เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี / ภาพ : ภูดิท แซ่ซื้อ
กลับมาสู่รถญี่ปุ่นกันบ้าง เจ้า “สาลิกา” ยอดนิยมตลอดกาล ตัวที่ถูกขนานนามว่า Japanese Mustang คือ “รุ่นท้ายลาด” หรือ LB มาจากคำว่า Lift Back ซึ่งบางคนก็เรียก Fast Back จากรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์อันคล้ายคลึง จึงเป็น Japanese Muscle ก็ว่าได้ ในโฉมตระกูล A2 ตั้งแต่ TA22 เป็นต้นมา จะถูกปรับปรุงไปเรื่อยๆ จนถึงรุ่น RA28 ที่ถือเป็นรุ่นสุดท้ายของ Gen. 1 ก่อนจะเปลี่ยนโฉมเป็น A4 ในเวลาต่อมา สำหรับ CELICA RA28 คันนี้ เป็นรุ่น 2000 GT ที่แรงที่สุดใน Gen. 1 ด้วยขุมพลัง 18R-G ขนาด 2.0 ลิตร ฝาสูบ DOHC อันลือลั่นจาก YAMAHA ที่สร้างชื่อไว้พอสมควรในยุคที่มันโด่งดัง และมันต้องไม่หายไปตามกาลเวลา…
- ชุดโป่งที่ทางเจ้าของรถบอกว่า เป็นของบริษัท MUGEN ที่สมัยก่อนเป็นเจ้าเดียวที่ทำโป่งรถแข่งสไตล์นี้ออกมาจำหน่าย ชุดนี้เป็นของแท้ สังเกตว่า RA28 หรือ TA23 ไฟเลี้ยวจะอยู่ที่กันชนแล้ว
ข้อแตกต่างของ TA22, TA27, RA28
สำหรับ CELICA ตระกูล Gen. 1 นี้ จะมีหลากหลายรุ่นออกมา เรียกว่าสร้างความสับสนให้พอสมควร รวมถึงตัวผู้เขียนเองก็ยอมรับว่าสับสนในช่วงแรกๆ เหมือนกัน อย่าง TA22 เอง ก็จะมีหน้าทั้งหมดสองรุ่น รุ่นแรก จะเป็นไฟมุมเฉียง แต่ก็มีตัว “ไมเนอร์เชนจ์” ที่เปลี่ยนแปลงหน้าใหม่ จะเปลี่ยนเป็นแบบไฟมุมตั้งสีขาว หน้ากระจัง ฝากระโปรง แก้มหน้า จะไปเหมือนกับ TA23 “หน้าโหนก” ถ้าไม่รู้รายละเอียดก็จะนึกว่าเป็น TA23 อยู่ร่ำไป แต่จริงๆ แล้วไม่เหมือน “ไฟเลี้ยวจะอยู่ที่ใต้กันชน” เป็นทรงแหลมติดอยู่กับ “คางล่าง” ของหน้ารถ และอะไหล่ส่วนใหญ่ใส่แทนกันกับ TA23 ไม่ได้ ตัวคางล่างก็ไม่เหมือน รวมถึงตัว TA27 LB ท้ายลาด ก็จะใช้หน้าเดียวกันกับ TA22 ไมเนอร์เชนจ์อีกเช่นกัน…
ส่วนตระกูล TA23 หรือ RA28 นั้น ถ้าพูดถึงโซนหน้ารถ ก็จะเปลี่ยนแปลงใหม่อีกรอบหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายๆ TA22 ไมเนอร์เชนจ์ และ TA27 อยู่มาก ไฟมุมเป็นทรงตั้งฉากสีขาวเช่นกัน แต่ย้ายไฟเลี้ยวมาฝังไว้ที่กันชนแทน ดังนั้น กันชนจึงใช้กันไม่ได้แน่นอน ย้ายมาดูบั้นท้าย พูดถึงรุ่น LB เพียงอย่างเดียวนะครับ เทียบกันกับ TA27 แล้ว รูปลักษณ์ดูคล้ายคลึงกัน ที่แตกต่างชัดเจน คือ “ไฟท้าย” TA27 จะเป็น 5 แถวตั้ง ส่วน RA28 จะเป็น 3 แถวตั้ง แต่มีขนาดใหญ่กว่า กันชนหลัง TA27 จะมีทับทิม ส่วน RA28 ไม่มี ภายในของ TA27 กับ RA28 ก็จะต่างกันสิ้นเชิง หน้าปัดก็คนละทรงกันเลย…
