เท่าไร ก็จะมี Solenoid แยกกัน ตรงนี้ข้อดีพิเศษของมัน คือ “จะเปิดองศาและลิฟต์ได้แปรผันมากกว่าระบบแคมฯ” เพราะแคมชาฟต์มันกำหนดได้ในช่วงที่สร้างมาเท่านั้น แต่อันนี้มันสามารถ Vary ได้เยอะขึ้น ซึ่งก็จะเรียกว่าระบบ FREEVALVE ไม่ใช่ไม่มีวาล์วนะครับ แต่ความหมายคือ “วาล์วเปิดได้อย่างอิสระ” ซึ่ง KOENIGSEGG ก็ได้ใช้เวลาถึง 13 ปี ในการพัฒนาระบบ CAMFREE ดูจะง่ายแต่ไม่ง่าย เรื่องความแม่นยำในรอบสูงเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาในด้านกลไกอย่างมาก ส่วนที่ได้ตามมา คือ “ลดภาระเครื่องยนต์” ทั้งในด้านน้ำหนัก ขนาด ที่ไม่ต้องมีกลไกที่ขับเคลื่อนแคมฯ แล้ว สามารถย่อขนาดเครื่องให้เล็กลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้น้ำหนักเบาลง 30 เปอร์เซ็นต์ เออ ไม่เลววุ้ย และเครื่องก็ไม่ต้องสูญเสียกำลังในระบบขับเคลื่อนแคมฯ ก็เท่ากับว่า “มันแรงขึ้น” นั่นเอง…
- ดูจากแผนภาพได้เลย
พันห้าร้อยม้า “โนเกียร์” ???
สำหรับรถที่บรรจุเครื่องยนต์ CAMFREE ก็คือรุ่น REGERA ที่เป็นเครื่องแบบ V8 Turbo 5.0 ลิตร ตัวมันเองเบ่งพลังได้ 1,100 hp แต่ถ้าพ่วงระบบ “Hybrid” ที่จะเป็นแบบบ Plug-In ซะด้วยนะ ประกอบไปด้วมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 3 ตัว ตัวแรกจะอยู่ที่ “หน้าข้อเหวี่ยง” อีก 2 ตัว จะเกาะอยู่ที่ “ข้างเฟืองท้ายด้านซ้ายและขวา” ก่อนจะส่งกำลังไปที่ล้อ งานนี้จะแหกคอกม้าออกมาได้ถึง “1,500 hp” กับ Top Speed ในระดับ 400 km/h ไอ้สิ่งที่ประหลาดกว่านั้น เจ้า REGERA มัน “ไม่มีเกียร์ว่ะครับ” หรือ Direct-Drive Transmission มันก็มีแค่ระบบ Hydraulic Coupling กับเฟืองท้ายอัตราทด 2.85 : 1 เท่านั้นเอง เรื่องของเรื่องมันเป็นงี้ ด้วยกำลังของเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ที่มีแรงบิดมาเต็มตั้งแต่รอบเดินเบา เลยทำให้ไม่ง้อเกียร์ทดกำลัง แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวแปร ก็คือ ระบบ Hydraulic Coupling ที่จะมีการส่งกำลังแบบแปรผันได้ ก็อาจจะพูดได้ว่ากึ่งๆ เกียร์ CVT แต่เรื่องนี้ขอข้อมูลชัดๆ ก่อนจะนำมาเหลากันอีกที ตอนนี้ก็ชื่นชมความโหดร้ายของรถ “โนแคม” ไปก่อนแล้วกัน…
ภาพและข้อมูลประกอบบางส่วน จาก GOOGLE
- KOENIGSEGG นับว่าเป็นผู้ที่พัฒนาเรื่องของ CAMFREE & FREEVALVE อย่างจริงจัง นอกจากจะใช้กับค่ายตัวเองแล้ว ยังได้ผลิตให้กับรถยนต์จาก “จีน” แบรนด์ QOROS อีกด้วย
- ไร้แคม มีเพียง Solenoid ในการเปิดปิดวาล์วแค่นั้นเอง ทำให้ฝาสูบเตี้ยลงกว่าเดิมอีกเยอะ
- แยกส่วนประกอบมีแค่นี้จริงๆ ครับ แลดูไม่วุ่นวายเลยใช่ไหม
- ใช้ระบบ “ลม” ในการควบคุม เพื่อความแน่นอนในการทำงานของวาล์วจริงๆ
- หน้าตาของขุมพลัง FREEVALVE ใน QOROS
- หน้าตาดี มีหอยด้วย
- Q : จะรอดไหมวะเพื่อน A : รอลุ้นละกัน
- หน้าตารถ QOROS แดน “แพนด้า” กับขุมพลัง CAMFREE & FREEVALVE Turbo
- นอกจากนี้ KOENIGSEGG ยังผลิตฝาสูบแบบ “ไร้แคม” ให้กับ SAAB ด้วยนะ โดยใช้ชื่อว่า CARGINE by KOENIGSEGG นะครับ