SAKURA GT Project By Rotary Revolution

 

Photo by ทวีวัฒน์ วิลารูป

Writer : อินทรภูมิ แสงดี

Rotary Revolution สำนักคุ้นเคยกับบล็อกโรเตอร์ที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จวบจนปัจจุบันที่ถือเป็นจุดแข็งของเขา ซึ่งในแวดวงต่างเรียกกันในฉายาว่า “พี่มะ โรตารี่” กับโปรเจ็กต์รถแข่งที่สร้างขึ้นมา เพื่อลบล้างคำว่า “สำเร็จรูป” ซึ่งไม่อาจภาคภูมิใจได้อย่างเต็มปากว่าเป็น “ฝีมือคนไทย” ประเด็นสำคัญคือ แล้วช่างไทยจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีงาน ทั้งที่ความชำนาญอยู่ในขั้นอินเตอร์ฯ ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน

SAKURA” นามของรถแข่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลบล้างคำว่า “สำเร็จรูป” แน่นอนว่าการสร้างรถแข่งทั้งคันล้วนมาจากฝีมือคนไทย แม้พื้นฐานบอดี้จะเป็น RX-7 สายเลือดเจแปน แต่การปรับแต่งทุกจุด พูดได้แบบภาคภูมิใจว่านี่คือ รถแข่ง Made in Thailand เต็มระบบ ตั้งแต่งานบอดี้คิตชุดใหญ่ที่ปรุงแต่งเพื่อสร้าง Down Force, เครื่องยนต์โมดิฟายตามสูตรสำนักเพื่อ Circuit โดยเฉพาะ รวมถึงงานเสริมโครงสร้างตัวถัง ที่มาพร้อมช่วงล่างเต็มขั้น ที่กล่าวมาก็มิอาจสาธยายได้หมด ถ้าไม่เห็นภาพ แน่นอนว่า งานสร้างใหม่ไม่อาจใช้ความไวแบบงานสูตรสำเร็จ เพราะต้องศึกษาเพื่อหาจุดที่เหมาะสม  แต่นี่คือความภาคภูมิใจที่รถแข่งฝีมือคนไทย สามารถลงไปสู้ศึกได้เช่นกัน

“พี่สิงห์ KS Racing” นักแข่งที่จะทำการควบคุมเจ้า SAKURA” ร่วมแข่งขันในรายการ TSS (Thailand Super Series) รุ่น Thailand Super car class3 วันที่ 11-13 กันยายน 2558 ซึ่งจะต้องเจอกับคู่แข่งตัวเทพทั้งหลาย อาทิ Ferrari F430 Challenge, Lancer Evo V ฯลฯ  เมื่อได้รู้ถึงที่มาของเจ้า SAKURA กันแล้ว เราไปตามติดกันต่อว่าจุดเด่นของเจ้านี่มีอะไรบ้าง

 

 

 

อยาก “เกาะ” ต้อง “แก้”

                รถคันนี้อย่างที่ Rotary Revolution (RR) ได้เล่าถึงเรื่อง “เทคนิค” ให้กับผม “พี สี่ภาค” ได้ฟัง ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย ผมจะพยายามให้คนทั่วไปอ่านแล้ว “เข้าใจได้ง่าย” ไม่ต้องกุมกบาล จุดที่สำคัญที่ SAKURA ได้แก้ไข ก็คือ “ย้ายจุดยึดช่วงล่าง เพื่อปรับปรุง Roll Center ใหม่ทั้งหมด” จากประสบการณ์ที่เคยทำ RX-7 ของ “พีท ทองเจือ” รถคันนั้นไม่ได้ย้ายจุดยึดช่วงล่าง แต่รถเตี้ยลงมาเยอะ Geometry มุมล้อเลยยังไม่สมบูรณ์สูงสุด จะมีปัญหาเรื่อง “ท้ายไวเกินไป” ขับยาก ให้ลองนึกภาพตามครับ ดู “ระนาบปีกนก” โดยปกติปลายปีกนกส่วนที่ยึดกับล้อจะต้อง “ห้อยลงเล็กน้อย” เพื่อให้ช่วงล่างมีการ Travel หรือ “ช่วงการทำงาน” ได้เยอะ ถ้ารถเตี้ยลงมากๆ แต่จุดยึดทุกอย่างยังอยู่ที่เดิม ปลายปีกนกส่วนที่ติดกับล้อจะ “เชิดขึ้น” ทำให้มุมล้อเพี้ยนไป แคมเบอร์เป็น “บวก” และมุม Travel ของช่วงล่างก็แทบจะไม่เหลือ ทำให้ช่วงล่างทำงานได้ไม่สมบูรณ์แบบ สังเกตว่ารถที่โหลดเตี้ยมากๆ แล้วไม่ได้แก้จุดยึดช่วงล่างก็จะมีปัญหาเรื่องไม่เกาะและแข็งกระด้าง เพราะช่วงล่างมันไม่อยากจะทำงาน เท่ากับว่า รถจะเกาะถนนด้วย “น้ำหนัก” ช่วงล่างทำงานไม่เต็มที่ เวลารถเกิดการ “กระดอน” จะทำให้ไม่เกาะถนน การแก้ปัญหาของคันนี้ คือ “สร้างช่วงล่างใหม่” และ “เลื่อนจุดยึดปีกนกทั้งหมดที่ตัวถังขึ้นด้านบน” ทำให้ปีกนกกลับมาสู่จุดที่ทำงานได้สมบูรณ์ ตรงนี้ก็ต้อง “พิจารณา” ดูด้วย ว่าจุดยึดที่สร้างใหม่อยู่จุดที่แข็งแรงเพียงพอหรือไม่ และต้องมีการเสริมความแข็งแรงเข้าไปอีก รวมถึงการ “ขยายฐานล้อ” (Track) ให้กว้างขึ้น ระเบิดซุ้มล้อใหม่สไตล์ SUPER GT เพราะคันนี้ต้องการให้ “เตี้ย” จริงๆ ทุกอย่างก็ต้อง “สร้างขึ้นใหม่” โดย JIT Auto Frame เจ้าเก่าที่เชี่ยวชาญเรื่องช่วงล่างรถแข่งอยู่แล้ว…

