SAVANNA RX-7… NICE RIDER!!!
ผลพวงสืบเนื่องจากการทำ Retro Car Vol.2 ที่ยกทัพลงพื้นที่ภาคตะวันออก จึงทำให้พบ “เนื้อคู่” ที่หลงเหลือ ถ้าหากจะนับคงได้ไม่ครบนิ้ว..มือ!! ณ เหตุกาณณ์ปัจจุบันถึง “เนื้อตัวดี.. ผิวบาง” สวมพาร์ท หล่อ เหลา แบบบางตา คงเอกลักษณ์สปอร์ตสูบหมุน เจนฯสุดท้าย ได้อย่างครบถ้วน และเมื่อพินิจอย่างถี่ถ้วน… บอกตามตรงว่ามันสมกับที่คุยไว้ว่า…“เนียน!!”
“ปุ๊ก” คือชื่อที่สลักลงเล่มทะเบียนอย่างถูก หลักฐานชิ้นสำคัญที่ให้สิทธิ์ขาดว่าเค้าคือผู้ครอบครองเครื่องเผาพลาญเชื้อเพลิงระดับโลก!! แต่มันก็ไม่ถึงกับร้ายกาจมากนัก ถ้ามือไม่คันทะเล่อทะล่าไปซนกับเครื่องยนต์ก็สามารถใช้งานได้ทันใจในชีวิตประจำวัน ทั่วไปเช่นคันนี้..
“FC” คือรหัสของรถเจนฯ 2 ในตระกูล RX-7 ส่วนตัวเจนฯ 1 ที่เรารู้จักกันดีที่เรียกติดปากว่า “ข้าวโพด” จะใช้รหัสตัวถัง “FB” และเจนฯ 3 สุดแสนยอดฮิตก็คือ RX-7 โฉมสุดท้ายเป็นรหัส “FD” นี่เป็นพันธุกรรมฉบับย่อของสายพันธุ์ “RX-7”
แต่เมื่อพระเอกของเราเป็นรถ “เจนฯ 2” ผมก็ขอโฟกัสที่เจนฯนี้อย่างเดียวแล้วกันครับ สำหรับ “Savanna Rx-7” เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1986 – 1992 จำแนกได้อีก 2 แบบ คือ ซีรีสย์ 4 จะเริ่มผลิตตั้งแต่ปี 1986 – 1988 มีทั้งเครื่อง NA และ TURBO ส่วนซีสีย์ 5 คือโมเดลไมเนอร์เชนจ์ จะเริ่มตั้งปี 89 – 1992 ซึ่งรายละเอียดแตกต่างมีหลายจุด แต่ถ้าเอาแค่สังเกตุง่าย ก็ดูที่ คิ้วคาดรอบคันจะมีร่องวางอยู่คนละตำแหน่ง ตัวซีรีส์ 4 ร่องจะอยู่ตรงกลางของคิ้ว ส่วนโฉมไมเนอร์เชนจ์ร่องจะอยู่ส่วนล่างของคิ้ว แต่..ที่สังเกตุง่ายสุดคือไฟท้ายครับ รุ่นไมเนอร์เชนจ์จะเป็น “ไฟโดนัท” แต่ต่างกับซีรีส์ 4 ที่เป็นไฟช่องเหลี่ยมๆ
- ซิ่งแบบเรียบๆ อาจจะเป็นเพราะโทนสีด้วยที่ดูไม่หวือ แต่…กลับหน้าค้นหา???
