XO AUTOSPORT
  • Home
  • XO NEWS
  • XO MAGAZINE
    • J-Zone
    • U-Zone
    • Race Zone
    • Live Zone
    • Knowledge Zone
  • VIDEO
  • XO EVENT
  • X-SELL
  • SOUPED-UP
  • CONTACT
No Result
View All Result
XO - AUTOSPORT : THAILAND TUNING CARS MAGAZINE
  • Home
  • XO NEWS
  • XO MAGAZINE
    • J-Zone
    • U-Zone
    • Race Zone
    • Live Zone
    • Knowledge Zone
  • VIDEO
  • XO EVENT
  • X-SELL
  • SOUPED-UP
  • CONTACT
No Result
View All Result
XO - AUTOSPORT : THAILAND TUNING CARS MAGAZINE
No Result
View All Result
Home XO MAGAZINE xo knowledge

Wheel Offset Explain – ว่าด้วยเรื่อง “อ๊อฟเซ็ต” เรื่องเบาๆ แต่เข้าใจหรือยังจ๊ะ

xo team by xo team
2018-05-08
in xo knowledge
0
Share on FacebookShare on Twitter

 

คุยกันเรื่องล้อ ก็ไม่พ้นคำว่า “ออฟเซ็ต” หรือ Offset คำพูดคล่องปาก แต่ก็แฝงไปด้วย ความเข้าใจที่ทั้งถูกต้องและคลาดเคลื่อน ดังนั้น บทความว่า “Offset คืออะไร” เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ ไม่พล่ามมากนะ ใส่เลยละกัน…

ออฟเซ็ต คืออะไร ???

                คำว่า Offset ถ้าแปลโดดๆ ก็จะหมายควาย เอ๊ย หมายความว่า “ระยะการเยื้อง” ถ้าใช้ในล้อ ก็จะหมายถึง “ระยะเยื้องศูนย์ของหน้าแปลนดุมล้อด้านหลังส่วนที่ยึดติดกับชุดดุมเบรกกับจุดกึ่งกลางของหน้ากว้างกระทะล้อ” ดูรูปประกอบแล้วจะเข้าใจง่ายขึ้น พูดกันภาษาบ้านๆ “Offset  จะมีหน้าที่กำหนดตำแหน่งการยื่นและหุบของล้อ” ซึ่งจะมีตัวแปรหลายอย่างครับ เช่น ระยะความกว้างของช่วงล่าง ระยะซุ้มล้อ ระยะห่างระหว่างขอบล้อด้านในกับแกนโช้คอัพ ฯลฯ ตรงนี้รถแต่ละคัน จะมี Offset เป็นตัวกำหนดว่า “ให้ล้ออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม” ไม่ติดด้านในและด้านซุ้มล้อตัวถังรถ โดยออฟเซ็ตก็จะมีการกำหนดเป็น ศูนย์, บวก, ลบ เดี๋ยวจะเหลาให้ฟังต่อไปครับ…

01

 

  • ภาพแนวตัดด้านข้างของกระทะล้อ ขวามือจะเป็นด้านนอกของล้อ (Outer Side) และจะมีเส้นแบ่งระยะกึ่งกลางของหน้ากว้างล้อ (Center Line) ซ้ายสุด คือ ออฟเซ็ตลบ สังเกตว่าดุมล้อด้านในจะ “เขยิบเข้าไปด้านใน” ตามระยะเส้นประที่สอง สมมติว่าถอยไป 10 มม. ก็เท่ากับ “ออฟเซ็ต -10” พอใส่แล้วล้อจะยื่นออกมาด้านนอกมาก ส่วนรูปกลาง คือ ออฟเซ็ตศูนย์ อันนี้ดุมล้อด้านในจะอยู่กึ่งกลางพอดี ไม่เขยิบไปไหน ส่วนรูปขวาสุด คือ ออฟเซ็ตบวก ดุมล้อด้านในจะ “เขยิบออกมาด้านนอก” (อย่าเพิ่งงงครับ) สมมติว่าเถิบออกจาก Center Line ออกมา 20 มม. ก็เท่ากับ “ออฟเซ็ต +20” นั่นเอง พอใส่เข้าไปแล้ว ล้อจะหุบเข้าไปด้านในเยอะกว่า ก็อยู่ที่รถว่าออกแบบมาให้ใช้ออฟเซ็ตล้อขนาดไหน แต่ตอนนี้ส่วนใหญ่ก็เป็น + เยอะ แล้วครับ

 

