เรื่อง: อินทรภูมิ์ แสงดี / ภาพ: ธัญญนนท์ แสงภู่, พงศธร พรามแม่กลอง
MB & VJ Warrior
R35 Full Mod 1,122 PS !!!
R34 Brilliant under hood !!!
หลังจากชม “อู่พี่” VER TECHNICAL ก็มาถึง “อู่น้อง” คือ VJ WORKSHOP ของ “แจ๊ค” ที่สร้างสรรค์ผลงานในตระกูล RB และ SKYLINE GT-R มาอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้ “จัดหนัก” นำทีมเบิกทางด้วย R35 โมดิฟายเต็มพิกัด ขยายเป็น 4.1 ลิตร !!! ด้วยการร่วมมือกับ MB MOTORS ที่เป็นทีมงานจาก “สิงคโปร์” มาทำรถคันนี้ และเป็นการเปิดตัว MB MOTORS “ไทยแลนด์” อย่างเป็นทางการอีกด้วย ซึ่งทางเจ้าของรถ “คุณคิว” ก็บริหารงานเอง R35 คันนี้ ต้องการเห็นพิกัด “8.XXX sec.” เป็นคันแรกของเมืองไทย ซึ่ง ณ วันถ่ายทำ คันนี้ทำเวลาได้ “9.0XX วินาที” เข้าไปแล้ว กับสภาพ Street Car เดิมๆ ที่วิ่งถนนได้โดยไม่มีปัญหา นับว่าน่าสนใจอย่างมาก ส่วนอีกคันเป็น R34 ที่ดูเรียบร้อย สะอาดตา แต่แฝงไว้ด้วยความแรง ห้องเครื่องสวย ก็เป็นอีกแนวที่น่าสนใจเหมือนกัน…
- เรียบๆ ทรงเครื่อง Mine’s พอหอมปากหอมคอ แต่แฝงพลังไว้ 1,122 PS บนเวลา 8.XXX วินาที ที่หวังไว้
VR VS RB
คุยกันตามประสาผม “พี สี่ภาค” ที่จะเน้นเรื่องราวอันน่าสนใจเป็นหลัก แน่นอนครับ เมื่อเสือกับสิงห์มาเจอกัน ระหว่าง VR38DETT เสือหนุ่มมาแรง กับ RB26DETT สิงห์หนุ่มใหญ่ในตำนาน ต่างก็มี “เรื่องราว” มาเล่าให้ฟัง มันมีคุณลักษณะอันโดดเด่นทั้งสองรุ่น คุยกับ “แจ๊ค VJ” แล้ว สำหรับการโมดิฟาย VR38DETT ใน R35 คันนี้ ตอนแรกหลายคนมองว่ามันยาก เพราะ “เป็นของใหม่” ไม่เหมือน RB26DETT ที่เล่นกันจนรู้แล้ว แต่เมื่อได้ลองศึกษาดู “สรีระ” เครื่องรุ่นนี้แล้ว ก็พบว่า “ไม่ยากเลย” เนื่องจากมีพื้นฐานการออกแบบที่ยอดเยี่ยม สมกับเป็นเครื่องรุ่นใหม่ อุปกรณ์หลักๆ เช่น ปั๊มน้ำมันเครื่อง ก็ทำมาได้ดี มีขนาดใหญ่และแข็งแรง ส่วนเสื้อสูบ รู้กันว่ามีสารเคลือบแข็งมาจากโรงงาน สำหรับ “กำลัง” ย่อมได้เปรียบ RB26DETT อยู่มาก เครื่องใหญ่ แรงบิดเยอะ ยังไงก็ได้เปรียบ สำหรับการโมดิฟายขยายความจุเป็น 4.1 ลิตร ตรงนี้ทาง MB Singapore ได้จัดของและส่งสเป็กการประกอบเครื่องมาให้ทาง MB Thailand และ VJ WORKSHOP เป็นผู้ลงมือ ซึ่งข้อเหวี่ยงกับก้านสูบในเครื่องชุดนี้ เป็น Custom Made แก้ไขปัญหามาเรียบร้อยแล้ว…
