เรื่อง : พีระพงศ์ เอี่ยมลำเนา
ภาพ : ทัพพร ศิริชู
เรียบเรียง : McXO จากคอลั่มน์ “Souped Up” XO Mag vol.13 November 1997
เบิกฤกษ์ชื่อคอมลั่มน์ “Souped Up” ครั้งแรกหลังจากใช้ชื่อ Style Up มาตั้งแต่ยังอยู่ในนิตยสารกรังด์ปรีซ์ และ นิตยสาร XO 12 เล่มแรก เพื่อให้สมกับชื่อใหม่ที่ตรงประเด็นกับคอลั่มน์ จึงจับเอา Nissan Skyline R33 จากค่าย Noi Eleven ควบคุมการปรับจูนโดย “ดอน โมเทค” แม้คันนี้จะออกอากาศสู่สายตาแฟนๆชาว XO ตั้งแต่ปี 2540 แต่นี่ก็ถือเป็นครั้งแรกๆ ที่คนไทยนำ R33 มา “โมดิฟาย” ได้มโหระทึกจนเป็นอีกหนึ่งคันที่อยู่ในความทรงจำมาถึงยุคนี้…
Nissan Skyline GT-R R33 เครื่องยนต์ 6 สูบเรียง รหัส RB 26DET ทวินแคม 24 วาวล์ พร้อมด้วยทวินเทอร์โบ แรงม้าเดิมๆ ที่ 280 ตัว จับมาโมดิฟายด้วยชุดแต่ง HKS เกือบทั้งหมด เริ่มต้นที่เครื่องยนต์ ฝาสูบทำการเปลี่ยนไกด์วาว์ล สปริงวาว์ล ให้รองรับการทำงานในภาวะรอบสูงๆได้ .. เปลี่ยนแคมชาฟท์ HKS Step 2 ขนาด 272 องศาทั้งด้านไอดีและไอเสีย รีดรอบ Maximum RPM สูงสุดที่ 9,000 รอบ .. ลูกสูบใช้ของ Forge ขนาด 87 มม. ก้านสูบเนื้อพิเศษ เปลี่ยนแบริ่งชาฟท์ใหม่ ท้ายสุดก็ต้องเปลี่ยนปั้มน้ำมันเครื่องใหม่ ให้รองรับกับการทำงานที่ทรหดขึ้น
เทอร์โบเปลี่ยนมาใช้ HKS GT Turbine รุ่น 2540R แบบ Ball Bearing ทั้ง 2 ตัว (Twin Turbo) พร้อมด้วย Header Stanless .. ชุดท่อไอเสีย ใช้เป็นชุด Kit ของ HKS ทั้งหมด ตั้งแต่ Front Pipe , ท่อไอเสียหลังเทอร์โบ ไล่มาถึงหม้อพักแบบ Dual Drager เพื่อช่วยการระบายไอเสียให้คล่องขึ้น .. Intercooler ใช้รุ่น GT Intercooler ของ HKS ที่ใหญ่และหนากว่าของเดิม .. ฺBlow off valve ของ HKS .. หัวเทียนใช้ HKS เบอร์ F40I (ประมาณเบอร์ 8) และระบบของเหลวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Oil Cooler , น้ำมันเครื่อง , น้ำมันเกียร์และเฟืองท้าย ก็ใช้ของ HKS ทั้งหมด
ทางด้านระบบควบคุมเชื้อเพลิงและไฟฟ้า หรือเรียกง่ายๆว่ากล่อง ECU ส่วนนี้ใช้ของ Motec โดย Duty Circle ของหัวฉีดเปลี่ยนใหม่เป็นของ HKS ขนาด 680 cc. ตั้งไว้ที่ 75% .. รางหัวฉีดเป็นของ TOMEI ที่มี Pressure Regulator ของ Nismo ติดมาด้วย ปรับแรงดันไว้ที่ 45-55 Psi ทั้งนี้เครื่องตัวนี้ติดตั้งระบบ Traction Control Unit ตัวควบคุมรอบของเครื่องไม่ให้สะดุดในขณะออกตัว
Testing
หลังจากทดสอบด้วยเครื่อง VC 2000 วัดแรง G ออกมาได้ที่ 0.771 ที่ 432 MPH ตีเป็นแรงม้าได้ที่ 404 แรงม้า ซึ่งในการทดสอบนี้ใช้สภาพสนามจริง สภาพอากาศที่มีลมต้านพอสมควร ถ้าลบค่าชดเชยต่างๆ แรงม้าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 430-440 ตัว และเมื่อเริ่มต้นทดสอบจากรอบเดินเบา เข็มวัดรอบค่อยๆขึ้นไปเรื่อยๆ จาก 1,000 รอบ ถึงประมาณ 5,000 รอบ ตัวรถเริ่มมีอาการ “ดึง” จากนั้นรอบเครื่องตวัดขึ้นอย่างรวดเร็วไปแตะที่ 9,000 รอบ เมื่อเปลี่ยนเกียร์รอบก็จะตกลงไปอยู่ที่ 5,000 รอบกว่าๆ เกิดอาการ Turbo Lag เล็กน้อย พอถึง 6,000 รอบ รอบเครื่องก็ตวัดขึ้นไปที่ 9,000 รอบอย่างรวดเร็วตามเดิม เมื่อเข้าเกียร์ 3 อาการ Turbo Lag ก็น้อยลง อัตราเร่งรอบในเกียร์ต่อไปก็ตวัดขึ้นแตะ 9,000 รอบ เหมือนเดิม
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ R33 คันนี้ หลายท่านคงได้บรรยากาศถึงอารมณ์การแต่งรถในยุคนั้น และความฮิตของอู่ “Noi Eleven” ที่เรานำมาให้ท่านชมอีกครั้งในหายคิดถึงกันครับ
ขอขอบคุณ : Ray Techno Service , Project M Racing Spirits , Noi Eleven และ คุณ ดอน เชี่ยวชาญวนิชกิจ