- เสน่ห์ของ CELICA ตระกูล “หน้าโหนก” จะอยู่ตรงนี้ หน้าลึก ไฟตากลมสี่ดวง กระจังรังผึ้งตรงรุ่น GT ที่อุตส่าห์ไปตามหาของใหม่มาจนครบ
X-TRA ORDINARY
CELICA RA28 มีการนำไปดริฟต์รายการใหญ่ระดับ D1 Grand Prix ด้วยนะครับ ไม่ธรรมดาจริงๆ ด้วยฝีมือของ H. Itakura ทีม HDO with Watanabe Racing TY คันนี้มีพลังถึง 440 แรงม้า ลีลาการดริฟต์สุดเร้าใจ ลองไปหาชมได้เลย…
Special Thanks : “คุณธนกร โคลงฉันท์” เจ้าของรถ, “คุณสีหบุตร ชุมสาย ณ อยุธยา” ติดต่อรถคันนี้ให้ และ “คุณเจี๊ยบ J.GLAZE” คาร์แคร์ระดับ High End เอื้อเฟื้อสถานที่ถ่ายทำ โทร. 086-500-6666
- สไตล์ Muscle Fast Back อย่าง MUSTANG สร้างอิทธิพลให้กับรถญี่ปุ่น Lift Back (สองที่จะเรียกไม่เหมือนกัน) อย่าง CELICA หรือแม้กระทั่ง GALANT GTO ก็อาศัยทรงเอกลักษณ์นี้เป็นจุดขาย
TECH SPEC
ภายนอก
Body Part : MUGEN for RA28
- ไฟท้าย 3 แถวตั้ง โลโก GT 2000 แต่เรียกจริงๆ ว่า 2000 GT โลโก 5 SPEED ใต้ไฟถอยอันนี้หายาก
ภายใน
พวงมาลัย : NARDI
เบาะ : RECARO PORSCHE Edition
เครื่องยนต์
รุ่น : 18R-G
แคมชาฟต์ : TRD 280 องศา
เฮดเดอร์ : TRD Race Spec
ลูกสูบ : TRD High Compression
คาร์บูเรเตอร์ : WEBER 45 DCOE
- ครีบระบายลมอยู่ที่เสา C เอกลักษณ์ของรถท้ายลาดยุคนั้น รวมไปถึง FAIRLADY Z ด้วย จะใช้ระบายอากาศออกจากห้องโดยสาร ส่วนตัวว่าน่าจะหาล้อลายโหดๆ ลึกๆ กว่านี้สักหน่อย จะได้เข้ากับโป่งอลังการขนาดนี้
ระบบส่งกำลัง
เพลาท้าย : COROLLA AE86
ลิมิเต็ดสลิป : TRD
- หน้าปัดของ TA23 และ RA28 จะเป็นทรงนี้ คันนี้ภายในสภาพยังดีอยู่มาก อุปกรณ์ครบ สวย ไม่แตกหัก พร้อม OK Monitor ตรงคอนโซลเกียร์ ไว้เช็คสภาพต่างๆ ด้วยการกดปุ่มเดียว ไฮเทคมากในยุคนั้นช่วงล่าง
โช้คอัพหน้า-หลัง : TRD
สปริงหน้า-หลัง : TRD
ล้อหน้า-หลัง : VOLK ขนาด 8 x 15 นิ้ว และ 9 x 15 นิ้ว
ยางหน้า-หลัง : TOYO PROXES ขนาด 205/50R15 และ 225/50R15
เบรกหน้า : SKYLINE R32 GT-S
เบรกหลัง : COROLLA AE86
- ของหายาก แม้จะไม่ตรงยุคเสียทีเดียว แต่มันเป็นของ PORSCHE แล้วสีไม่โดดก็ต้องจัดไป