- จริงๆ แล้วตอนวิ่งแข่งเป็นล้อขนาด 21 นิ้ว ที่มีเส้นผ่าoศูนย์กลางเท่ากับยางหลังพอดี ล้อนี้เป็นขอบ 18 นิ้ว ที่ใส่วิ่งถนนทั้ง 4 ล้อ แต่วันถ่ายจะใส่ Mix กับล้อหลังที่เป็นยาง Drag Slick ซึ่งล้อหน้า 18 นิ้ว จะมีเส้นผ่าoศูนย์กลางน้อยกว่ายางหลังอยู่พอควร ซึ่งถ้าวิ่งจริงๆ จะมีปัญหาเนื่องจาก “รอบของล้อหน้าและหลังหมุนไม่เท่ากัน” จะกลายเป็น “รอบล้อหน้าหมุนเร็วกว่ารอบล้อหลัง” เนื่องจากมีเส้นรอบวงที่เล็กกว่า มันดูจะ “ผิดความจริงไป” ระบบอาจจะทำงานผิดเพี้ยนไปได้ แต่อันนี้ใส่ถ่ายเฉยๆ เลยไม่เป็นไร
ข้อดีเด่นของ R35 อีกประการ ก็คือ “ระบบเกียร์” ที่เป็นไฟฟ้า ทำงานได้อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้ R35 เป็นรถที่มีอัตราเร่งที่รวดเร็วมาก วิ่งถนน วิ่งเซอร์กิตได้ดี ขับง่าย เอาเป็นว่า คนขับเพียงแค่ “มือจับพวงมาลัย กับใจถึงๆ” แค่นั้นจริงๆ ที่เหลือปล่อยให้มันทำงานเองแบบเกียร์ออโต้ แต่ข้อเสียเปรียบก็ยังมี มันไม่สามารถออกตัวแบบมี Miss Fire แบบเกียร์ธรรมดาของ RB26DETT ได้ ทำได้เพียง Launch ล็อกรอบออกตัวเพียงอย่างเดียว ให้เวลาออกตัวช่วงต้นๆ เสียเปรียบ SKYLINE GT-R (ทั้ง R32-R33-R34) แต่ R35 จะดันช่วงกลางถึงปลายตามประสาเครื่องใหญ่ อีกประการ น้ำหนักตัวรถที่มาก เลยทำให้เสียเวลาไป ก็ต้องหาทางพัฒนาให้เครื่องแรงขึ้นแทน…
- MB MOTORS Thailand กับ แจ๊ค VJ WORKSHOP ที่ร่วมกัน “จุด” รถคันนี้ขึ้นมา
MoTeC M1 Plug-in Standalone 1st in Thailand
คันนี้มีของเล่นใหม่อีกประการ คือ กล่อง ECU MoTeC M1 ที่เป็นแบบ Plug-in Standalone ที่ไม่ใช้กล่องเดิมเลย ซึ่งเป็นพัฒนาการขั้นใหม่ เนื่องจากรุ่นก่อนจะไม่ได้ผลิตมาเพื่อรองรับฟังก์ชันอื่นๆ ในรถยนต์ ถ้าเป็นรถรุ่นก่อนๆ ก็จะไม่มีปัญหาเท่าไร ถ้าหากใส่กล่อง MoTeC แล้ว มันก็คือ “รถแข่ง” ที่ไม่ต้องการฟังก์ชันการใช้งานอื่นๆ เลย อย่างถ้าใส่กับ RB26DETT ก็ง่าย ไม่มีระบบไฟฟ้าซับซ้อน แต่กับ R35 นั้น ไม่ใช่ครับ ระบบซับซ้อนกว่าเยอะเลย ถ้ายกเลิกกล่องเดิม ฟังกันหลายอย่างจะใช้ไม่ได้ ดังนั้น MoTeC จึงผลิตรุ่น M1 ออกมา กล่องรุ่นนี้แม้จะไม่ใช้กล่องเดิมเลย แต่ก็ยังมีฟังก์ชันควบคุมการทำงานของ R35 ทั้งหมดอยู่เหมือนเดิม (Full integrated with factory systems) รวมไปถึง การควบคุมระบบ Cruise Control, Knock Sensor แยกแต่ละสูบ, รองรับเครื่องยนต์ได้ถึง 12 สูบ, คุมบูสต์ได้จากตัวกล่อง โดยไม่ต้องใส่ปรับบูสต์ และ “ควบคุมการเปลี่ยนเกียร์แบบอัตโนมัติ” สามารถตั้งรอบที่ต้องการเปลี่ยนเกียร์ได้อีกด้วย ก็อย่างที่บอก คนขับมีหน้าที่แค่จับพวงมาลัย กับใจถึงๆ เหยียบคันเร่งจมเพียงอย่างเดียว นับว่าเป็นกล่องที่ทันสมัยมากสำหรับ R35 (ซึ่งกล่อง M1 ก็มีสำหรับรถรุ่นใหม่อื่นๆ อีกมาก) ส่วนการ Tuning ของคันนี้ จะเป็นทีมงาน MB Singapore ครับ…
การปรับ Traction ให้ออกตัวได้ดี
คันนี้ตอนลงสนามจะใช้ยางหน้าและหลังไม่เหมือนกัน ต่างจาก SKYLINE GT-R ที่ยางหน้าหลังต้องเท่ากัน เพราะมันใช้ระบบ ATTESSA ที่จับการฟรีของล้อหลัง ถ้าล้อหลังหมุนเร็วกว่าล้อหน้า แสดงว่าล้อกำลังฟรีทิ้ง ระบบจะส่งกำลังไปที่ล้อหน้า พอล้อหลังหยุดฟรีทิ้ง มันก็จะตัดกำลังล้อหน้า ซึ่งต้องใช้ล้อและยางที่มี “เส้นผ่าoศูนย์กลาง และเส้นรอบวงที่เท่ากันเสมอ” ถ้าต่างกัน การหมุนของล้อจะไม่เท่ากันอยู่ตลอดเวลา ทำให้ระบบขับเคลื่อนทำงานผิดพลาด แต่ของ R35 ก็จะใช้ระบบแบ่งกำลังแบบหน้า-หลัง 30:70 เลยทำให้คันนี้ใส่ยางด้านหน้าเป็น Soft แต่ข้างหลังเป็น Drag Slick ซึ่งมีความฝืดในการยึดเกาะ (Friction) ที่แตกต่างกันได้ ด้านหน้าเกาะน้อยกว่า ด้านหลังเกาะเยอะกว่า แต่ “เส้นผ่าoศูนย์กลางและเส้นรอบวงต้องเท่ากัน” เพราะยังใช้หลักการเดิมอยู่นั่นเอง…
- ใส่ตัววอร์มยางกันเลยทีเดียว ก็ดีอย่างครับ ยางจะร้อนได้ที่โดยไม่ต้องเบิร์นมากให้เปลือง และระบบส่งกำลังเสียหายไว
พูดถึงช่วงล่าง คันนี้ใช้โช้คอัพของ NITRON แบบ 3 ways ซึ่งได้รับ Comment ว่า “ดี” จากการที่ Setting ได้หลากหลายแนว แล้วแต่จะเอาไปใช้แข่งอะไร อย่างการ Setting ตอนออกตัว โช้คอัพรุ่นนี้จะสามารถปรับแยกได้ต่างหาก คันนี้จะตั้งให้ Rebound ให้ “หนืด” เพื่อรั้งไม่ให้ท้ายรถกระดกขึ้นเร็วเกินไป เมื่อท้ายรถถูกรั้งไว้ น้ำหนักก็จะกดทำให้เกิด Traction ที่ล้อหลังมากขึ้นเพื่อลดอาการฟรีทิ้งและส่าย แต่ถ้าเป็นรถเซอร์กิต ก็จะต้องตั้งอีกแบบหนึ่ง ถ้า Rebound หนืดมากไป มันก็จะคืนตัวได้ช้าเกินไปด้วย เวลาเลี้ยวแล้วรถกลับมาตรง โช้คอัพไม่คืนตัว ก็ทำให้การควบคุมไม่ดีครับ ก็ต้องหาจุดที่มันพอดีเอา…
- ล้อหลัง ALPHA ลายแปลก ใส่ยาง Drag Slick เต็มๆ เพราะระบบของ R35 จะส่งกำลังมาที่ล้อหลังถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ต้องใช้ยางที่มี Traction ดีกว่า ซึ่งล้อหน้ามีการส่งกำลังไปเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ เลยใช้แค่ยาง Soft ก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใส่ Drag Slick ให้มันเปลืองกำลังเล่น