ดูออฟเซ็ตตรงไหน

                สำหรับการดูออฟเซ็ตล้อนั้น “ง่ายมากกก” เนื่องจากจะมีการปั๊มหรือหล่อค่าไว้ที่ “ด้านหลังล้อ” เจอแถวๆ หลังก้านล้อ และหลังดุมล้อ เป็นส่วนมาก หรือบางทีก็จะอยู่ที่ “กลางดุมล้อ” สำหรับล้อบางยี่ห้อที่เป็น “ดุมหลุม” และมีฝาปิด แล้วแต่การดีไซน์ คุณสังเกตอักษร E.T. (บ่แม่นเพื่อนต่างด้าวเด้อครับ) แล้วต่อด้วยตัวเลข พร้อมเครื่องหมายบวกหรือลบ นั่นเป็นการแจ้งว่าล้อนี้มีออฟเซ็ตอยู่ที่เท่าไร…

02

  • พวกล้อลึก หรือ Deep Dish ออฟเซ็ตลบเยอะๆ มันจะยื่นออกมามาก ดูสวยสไตล์ Retro หรือ Flush แต่ก็ต้องพิจารณาดีๆ ว่ามันยื่นออกมามากจนติดซุ้มล้อหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่ “ไม่แคร์” เพราะลองจะใส่ล้อพวกนี้ก็ต้องตัดต่อตัวถัง ทำ Wide Body หรือ Wide Fender กันอยู่แล้ว

 

ออฟเซ็ตบวก

                ภาษาฝรั่งว่า Positive Offset คือ “ระยะดุมล้อที่เคลื่อนที่ไปทางด้านนอก” อย่าสับสนนะครับ ผมพูดถึง “ดุมล้อ” เท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ระยะยื่นของขอบล้อนะครับ สำหรับออฟเซ็ตบวก แต่ก่อนจะนิยมใช้กับ “รถขับหน้า” เป็นหลัก เนื่องจากต้องดีไซน์ช่วงล่างหน้าให้กว้างขึ้น เพราะมีระบบขับเคลื่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันจะนิยมใช้กันมากทั้งรถขับหน้าและหลัง เนื่องจากการดีไซน์ช่วงล่างของรถสมัยใหม่นั้นจะกว้างกว่ารถสมัยก่อนอยู่เยอะ ตอนนี้ออฟเซ็ต +60 ก็ยังมีให้เห็นกัน ข้อดีของล้อออฟเซ็ตบวก ก็คือ “เมื่อเกิดยางระเบิด หรือตกหลุมแรงๆ จะลดอาการ Bump Steer” รถจะไม่ฉกหรือเลี้ยวกะทันหันจนเกิดอันตราย ถ้าใครได้อ่านคอลัมน์ Knowledge เล่มก่อนๆ ก็จะรู้ว่าทำไม ก็ขอไม่เล่าย้อนแล้วกัน เนื่องจากพื้นที่น้อยครับ สำหรับข้อควรระวัง หากใช้ “ออฟเซ็ตเป็นค่าบวกมากไป” ล้อจะยิ่ง “หุบ” เข้าด้านใน อาจจะติดช่วงล่าง และดูไม่เต็มซุ้ม ส่วนถ้าเป็นค่าบวกน้อยเกินไป ล้อจะยิ่ง “ยื่น” ออกมาด้านนอก จะทำให้ติดซุ้มล้อได้ครับ…

ออฟเซ็ตลบ

                ภาษาฝรั่งว่า Negative Offset คือ “ระยะดุมล้อที่เยื้องเข้าด้านใน” ล้อออฟเซ็ตลบจะเป็นล้อที่เหล่า Retro นิยมเหลือเกิน เพราะ “เบ้าลึก ขอบยื่น” ตามยุคสมัย สาเหตุที่ต้องมีล้อออฟเซ็ตลบ เนื่องจากรถ Retro ส่วนมากจะมีฐานล้อแคบ โดยเฉพาะรถเล็กจะแคบมาก การเลี้ยวโค้งไม่ดีและล้อสมัยนั้นก็เล็กๆ บางๆ เพราะกำลังเครื่องน้อย พอนำมาโมดิฟายหรือลงแข่ง ก็ต้องเปลี่ยนล้อกว้าง ยางโต เพื่อให้เกาะถนนในความเร็วสูงดีขึ้น และผลิตล้อออฟเซ็ตลบ ให้ล้อมัน “ยื่นออกมาด้านนอก” เพื่อหลบช่วงล่าง และเป็นการ “เพิ่มความกว้างฐานล้อ” ให้รถมีการทรงตัวดีขึ้น แต่ก็ต้อง “ผ่าซุ้มล้อ” และ “ใส่โป่งล้อใหญ่” เพื่อคลุมล้อที่ยื่นออกมามากกว่าระยะเดิมของตัวถัง ก็เป็นแฟชั่นของรถซิ่ง Retro นั่นเอง สำหรับข้อเสียของล้อออฟเซ็ตลบ ก็จะเป็นทิศทางตรงกันข้าม คือ “เกิดอาการ Bump Steer ง่าย” ไม่ว่าจะตกหลุม หรือยางระเบิด รถจะเลี้ยวเอง หรือ “ฉกออกข้างนอก” ยิ่งล้อออฟเซ็ตลบมากๆ ก็ยิ่งออกอาการรุนแรง เหมือนคานดีดคานงัดนั่นแหละครับ เมื่อจุดรับแรงตรงที่หน้ายางสัมผัสพื้น ลากเส้นตรงขึ้นมาแล้ว มันอยู่ไกลจากจุดรับแรง (ก็คือดุมล้อ) มันจะยิ่งสะบัดแรงครับ ตามนั้น…