 

 

Quarter Bridge Port

เครื่อง 13B-REW ของคันนี้ จะโมดิฟายเน้น Response ไม่ได้เน้นแรงม้ามากเหมือนรถ Drag รถเซอร์กิต จะต้องมีการตอบสนองที่ “ดีต่อเนื่อง” ไม่ใช่รอรอบแล้วมาพรวดพราด ตูดปัดตูดเป๋ ทำให้ช่วง Shoot ออกจากโค้งทำได้ยากและ “โคตรช้า” อันตรายอีกต่างหาก ทาง RR จึงทำ Bride Port เพียงแค่ “1 ใน 4” ของความยาวพอร์ตปกติ ไม่ได้ยาวเต็มที่ เพราะไม่ต้องการให้รอรอบ เน้น Smooth จะมีประโยชน์มากสำหรับรถเซอร์กิต เพราะต้อง “เบรก เข้าโค้ง เร่ง” สลับกันไปอย่างนี้ตลอด มัวแต่รอรอบคงไม่ได้รับประทาน แต่อาศัย Bridge Port  นิดหน่อย เพื่อ “ช่วยดูดอากาศในรอบปลาย” ให้ช่วย Shoot เวลาทางตรง ส่วนเทอร์โบก็เป็น HKS T04Z ที่เน้น Response อยู่แล้ว เลยเป็นส่วนผสมที่เลือกใช้ในรถเซอร์กิตอย่างเหมาะสม…

 

 

เบรกต้องแน่นอน กับเครื่องโรตารี่

เครื่องโรตารี่จะมีปัญหาเรื่อง “Engine Brake ต่ำ” ซึ่งคนขับก็จะ “รู้” ว่าต้องอาศัยเบรกหนักกว่าเครื่องลูกสูบที่มี Engine Brake สูงกว่า ตอนนี้ผมจะขอพูดเฉพาะส่วนของเครื่องโรตารี่ ว่าทำไมมันถึงมี Engine Brake ต่ำ (ส่วนเรื่องของเครื่องลูกสูบ ไว้ค่อยเหลากันโอกาสต่อไป) จากการทำงานของเครื่องยนต์ที่เป็นแบบ “หมุนรอบ” ไม่ได้มีการชักขึ้นลงเหมือนลูกสูบ ทำให้จังหวะ Shift Down รอบสูงขึ้น เครื่องมันก็ยิ่งหมุนเร็วขึ้นไปอีก เรียกว่า “ไม่หน่วง” กันเลยดีกว่า ทำให้รถเครื่องยนต์โรตารี่จะต้อง “เน้นเบรก” ให้ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่จะทำได้ คนขับก็ต้อง “รู้รถ” เหมือนกัน ต้องเบรกให้เต็มที่ก่อนล้อจะล็อก คือ “ต้องแม่น” ครับ ส่วนการเปลี่ยนเกียร์ต่ำลง ก็ต้อง “แม่นรอบ” ให้อยู่ในจังหวะที่เหมาะสม ถ้าเปลี่ยนเกียร์ต่ำในขณะที่ความเร็วรถสูงเกินไป รอบก็จะสูงตาม ทำให้รถหยุดยากขึ้น ไอ้พวกนี้มันต้อง “ศึกษา” ครับ เพราะเครื่องยนต์แต่ละแบบก็นิสัยไม่เหมือนกัน…

 

 

X-TRA ORDINARY

เรื่องของเรื่อง Concept รถคันนี้ ทาง Rotary Revolution เน้นเลย คือ ทำมาให้ “ขับง่าย” และ “ควบคุมอาการได้” รวมถึง “เร็ว” ด้วย เหมาะสำหรับ “นักขับทุกคน” ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักขับระดับฝีมือสุดยอดเพียงอย่างเดียว แต่ให้นักขับที่เริ่มมีทักษะสามารถที่จะเรียนรู้และขับได้ อีกไม่นาน ก็จะ “คลอด” คันที่ 2 ออกมา เป็น Concept ประมาณนี้แหละครับ แต่จะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องติดตามกันต่อไป….

 

 

Tech Spec

ภายนอก

เครื่องยนต์

 

 

ระบบส่งกำลัง

ช่วงล่าง

 

 

ภายใน