R35 Tech Spec
ภายนอก
ชุดพาร์ท : Mine’s
กระจกมองข้าง : Craft Square
ไฟมุมท้าย : MCR
สปอยเลอร์หลัง : VARIS
ภายใน
เกจ์วัด : Defi
เบาะ : BRIDE
เข็มขัดนิรภัย : Sabelt
- เดิมๆ เบาะตัวเดียวก็พอ สำหรับ R35 ที่ฝรั่งยกย่องว่าดีไซน์ภายในเฉียบ อารมณ์ Play Station
เครื่องยนต์
รุ่น : VR38DETT
วาล์ว : BC
สปริงวาล์ว : BC
แคมชาฟท์ : JUN 272 องศา
ลูกสูบ : CP
ก้านสูบ : Carrillo Custom Made
ข้อเหวี่ยง : MB MOTORS Custom Made 4.1 L
เทอร์โบ : OWEN 3582
เวสต์เกต : TIAL
เฮดเดอร์ : GReddy
อินเตอร์คูลเลอร์ : GReddy
ท่อร่วมไอดี : GReddy
ท่ออินเตอร์ฯ : RC Turbo
หม้อพักไอเสีย : GReddy Titanium
หัวฉีด : MB MOTORS 1,200 C.C.
รางหัวฉีด : GReddy
เร็กกูเลเตอร์ : AEROMOTIVE
กรองอากาศ : K&N
หม้อน้ำ : KOYO
กล่อง ECU : MoTeC M1 Standalone For R35
- ขุมพลังดุเดือด 4.1 ลิตร ขยายเต็มพิกัด โดยการกำหนดสเป็กให้ทีมงานไทยประกอบ ก็มีการแก้จุดอ่อนหรือจุดด้อยต่างๆ ที่ในอดีตเคยมีปัญหาอยู่ สังเกตว่าต้องใช้เหล็กรัดท่ออินเตอร์ฯ ถึง 3 ตัว ต่อ 1 ท่อ เพราะใช้บูสต์มหาโหดถึง “2.9 บาร์” หรือ “44 PSI” โดยประมาณ ขนหัวลุกครับท่าน ชุดใหญ่สุด ณ ตอนนี้
ระบบส่งกำลัง
เกียร์ : Dodson Racing Full Modified Kit
คลัตช์ : Dodson
ลิมิเต็ดสลิป : ATS
ตุ๊กตาเพลากลาง : Dodson
ช่วงล่าง
โช้คอัพ : NITRON 3 ways
ชุดปรับมุมล้อหลัง : Dodson
เหล็กกันโคลง : Dodson
ล้อหน้า : VOLK TE37 ขนาด 9.5 x 18 นิ้ว (For Street)
ล้อหลัง : ALPHA ขนาด 10 x 17 นิ้ว (For Track)
ยางหน้า : MICKEY THOMPSON ขนาด 305/35R18
ยางหลัง : HOOSIER Drag Slick ขนาด 28/10/17
เจ้าของรถ R35 ขอขอบคุณ : แจ็ค VJ WORKSHOP, MB MOTORS Thailand & Singapore, บริษัท Star Packaging, SET Autopart, เพื่อนๆ ทีม COLOMBET
X-TRA Ordinary
MB MOTORS Thailand เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยได้รับการ Training และมีข้อมูลการโมดิฟายจากสาขาหลักในสิงคโปร์ ที่เชี่ยวชาญในการโมดิฟาย NISSAN GT-R R35 โดยเฉพาะ ร้านตั้งอยู่ย่านพระราม 3 ติดตามข่าวคราวใน www.facebook.com/MB motors thailand
- ทีมงาน MB MOTORS ทั้ง Thailand และ Singapore กำลัง “ง่วน” ในวัน Test Run