ออฟเซ็ตศูนย์

หรือ Zero Offset จริงๆ แล้วจะเรียกว่า “ไม่มีออฟเซ็ต” ก็ได้ เพราะมันไม่มีระยะเยื้องไงครับ กล่าวคือ “ระยะดุมล้อที่เท่ากับกึ่งกลางของกระทะล้อ” ก็ยังเป็นข้อนิยมของรถ Retro อยู่ดี เพราะล้อจะยื่นออกมาอยู่พอสมควร ส่วนการเกิด Bump Steer ก็ยังมีอยู่ แต่น้อยกว่าออฟเซ็ตลบ แต่ก็มากกว่าออฟเซ็ตบวกครับ…

03

 

  • ล้อสมัยใหม่หลายรุ่นก็นิยมสไตล์ Deep Dish อยู่ เพราะมันได้โชว์ขอบลึกสวยโหด แต่มันเป็นล้อออฟเซ็ตบวกครับ ด้วยการดีไซน์ “ปลายก้านโค้งหลบใน” เพื่อให้มีเนื้อที่ขอบล้อเยอะ แต่ดุมล้อตรงกลางแอ่นออกครับ

 

ออฟยื่น ออฟลึก ออฟน้อย ออฟมาก ???

                อันนี้เป็นข้อถกเถียงกันมากมาย และถกเถียงกันผิดๆ อีกมายมาก จาก “ภาษาพูด” ที่นิยมกัน หลายคนมีอาการสับสนครับ ผมจะยกตัวอย่างให้คุณไม่สับสน จะได้เข้าใจใน “ศัพท์สากล” ว่าไอ้ที่เรียกกัน มันคืออะไรกันแน่ อันดับแรก “ออฟยื่น” ก็จะเป็นลักษณะล้อที่มีขอบยื่นออกมาเยอะๆ ก็คือพวก “ออฟเซ็ตบวกน้อยๆ ออฟเซ็ตศูนย์ ออฟเซ็ตลบ” นั่นเอง ต่อมา “ออฟลึก” ลักษณะเดียวกันแหละครับ แต่มองต่างมุม คือ มองว่าล้อมีความลึกเข้าไป ขอบมันก็ยื่นออกมาเยอะ ก็เหมือนกันครับ แล้วแต่ใครจะเรียกขานกัน ไอ้สองอันนี้ผมว่าไม่ค่อยสับสนหรอกครับ แต่ไอ้สองอันต่อไปนี้แหละ ที่สับสนกันโคตรๆ ลองอ่านดู…

สำหรับ “ออฟน้อย” อันนี้คนจะมองว่าเป็นล้อที่มี “ขอบยื่นน้อย” หรือแทบจะไม่ยื่นเลยก็ตาม คนจะยึดถือเอาที่ขอบล้อเป็นหลัก แต่ความเป็นจริงแล้ว ไอ้ล้อออฟน้อยนี่มันก็คือ “ออฟเซ็ตบวก” นั่นเอง ยิ่งค่าบวกเยอะ ดุมกลางก็ยิ่งยื่นออกมาด้านนอกเยอะตาม ลองเอาไปใส่รถรุ่นเก่าดูสิครับ รับรองยัดแล้วติดในเลย แต่รถรุ่นใหม่ไม่มีปัญหา เพราะช่วงล่างออกแบบมามีความกว้างเยอะ เลยใส่แล้วไม่หุบ เอ้า สำหรับ “ออฟเยอะ” อันนี้คนจะมองว่าเป็นล้อ “ขอบยื่นเยอะ” จริงๆ แล้ว มันก็คือล้อ “ออฟเซ็ตบวกน้อย ศูนย์ หรือลบ” นั่นเอง ก็ขอให้เข้าใจครับ ว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร…

04

  • เราคงไม่สามารถหาล้อที่ออฟเซ็ตพอดีเป๊ะกับรถเราได้ทุกกรณี สิ่งที่ช่วยเราได้ คือ Spacer หรือ Shim ที่มีความหนาต่างๆ กัน เพื่อรองให้ล้อยื่นออกมาได้พอดีกับแนวตัวถังที่เราต้องการ แต่เลือก “ของดี” ไว้นะครับ มันจะมีน้ำหนักเบา แข็งแรง ปลอดสนิม  

