FORESTER # พ่อบ้านสายซิ่ง

 

PHOTO : Thanyanon Sangpoo (TakeSnap)

FORESTER # พ่อบ้านสายซิ่ง

“แรงจริงด้วยเทอร์โบคิต A MOTORSPORT”

            ถ้าพูดถึงอู่ SUBARU อันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น A MOTORSPORT ตั้งแต่ยุคอดีตที่สร้างชื่อเสียงในสนามเซอร์กิต ด้วยรถ SUBARU IMPREZA และพัฒนาความแรงต่อมาเพื่อรถบ้านสมรรถนะสูง จนยุคปัจจุบันแม้บริษัท SUBARU จะมีรถรุ่นใหม่ในสายการผลิตเพิ่มขึ้น ทาง A MOTORSPORT ก็ยังมีการพัฒนาควบคู่กันต่อไป ซึ่งจุดนี้เปรียบเสมือนการต่อยอดความแรงให้รถรุ่นต่างๆ ของค่ายได้มีทางเลือกกัน

สำหรับ SUBARU FORESTER ด้วยพื้นฐานของรถที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเน้นสมรรถนะตั้งแต่เริ่มต้น โดยในต่างประเทศจะมีรุ่น 2.0XT ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ FA20 TURBO ให้พละกำลังสูงสุดประมาณ 250 hp และถ้าเป็นตัวท็อป ความแรงที่มีมาให้จะมากถึง 276 hp ซึ่งจุดนี้ไม่มีจำหน่ายในบ้านเรา ทาง A MOTORSPORT จึงมีทางเลือกสุดเร้ามาเสนอให้ชมกัน

ต้นแบบของเราคันนี้เป็น FORESTER 2.0i ซึ่งมีพื้นฐานเครื่องยนต์แบบ N/A เหมือนกับ SUBARU XV ในจุดนี้ทำให้การโมดิฟายจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับ A MOTORSPORT เนื่องจากเคยผ่านประสบการณ์ทำ SUBARU XV มาแล้วหลายคัน อีกทั้งทางเจ้าของรถเป็นผู้ที่ชอบแต่งรถอยู่แล้ว จึงอยากนำ FORESTER 2.0i  มาทำการติดตั้งชุดเทอร์โบคิต

สำหรับคันนี้ถือว่าเป็นตัวต้นแบบสำหรับ FORESTER โดยนำมาทำระบบเฮดเดอร์และชุดท่อไอเสียใหม่ ให้รองรับกับชุดเทอร์โบคิต ซึ่งพละกำลังเมื่อทำการติดตั้งเทอร์โบคิตชุดนี้เข้าไป สามารถทำออกมาได้อยู่ประมาณ 220 แรงม้าที่ฟลายวีล ส่วนที่ล้ออยู่ประมาณ 170 แรงม้า ด้วยแรงดันเทอร์โบ 0.5บาร์ โดยยังไม่มีการทำไส้ใน ซึ่งทาง A MOTORSPORT เคยลองกันแล้วว่า  ของเดิมสามารถทนแรงดันได้ประมาณ 1 บาร์

นอกจากนี้ การโมดิฟาย FORESTER ทาง A MOTORSPORT มีให้เลือกหลายแบบ โดยสามารถเริ่มต้น STAGE1 แบบ SPORT PACKAGE ด้วยการจูนกล่อง เปลี่ยนไส้กรองอากาศ BMC และชุด HI-FLOW CAT.  ซึ่งสเต็ปเริ่มต้นนี้สามารถเพิ่มแรงม้าขึ้นมาประมาณเกือบ 10% รู้สึกได้เลยว่าขับสนุกกว่าเดิม

รู้ได้อย่างไร ว่าระบบเกียร์ CVT จะไม่มีปัญหาตามมา

ส่วนระบบเกียร์ที่เป็นแบบ CVT เมื่อมีการเพิ่มความแรง ปัญหาที่ตามมาน่าจะเกิดอาการสลิปขึ้นได้ ทาง A MOTORSPORT จึงหาแนวทางแก้ไขโดยโมดิฟายชุดคลัตช์และโซ่ภายในเกียร์ โดยตอนนี้มีให้เลือกกัน 3 STAGE ตามระดับความแรง  ใน STAGE 3 ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา ด้วยการเพิ่ม PRESSURE ของตัวกดสายพาน และทำกล่องควบคุม PRESSURE ใหม่ทั้งหมด รวมถึงชุดคลัตช์เดิมของเกียร์ CVT ตัวนี้ จากเดิมชุดผ้าคลัตช์มีแค่ 3 ชุด ตอนนี้เราทำการปรับใหม่เป็น 5 ชุด  เพื่อรองรับความแรงในระดับ 300 แรงม้า