RB26DETT สูตรข้อเดิม (อีกที)
ก็อย่างที่ได้กล่าวไปในเล่มก่อนหน้า ว่าการโมดิฟายเครื่อง RB26DETT ในยุคนี้ ก็เล่นกับ “ข้อเหวี่ยงเดิม” ที่ระดับแรงม้า 800-900 PS ซึ่งสมัยก่อนก็ต้องคุยกันที่ “ข้อเหวี่ยงโมดิฟาย” กันเป็นแถว ซึ่งทาง VJ WORKSHOP เอง ก็ลองทำสเต็ปนี้เหมือนกัน ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นการ Balance ข้อเหวี่ยงเดิมให้สมดุลที่สุด ตอนแรกก็จะต้องประกอบเครื่อง และวัด Clearance ของ Main Bearing กับข้อเหวี่ยงแต่ละคู่ ดูว่ามันมี “ระยะคดงอ” หรือไม่ ถ้ามีจะต้อง “จัดทรง” ให้ได้ระยะสมดุลที่สุด ซึ่งไม่ใช่แค่การประกอบเครื่องแล้วหมุนด้วยมือเท่านั้น อีกประการ “จัด Clearance ตามลักษณะการใช้งาน” ซึ่งคนที่ประกอบเครื่องเป็นจะรู้ดีอยู่แล้ว จะไม่เหมือนกันในการใช้งานหรือแข่งขันแต่ละประเภทนะครับ อย่างวิ่งควอเตอร์ไมล์ หรือวิ่งบนถนนเล่นๆ เป็นระยะเวลาไม่นาน ก็จะ “จัด Clearance ห่างกว่าปกติ” เพื่อให้เครื่องยนต์หมุนได้คล่อง แต่ก็ต้องมีเรื่องของ “น้ำมันเครื่อง” ที่ต้อง “คุณภาพเลิศ” เนื่องจากตอนนี้ข้อเหวี่ยงหมุนแบบ Floating น้ำมันเครื่องต้องหนืดพอที่จะทำให้ข้อเหวี่ยงหมุนลอยแบบ “ไม่แกว่ง” และ “แรงดันไม่ตก” ก็เป็นที่รู้กันว่า น้ำมันเครื่องแบบนี้ “โคตรแพง” แต่เจ้าของรถที่โมดิฟายถึงขนาดนี้สามารถ “จ่ายได้” ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะรถก็เอาไว้ซิ่งเล่นระยะสั้นๆ อยู่แล้ว แต่บางคันอาจจะชอบวิ่งถนน ใช้งานบ่อย เน้นความทนทานด้วย ก็ต้องใช้ Clearance ที่ชิดขึ้นมาอีกหน่อย (แต่ไม่ใช่ชิดเกินไปนะ) เพื่อให้ไม่ต้องใช้น้ำมันเครื่องประเภทหนืดๆ แพงมากๆ นั่นเองครับ อันนี้เป็นสิ่งที่ทาง VJ WORKSHOP ได้บอกเราไว้…
เจ้าของรถ R34 ขอขอบคุณ : แจ็ค VJ WORKSHOP, MB MOTORS Thailand, SET Autopart, เพื่อนๆ ทีม COLOMBET และ Mr. Ohura มือจูน
- ก็ยังมีเสน่ห์เสมอ สำหรับเส้นขอบฟ้าที่ไม่ต้องการอะไรมากก็ลงตัว พูดแล้วก็พูดอีก ความจริงก็คือความจริง
R34 Tech Spec
ภายนอก
ไฟท้าย : NISMO LED
- ใช้คำว่า “ลงตัว” สีรถตัดกับสีล้อแบบเรียบๆ “กลมกลืนแต่มีจุดเด่น” ลองพิจารณาดูเอง
ภายใน
เกจ์วัด : GReddy
เรือนไมล์ : NISMO
จอ MFD : NISMO
เบาะ : RECARO GTX Carbon
ปรับบูสต์ : GReddy Profec B