ทีนี้ก็ถึงเวลาดูพระเอกของเราแล้วครับ คันนี้เป็นซีรีส์ 5 ตัวสุดท้าย ปี1992 ถูกลอกคราบสีเดิมออกเปลี่ยนเป็นสีเทาค่าย BMW พร้อมกับระบุชุดพาร์ทแบบไม่อิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เลือกเฉพาะ “สิ่งที่ชอบ” ให้มาอยู่ควร อาทิ Front Cover Spoiler เป็น TBO กระจกมองเปลี่ยนเป็น Aero Vision พร้อมกับเพิ่ม Rear Wing เป็นของ Re Amemiya รุ่น Spec II (คาร์บอนไฟเบอร์)
- เครื่อง 13 B เดิมๆ หม้อน้ำลูกนึง, กล่องโมฯอีกใบ
สำหรับเครื่องยนต์เป็นรุ่นฮิตติดปาก “แอร์โฟลว์หัวจรวด” ตรงรุ่นใน Savanna Rx-7 ไม่ได้ซนอะไรมากนัก มีแค่ Micro Tech รุ่น MT 8 เอาไว้เป็นเขี้ยวเล็บติดปลายนวม พร้อมกับ ของจุกจิกนิดหน่อย รวมถึงเปลี่ยนหม้อน้ำของ KOYO เพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น ระบบเกียร์เปลี่ยนแค่ชุดคลัตช์เป็น OS TWIN PLATE พ่วง LSD แบบ 2 WAY ของ CUSCO M2
- บัคเก็ตซีท BRIDE เฉพาะคนขับ ส่วนข้างๆยังเป็นเบาะสปอร์ตของเดิมที่ติดมากับรถ
ส่วนภายในเน้นเรียบๆ เพราะถ้ามากเรื่องจะรกเปลืองสายตา เล่นเอาแต่ของหลักๆ อาทิ บัคเก็ตซีท BRIDE ปีเก่า เพื่อให้ตรงรุ่นกับรถยุค 90 ตอนนต้น พวงมาลัยใช้ ATC ก้านยก พร้อมกับเสริมโรล์บาร์ 4 จุดครึ่งคันหลังเป็นของ CUSCO มุมขวาบนแดชบอร์ดเป็นตำแน่งที่ง่ายต่อการมองเห็นจึงเป็นโลกเกชั่นเด่นในการวางวัดบูสต์เทอร์โบของ DEFI
- ไฟท้าย DONUT Check Point จุดใหญ่ของรถไมเนอร์เชนจ์ ถ้าเอารถซีรีส์ 4 มาแปลง ต้องดัดแปลงนิดหน่อย แต่ไม่ยาก
ช่วงล่างเปลี่ยนเป็น CUSCO ZERO II เสริมชุด Lower Arm Bar และ แท่นเครื่อง ของ Bee Racing แม็กเลือกของคุณภาพที่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในบ้านเราอย่าง N Sports Shop เป็น RAY รุ่น TE 37 เล่นออฟเซ็ทต่างขนาดโดยคู่หน้าเป็น 9 x 17 นิ้ว ออฟเซ็ท 22 ส่วนคู่หลังขนาดเท่ากันแต่ออฟเซ็ท 15 ยางเป็น Yokohama รุ่น Advan NEOVA ขนาด 225 – 40 R17 เท่ากันทั้ง 4 เส้น
- หน้าปัทม์ตัวเลขส้ม มันเป็นเสน่ห์ของรถยุค 80 – 90
ดูแล้วเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนชอบสปอร์ตไม่ซ้ำแบบใคร แต่มันติดอยู่เรื่องเดียวคือ “รถน้อย” แล้วหาตัว “เนียน” ได้ยากมาก ใครที่กำลังมองหาควรคำนึงจุดนี้หน่อยนะครับ เพราะถ้าจะลงทุนทั้งทีก็เอาให้มันแจ๋วสุดๆไปเลยครับ
- เทียบให้ดูชัดๆระหว่าง ไฟท้ายตัวแรกกับไมเนอร์เชนจ์
มาดูแรงม้าของ SAVANNA RX-7 ในแต่ละปีกันครับ แรงม้าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่รอบที่ใช้นั้นต่างกันไม่เกิน 500 รอบ/นาที
ปี 86-88 เครื่อง NA มี 146 แรงม้าที่ 6,500 รอบ/นาที
ปี 86-88 เครื่อง TURBO มี 182 แรงม้าที่ 6,500 รอบ/นาที
ปี 89-91 เครื่อง NA มี 160 แรงม้าที่ 7,000 รอบ/นาที
ปี 89-91 เครื่อง TURBO มี 200 แรงม้าที่ 6,500 รอบ/นาที