การ REFLASH กล่องสามารถรองรับการติดตั้งชุดคิตเทอร์โบได้หรือไม่      

การ REFLASH กล่อง SUBARU FORESTER และ XV เพื่อจะให้รองรับการติดตั้งชุดคิตเทอร์โบ จะต้องมีการเข้าไปในข้อมูลของกล่องเพื่อแกะ CODE เพราะกล่องจะคิดว่าเครื่องเป็นแบบ N/A จุดนี้เราต้องเข้าไปแก้คำสั่งต่างๆให้เข้ากับเทอร์โบ ไม่ว่าจะเป็น ตารางโหลด, ตาราง LIMIT, หรือตารางทุกอย่างจะ CONVERSE ไปเผื่อเทอร์โบ เพราะรถเครื่อง N/A ที่นำมาติดตั้งเทอร์โบ เมื่อมีบูสต์มาในระดับหนึ่ง เครื่องยนต์จะไปต่อไม่ได้ ต้องทำการจ่ายน้ำมันเพิ่ม เหมือนในสมัยก่อนที่จะต้องทำการฝังหัวฉีดเสริม แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน เราสามารถเข้าไปแก้ไขที่ตารางในกล่องเดิมได้เลย ที่สำคัญ การ REFLASH จะไม่มีการตัดต่อสายไฟใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าเกิดว่าทำใน STAGE1 บูสต์ 0.4 บาร์ หัวฉีดเดิมของรถก็ยังเพียงพอสำหรับการจูนด้วยน้ำมัน E20 แต่ถ้าเป็น STAGE 3 ที่ทำการบูสต์ประมาณ 1 บาร์ ก็ต้องมีการเปลี่ยนไปใช้หัวฉีดขนาด 550 c.c. จาก SUBARU GRB ซึ่งตัวหัวฉีดเป็นสีน้ำเงิน มีการกระจายน้ำมันได้ดีกว่าตัวเก่าที่เป็นหัวฉีดสีชมพู

แล้วจะรู้ถึงความแตกต่างของการ REFLASH ได้อย่างไร

ความแตกต่างในการ REFLASH กล่อง ยกตัวอย่าง รถ FORESTER เครื่องเดิมแบบ N/A ขับยังไงความเร็วก็ตันอยู่ที่ 190 กม./ชม. แต่ถ้าใส่ชุด SPORTPACKAGE พร้อม REFLASH กล่อง ยังไงความเร็วก็เดินทะลุ 200 กม./ชม. แน่นอน ส่วนถ้าเป็นชุดคิตเทอร์โบ ความเร็วระดับ 200 กม./ชม. จะใช้เวลาเพียงแป๊บเดียวเท่านั้น

เมื่อติดตั้งเทอร์โบแล้ว จะมีปัญหาตามมาหรือไม่

ถ้าหากพูดถึงเรื่องความทนทาน รถที่ทำใน STAGE 1 ผ่านการใช้งานมาประมาณ 8 หมื่นกิโลเมตร ก็ยังไม่มีปัญหาให้เห็น แต่สิ่งที่พบก็คือเรื่องของเกียร์ CVT ที่รับความแรงไม่ค่อยได้ แต่ไม่ใช่ว่าพัง  เป็นเพียงแค่การสึกหรอเร็วกว่าปกติ แค่เพียงทำการรื้อมาเปลี่ยนผ้าคลัตช์ที่อัพเกรดให้ดีกว่าของเดิม ก็หมดปัญหา ในช่วงแรกเกียร์แบบ CVT สำหรับเราก็ถือว่าเป็นเรื่องยากพอสมควร แต่พอได้คลุกคลีมาในระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เราได้รู้จักกับเกียร์ระบบนี้มากขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดที่เหมาะสม โดย ณ วันนี้ ทาง A MOTORSPORT สามารถทำได้ 3 STAGE ถ้าบูสต์ไม่เกิน 0.4 บาร์ ก็อัพเกรดเพียงแค่ STAGE 1 แต่ถ้าบูสต์เกิน 1 บาร์ ก็อัพเกรดใน STAGE 3 ทีเดียวก็จะคุ้มค่ามากกว่า ในงบประมาณเพียงไม่กี่หมื่นบาท เปรียบได้กับการยกคลัตช์ของเกียร์ธรรมดา ข้อดีของเกียร์ CVT คือ เมื่อรถลอยลำความเร็วประมาณ180-190 กม./ชม. รอบเครื่องจะค่อนข้างต่ำไม่เกิน 3,000 รอบ/นาที

*เพื่อความสะดวก กรุณาดู Video ผ่าน Google Chrome

 

FORESTER คันนี้เป็นเพียงแค่สเต็ปต้นของชุดคิตเทอร์โบจาก A MOTRSPORT เท่านั้น เพราะมีข่าวแว่วมาว่าอีกไม่นานจะเห็นชุดใหญ่กับการเปลี่ยนหัวใจไปใช้เครื่อง 2.5 เทอร์โบ พ่อบ้านสายซิ่งโปรเจกต์ต่อไปจะอยู่ในบอดี้ไหน ต้องตามชมกันให้ได้เร็วๆ นี้ แน่นอนครับ

TECH SPEC