- ภายในสภาพดีน่าชม ดีไซน์ของ R34 นั้น เคยอ่านของ “ฝรั่ง” เพราะ “อ่านญี่ปุ่นไม่ออก” มีการ Comment ไว้ว่า เรียบ ทันสมัย แต่ไม่โหดเท่า R32 GT-R อันเป็น “ที่สุด” ซึ่งหลายคนขัดใจกับจอ MFD ที่ไม่ใช่เกจ์วัด Analog (เข็มกระดิก) ตามแบบ “รถแรงนิยม” แต่มันก็สารพัดประโยชน์ ดังนั้น ใน R35 จึงปรับเป็นดีไซน์แบบ Analog ให้เลือกสำหรับคนชอบอารมณ์ดิบๆ ของเข็มกวาด
เครื่องยนต์
รุ่น : RB26DETT
สปริงวาล์ว : HKS
แคมชาฟท์ : TOMEI 272 องศา
ลูกสูบ : WISCO
ก้านสูบ : HKS H-Beam
แบริ่งชาฟท์ : CALICO
อ่างน้ำมันเครื่อง : GReddy
ปั๊มน้ำมันเครื่อง : HKS
เทอร์โบ : HKS T51 KAI BB
เวสต์เกต : HKS GT II
เฮดเดอร์ : ต๋อง เทอร์โบ
อินเตอร์คูลเลอร์ : GReddy
ท่อร่วมไอดี : NISMO
ท่ออินเตอร์ฯ : Titanium by RC Turbo
หม้อพักไอเสีย : AMUSE R1 Titanium
หัวฉีด : Injector Dynamic 1,000 C.C.
รางหัวฉีด : HKS
เร็กกูเลเตอร์ : HKS
กรองอากาศ : K&N
หม้อน้ำ : KOYO
คอยล์จุดระเบิด : SPLITFIRE
กล่อง ECU : HKS F-CON V PRO 3.3 by Ohura
- ห้องเครื่องโคตรงามอีกคัน ค้ำโช้ค NISMO ไทเทเนียม “สุดแพง” ราคามือสองประมูล 70,000 กว่าบาท !!! ทำไมแพง เพราะมันไม่ผลิตอีกแล้ว คนไม่รู้ก็ดูว่างานเชื่อมหยาบ แต่คนรู้ก็ดูว่ามัน “ดิบ” ได้ใจ ด้วยเกล็ดเชื่อมถี่ยิบ ไม่ได้งานง่ายแน่ๆ ส่วนแรงม้าที่มีอยู่ 810 PS กับข้อเหวี่ยงเดิมที่ไม่มีปัญหาอะไรน่ากังวล
ระบบส่งกำลัง
คลัตช์ : ORC
ลิมิเต็ดสลิป : NISMO
- ของ “คู่ควร” ที่ “ต้องมี “
- ดูเหมือนจะเดิมแต่ไม่เดิม เบาะซิ่งที่ดูหรูหรา นั่งสบาย กระชับ ผมชอบนะสำหรับรถถนน
ช่วงล่าง
โช้คอัพ : OHLINS DFV
ชุดลิ้งค์ : IKEYA FORMULA
ล้อ : VOLK RE30 ขนาด 10.5 x 18 นิ้ว
ยาง : WEST LAKE ขนาด 265/35R18
เบรก : ALCON Monoblock หน้า 6 pot หลัง 4 pot
จานเบรก : ALCON
X-TRA Ordinary
NISSAN SKYLINE R34 GT-R ก็จะมีทั้งสเป็กญี่ปุ่น 280 PS และสเป็กอังกฤษ ที่มีแรงม้าแจ้งไว้ตอนขายที่ 276 PS แต่ความเป็นจริงแล้ว รถสเป็กอังกฤษจะมีแรงม้า “จริงๆ” ประมาณ 320 PS ซึ่งข้อมูลนี้มาจากนิตยสารรถยนต์ของอังกฤษชั้นนำ แต่เท่าที่เคยเจอด้วยตัวเอง ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะได้อยู่ดูตอนที่ R34 GT-R เดิมๆ คันหนึ่ง (ตอนรถเพิ่งจำหน่ายได้ไม่นาน) ขึ้น Dyno Test ที่เมืองไทยนี่แหละ แรงม้าก็ออกมาใกล้เคียง 320 PS มาก ก็เป็นอันรู้กันว่า SKYLINE R34 GT-R ขายแบบ Over Spec ก็นับว่าเป็นผลประโยชน์ของผู้ใช้ครับ…