 

การพิจารณาออฟเซ็ตล้อที่เหมาะสม

บอกก่อนว่า “ไม่มีอะไรสูตรตายตัวสำหรับการเลือกออฟเซ็ต” มันอยู่ที่ความชอบ และการจัด Fitment ของรถแต่ละคัน แต่มีหลักแบบรู้กันอยู่ อย่างรถยอดนิยมขนาด Sub Compact หรือ ECO ทั้งหลาย ออฟเซ็ตเดิมอยู่ประมาณ +38 เป็นพื้นฐาน แฟชั่นที่นิยม คือ ใส่ล้อ 8 x15 นิ้ว เพื่อให้ดูเต็มๆ ล้นๆ ยางดึงๆ หน่อย ออฟเซ็ตล้อก็ต้องเปลี่ยนไปเป็น +25 โดยเฉลี่ย แต่ทั้งนี้ต้อง “เปลี่ยนช่วงล่างซิ่ง” ด้วยนะครับ เพื่อไม่ให้รถยุบลงมาจนล้อติด แล้วก็มีการ “ปรับมุมแคมเบอร์ลบ” ช่วยตามความเป็นจริง ก็แล้วแต่แนวทางที่ต้องการครับ..

 

Tags: Offsetshort strokeWheel Offset

Related Posts

CIVIC EG 3 – Door “DRIVE YOU CITY LIFE” 1992 Grand Opening !!
xo knowledge

CIVIC EG 3 – Door “DRIVE YOU CITY LIFE” 1992 Grand Opening !!

Post to the past “ตำนานรถเก่าเราคิดถึงเธอ”  CIVIC EG 3 – Door “DRIVE YOU CITY LIFE”  เปิดโลกแห่งความมันส์ของลัทธิ H   ย้อนอดีตวัยหวานชมภาพตอนเปิดตัว  เรื่อง...

by xo team
2020-11-26
5 ข้อ เจาะประเด็น Hyper Car “ร้อยล้าน” กับ KOENIGSEGG GEMERA
xo knowledge

5 ข้อ เจาะประเด็น Hyper Car “ร้อยล้าน” กับ KOENIGSEGG GEMERA

เศรษฐีไทยมีอะไรก็ได้ !!!  5 ข้อเจาะประเด็น Hyper Car “ร้อยล้าน” กับ KOENIGSEGG GEMERA  เหตุใด ??? “ทำไมแพง” !!!  เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี ภาพและข้อมูล...

by xo team
2020-11-01
ย้อนอดีต “ล้อสิ้นคิด” คืนชีพ BBS SUPER RS !!!  By BBS Thailand
xo knowledge

ย้อนอดีต “ล้อสิ้นคิด” คืนชีพ BBS SUPER RS !!! By BBS Thailand

  ย้อนอดีต “ล้อสิ้นคิด” คืนชีพ BBS SUPER RS !!! By BBS Thailand เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี ข้อมูลและภาพ : BBS Thailand,...

by xo team
2020-08-25
เปิดตำนาน “จตุรเทพช่วงสั้น” รวมคัมภีร์ “รถกระบะสี่ขอ” แท้ไม่แท้ แฉกันจะจะ
xo knowledge

เปิดตำนาน “จตุรเทพช่วงสั้น” รวมคัมภีร์ “รถกระบะสี่ขอ” แท้ไม่แท้ แฉกันจะจะ

  เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี ภาพ : ธัญญนนท์ แสงภู่ เปิดตำนาน “จตุรเทพช่วงสั้น” รวมคัมภีร์ “รถกระบะสี่ขอ” แท้ไม่แท้ แฉกันจะจะ สำหรับเรื่องราวของ “กระบะ” นั้น ในสมัยก่อนเราก็ไม่ใคร่สนใจ...

by xo team
2020-08-04
Next Post
Club XO : “Champ” 300_Garage Life

Club XO : "Champ" 300_Garage Life

No Result
View All Result
  • Home
  • XO NEWS
  • XO MAGAZINE
    • J-Zone
    • U-Zone
    • Race Zone
    • Live Zone
    • Knowledge Zone
  • VIDEO
  • XO EVENT
  • X-SELL
  • SOUPED-UP
  • CONTACT

© 2021 XO AUTOSPORT Thailand's Auto Tuning Culture Media

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Reject Allow
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save
Privacy Preferences
Name
dpdpa_consent
Category
คุกกี้ที่จำเป็น
Host
.xo-autosport.grandprix.co.th
Duration
10 ปี
Description
เพื่อสำหรับเก็บความยินยอมของ User
Name
_ga
Category
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
Host
.xo-autosport.grandprix.co.th
Duration
1 ปี
Description
ใช้สำหรับเก็บนับจำนวนผู้เข้าชมไปยัง Google Analytic