Be Contrast GT

Return to Retro
XO เล่ม 248 เดือน พ.ค. 2560  
เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี
ภาพ : ภูดิท แซ่ซื้อ (Photo Golfer), ธัญญนนท์ แสงภู่ (TakeSnap)

หลังจากที่ CELICA Gen 1 ได้ห่างหายจากคอลัมน์ Return to Retro ไปประมาณ 2 ปี หลังจากที่ได้นำเสนอ 1600 GTV สีเขียวเดิมๆ แม้ว่าตอนนี้กระแส CELICA ดูเงียบไปบ้าง หลังจากที่โดนกระแส RX-3 Rotary ที่มาแรงในช่วงหลังนี้ แต่จริงๆ แล้ว CELICA TA2X มีซุ่มปั้นกันอย่างต่อเนื่อง เพราะรถมันเป็น “สห” อย่าง TOYOTA ที่มียอดจำหน่ายสูง ทำให้ยังพอจะหารถได้ง่ายกว่าสปอร์ตแบรนด์อื่น อย่างสหายคู่นี้ก็ดูแตกต่างในด้านสี (อย่าดราม่านะ) ด้าน “คอนเซปต์” และ “สไตล์” แต่พอมาเข้าคู่สะเวิ้บกัน ดูแล้วมีอะไรให้ “เล่น” ดี เป็นตัวเด่นจาก Celica Retro Thailand ซึ่งในครั้งนี้ เราจะมา “ถอดรหัส” กันอีกครั้ง ว่า CELICA ในตระกูล TA2X นั้น มันแตกต่างกันอย่างไร รับรองฮาสนาน…

Various Face
เหตุที่ต้องนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง เนื่องจากรถรุ่นนี้จะมี “รุ่นย่อย” ต่างๆ เยอะกว่าชาวบ้าน บางทีดูจะ “เหมือน” แต่ก็ “ไม่ใช่” อะไหล่ใช้ด้วยกันไม่ได้เลย เปลี่ยนรุ่นก็หลายรอบ ทรวดทรงมันคาบลูกคาบดอก จนหลายคนก็ “สับสนอลหม่าน” รวมถึงตัวข้าพเจ้าเองก็ยัง “เมาหมัด” อยู่เหมือนกัน ก็เลยขอเล่าคร่าวๆ ถึงจุดแตกต่างของรถสองคันนี้ ที่แม้ว่าจะเป็น TA22 ทั้งคู่ แต่ “หน้าตาไม่เหมือนกัน” ซึ่งก็จะมีรายละเอียดที่ต่างกันไปอยู่พอสมควรทั้งสองคันนี้…

Pikachu by Spy Retro
สำหรับลำเหลืองคันนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “ปิกาจู้” ในการเล่นสีสัน จริงๆ TA22 มันก็มีสีเหลืองอยู่แล้ว พอดีทาง “คุณสปาย” ปณิธาน เฟื่องอารมย์ ซึ่งเป็นคนเล่นกับรถรุ่นนี้มานาน ตัดสินใจทำเป็น “ปิกาจู้” เพราะ “ลูกชอบ” เลยออกมาเป็นทรงนี้ คันนี้เป็น 1600 GT ปี 1972 “โฉมสอง” หรือเรียกว่าไมเนอร์เชนจ์ครั้งแรก (ยังมีรุ่นแรกกว่านี้ที่เป็น “ไฟท้ายแดงล้วน” ตัวนี้หายากเพราะรถมีน้อย) เน้นการแต่งในแบบ Racing โมดิฟายเครื่อง 2T-G DOHC แบบเต็มพิกัด ทำไส้ในรองรับความแรงเต็มระบบ ที่เด่นสุดๆ และถือเป็นของเทพของ 2T-G ก็คือ แบรนด์ KAMEARI (คามิอาริ) คันนี้ใส่ชุดเฟืองแคมชาฟต์จาก KAMEARI ที่สามารถปรับองศาแคมได้ “เขามีมาตั้งนานแล้ว” แต่ถ้าจะให้ “เทพ” สุดๆ ก็ต้องเปลี่ยนใช้ “ชุดเฟืองขับแคมชาฟต์แทนระบบโซ่” ซึ่งอาจจะมีอาการโดดข้ามร่องได้ในรอบสูงจัด ซึ่งเฟืองของ KAMEARI จะมีเอกลักษณ์ คือ “เสียง” มันจะ “แง้ดๆ” เพราะเป็นเฟืองขบ ไม่ต้องการเงียบ ผลิตมาสำหรับการแข่งขัน ภาษาช่างรุ่นเดอะจะเรียกว่า “เครื่องเฟือง” เป็นอันรู้เฟือง ส่วนของต่างๆ เช่น คาร์บูเรเตอร์ และอะไรก็ตามแต่ที่เป็น TRD คันนี้ก็ไปตามมาจาก “อาจิตต์การช่าง” ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย TRD แบบ “ตรงยุค” อย่าลืมสโลแกน “หายใจคล่อง ต้องอาจิตต์” กันล่ะ…

Up to Big Brother by Pae Yedhode
อีกคันสาย “ตี๋หล่อ” หรือ “Pae Yedhode” นิรันดร์ กมลวัฒน์ ที่ตอนแรกชอบ MUSTANG แต่ก็เห็นว่า CELICA มันดูคล้ายๆ ลองซื้อมาปั้นดู ปั้นแรกๆ ก็ท้อ ไปๆ มาๆ เริ่มหลงรัก เป็น TA22 ปี 1974 ที่ใหม่ข้ามยุคขึ้นมาอีกหน่อย ซึ่งหน้าตาจะเปลี่ยนไปจากคันเหลืองอย่างสิ้นเชิง ไฟหรี่มุมจะเป็นทรงตั้ง ฝากระโปรงจะยาวขึ้น มี Hood ดักลม ซึ่งฝรั่งเรียกว่า Flute หรือ “ฟลุต” กันชนก็เปลี่ยนทรง หน้าตาแบบนี้จะมีใช้ใน TA22 ไมเนอร์เชนจ์ครั้งสุดท้าย แลเผินๆ นึกว่า TA23 รุ่น “หน้าโหนก” ซึ่งฝากระโปรงจะมี “โหนกกลาง” ขึ้นมา แต่นี้ไม่ใช่ครับ มันแค่ “คล้าย” รายละเอียดไม่เหมือนกับ TA23 เลย ดูง่ายๆ ไฟมุมใส่กันไม่ได้ กันชน TA23 จะมีไฟเลี้ยวฝังอยู่ แต่ TA22 หน้านี้ ไฟเลี้ยวจะอยู่ใต้กันชนตามรูป คันนี้เปลี่ยนกระจังหน้าเป็นของ 1600 GT TA27 Liftback ส่วนขุมพลัง อัพเป็น 18R-G DOHC จากรุ่น 2000 GT RA20-21 เพราะต้องการกำลังที่เหนือกว่า เรียกว่าทำตามใจอยากพี่เขาล่ะครับ…

X-TRA Ordinary
สำหรับล้อที่คันสีเหลืองใส่ จะเป็นลายดอกซากุระ ถ้าเป็นล้อแท้ มาจากแบรนด์ SSR รุ่น SAKURA YAYOI (ซากุระ ยาโยอิ) เป็นล้อที่ออกแบบได้สวยมาก เอาดอกไม้ที่เป็น Iconic ของญี่ปุ่นมาออกแบบให้เป็นล้อได้ ถ้าเป็นหน้ากว้างมากๆ ประมาณ 10 นิ้ว ตอนนี้ราคาโดดไปหลักแสนต่อชุด อาจจะถึงสองแสนก็ได้ถ้าเป็น N.O.S. หรือ New Old Stock เรียกว่าเป็นล้อกระแสในกลุ่ม Retro ที่มาแรงแซง WATANABE R-TYPE ได้เลย…

ขอขอบคุณ
คุณสปาย & คุณเป้ Celica Retro Thailand
Facebook/Celica Retro Thailand
บ้านบางเขน (สถานที่ถ่ายทำ)
Facebook/บ้านบางเขน, Tel. 08-5921-6666

Tech Spec “Pikachu TA22”
ภายนอก
โป่งล้อ : TRD Genuine Part
ลิ้นหน้า : TRD Style
สปอยเลอร์หลัง : TRD Style
บังแดดหลัง : The Sun Japan
ออยล์คูลเลอร์ : EARL’S Bosozoku Style
ภายใน
วัดรอบ : PIVOT
เบาะ : TRD Full Bucket Seat
เข็มขัดนิรภัย : SCROTH
พวงมาลัย : MOMO
โรลบาร์ : Custom Made
เครื่องยนต์
รุ่น : 2T-G ประกอบโดย ช่างรัก บางพลี
วาล์ว : TRD Over Size
สปริงวาล์ว : TRD
เฟืองแคมชาฟต์ : KAMEARI
แคมชาฟต์ : TRD 288/304 องศา
ลูกสูบ : ARIAS Forged
เฮดเดอร์ : TRD Style
คาร์บูเรเตอร์ : DELLORTO Carb. 48 mm.
คอท่อไอดี : CNC Custom Made
คอยล์ : MSD
สายหัวเทียน : TRD
ระบบส่งกำลัง
เกียร์ : 3S-GE Beam 6 สปีด จาก ALTEZZA
เพลาท้าย : LEVIN/TRUENO AE86
ลิมิเต็ดสลิป : TRD
ช่วงล่าง
โช้คอัพ: TEIN AE86
ค้ำโช้คหน้า : CUSCO
บู๊ชช่วงล่าง : SUPER PRO Australia
ล้อหน้า-หลัง : ROTA SAKURA ขนาด 9 x 15 นิ้ว
ยาง : TOYO PROXES T1R ขนาด 225/50R15
เบรกหน้า : MAZDA RX-7 FC3S
เบรกหลัง : LEVIN/TRUENO AE86

Tech Spec “Yedhode TA22”
ภายนอก
ชุดพาร์ท : TRD Racing Style
ภายใน
เบาะ : COBRA Full Bucket Seat
พวงมาลัย: NARDI Classic
หัวเกียร์ : MOON
เครื่องยนต์
รุ่น : 18R-G
คาร์บูเรเตอร์ : SOLEX Standard 18R-G
สายหัวเทียน : ULTRA
ระบบส่งกำลัง
เพลาท้าย : LEVIN/TRUENO AE86
ลิมิเต็ดสลิป : TRD
ช่วงล่าง
โช้คอัพ: CUSCO AE86
ค้ำโช้คหน้า : CUSCO
ล้อหน้า-หลัง : WATANABE R-TYPE ขนาด 9.5 x 15 นิ้ว และ 10.5 x 15 นิ้ว
ยาง : HANKOOK RS2 ขนาด 225/50R15
เบรกหน้า-หลัง : LEVIN/TRUENO AE86

*เพื่อความสะดวก กรุณาดู Video ผ่าน Google Chrome