“รถบ้านยางบาง” จัดจบโดย “ZARD AOM Driver & Service”

 

เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี / ภาพ : ธัญญนนท์ แสงภู่

รถบ้านยางบางเสน่ห์ที่ย้อนกลับมาแรงอีกครั้ง

เจาะลึกความหมาย โมดิฟายอะไรถึงแรง

จัดจบโดย “ZARD AOM Driver & Service”

ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่ากระแสของรถบ้านยางบางนั้น เพิ่มทวีความรุนแรงแบบไม่น่าเชื่อจริงๆ อาจจะเป็นเพราะยังบังคับความเป็นลุครถบ้านอยู่ ทำให้ถูกควบคุมด้วยกติกา ต้นทุนจึงไม่ได้สูงมากเหมือนระดับ PRO ทั้งหลาย ที่มันไม่มีความเป็นรถบ้านอยู่อีกต่อไป นิยมมากจนกระทั่งรายการของเรา SOUPED UP THAILAND RECORDS 2019 ต้องเพิ่มและบรรจุรุ่นนี้ไว้ในปฏิทินการแข่งขัน โดยใช้ชื่อรุ่นว่า LENSO STREET TRUCK RADIAL by FLEX TURBO ออกทางสากล คำว่า STREET TRUCK ก็คือรถกระบะวิ่งถนนนั่นเอง เป็นการแข่งแบบ Battle สไตล์ที่นักแข่งคุ้นเคย อะไรที่ทำให้รถบ้านยางบางได้รับความนิยม ที่มาที่ไป ที่สำคัญทำอย่างไรถึงจะแรงและใช้งบประมาณเท่าไรเรามาเจาะลึกกัน โดยทางอู่ “ZARD AOM Driver & Service” ที่มีดีกรีจาก SOUPED UP จะมาแถลงไขให้เรารับทราบกันครับ

เกิด คงอยู่ หายไป กลับมา 

ดูแล้วมันก็เป็นวัฏจักรแห่งชีวิตจริงๆ นะครับ ย้อนไปประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว ในช่วงที่กระบะคอมมอนเรลเริ่มบูมก็จะเริ่มต้นด้วยรถถนนนี่ใช้งานกันทั่วๆ ไป ตอนนั้นก็กล่องยกดันและเทอร์โบ ISUZU 3000” เป็นสูตรสำเร็จของรถวิ่งถนน ซิ่งบ้างบางอารมณ์ พอไปซิ่งบนถนนก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ก็เลยมีการจัดแข่งขันขึ้น ก็คือรถบ้านยางบางเพราะรถกระบะก็มักจะแต่งกันทรงนี้อยู่แล้ว โหลดเตี้ย ยางบาง ถ้าล้อ 17 นิ้ว ก็ซีรีส์ 40 ถ้าสุดๆ ล้อ 18 นิ้ว ก็ซีรีส์ 35 ประมาณนี้ แล้วแต่คนชอบ ส่วนใหญ่ก็บังคับที่ซีรีส์ยางต้องไม่เกิน 45 เลยเป็นที่มาของชื่อรุ่นนี้

ในยุคแรกๆ เท่าที่พอจำได้ จะเกิดจากสนามฝั่งนาเกลือก่อน เพราะชานเมืองคนใช้รถกระบะเยอะ เรียกว่าเป็นจุดตัดสายสะดืออู่ดีเซลดังๆ ในสมัยนี้กันเลยละครับ ช่วงนั้นรถบ้านพวกนี้ก็จะเป็นกลุ่มพวก “Car club” หรือ “Club race” อะไรก็ว่ากันไป ที่เอารถที่ใช้งานทั่วไปมาแต่งกันนิดๆ หน่อยๆ แล้วก็มาแข่งกันในสนาม ส่วนใหญ่ก็ Battle กัน มีตั้งแต่ Bracket ที่ใครๆ ก็ลงแข่งได้ รถแรงมากก็ไม่สน ขอแม่นเวลาเป็นหลัก แต่ถ้าพวกสายโหดก็ต้องโบใหญ่ เกียร์บ้านยาง Drag Slick ที่ยังเป็น Stock body & Stock chassis คงจำกันได้ หลังจากนั้นก็กำเนิดโบใหญ่ เกียร์ซิ่งหรือ PRO TRUCK ใน Souped up แต่นั่นมันคือรถแข่งไปแล้ว

ย้อนกลับมา พวกรถบ้านยางบาง ตอนนั้นก็เริ่มมีการเปิดรุ่นแข่งขันกัน กติกาก็คือ รถบ้านจริงๆ เช่น มีแอร์ ใช้งานได้ปกติ อุปกรณ์ในรถต้องครบ มีพรม เบาะหน้าคู่ มีวิทยุ ฯลฯ พูดง่ายๆ ห้ามล้อหน้าเดฟ ยางหลังต้องเป็น Radial ทั่วไป กำหนด Tread wear ต้อง 2XX ขึ้นไป ห้ามยางซอฟต์ ฯลฯ ก็แล้วแต่ผู้จัดจะกำหนด แต่ภาพรวมก็ประมาณนี้ ส่วนเครื่องยนต์ ตอนนั้นก็ไม่ค่อยมีของโมดิฟายสักเท่าไร หลักๆ ก็ขยายความจุ ใส่ข้อเหวี่ยง 3,000 ซีซี. ลูกสูบโอเวอร์ไซซ์ 0.75 มม. หรือลูกเจ็ดห้าฝาก็เดิม แคมก็ยังไม่มี สปริงวาล์วก็เอาของมอไซค์มาซ้อนกัน ก็ทำกันตามที่มี เป็นสูตรชาวบ้านกันจริงๆ ยุคนั้นวิ่งกัน “12 ต้นก็โคตรหล่อแล้ว

ถ้าถามถึงความนิยมในยุคนั้น ก็ถือว่าใช้ได้มีกลุ่มเล่นกันเยอะ แต่คนดูอาจจะไม่ค่อยอินมาก เพราะส่วนมากจ้องแต่จะดูรุ่นใหญ่พวก โบใหญ่ เกียร์บ้าน ที่สมัยนั้นฮิตกันมากๆ เพราะรถเฟรมดีเซลยังไม่มี ถ้าเป็นฝั่งนาเกลือที่มาแรงก็เบิร์ด หลักห้าที่หากินอยู่ เพราะสนามใกล้บ้านแล้วก็มีกลุ่ม หมูหยอง + เอ้ แม่กลอง (เอ้ ยางเปอร์เซ็นต์ เดิม) + สาดอ๋อม (น้องชายเอ้ แม่กลอง) ถ้าดังๆ หน่อย ก็บอยฟิล์มเจ้าของ MRX บัดนี้ และเจ้าดังอื่นๆ อีกเยอะ

หลังจากนั้น กระแสรถบ้านยางบางก็เงียบๆ ไป เพราะคนที่เล่นรถพวกนี้ พอเริ่มลึกก็ขยับขึ้นไปแข่งรุ่นใหญ่ ประมาณว่าอยู่เฉยๆ ไม่มีที่ยืนก็กลายเป็นรถรุ่นใหญ่กันหมด รุ่นเล็กคนก็ไม่ค่อยสนใจดู ยกเว้นแต่จะมาเชียร์พวก เอาจริงๆ มันก็ไม่หายไปนะ รายการแข่งทั่วไปก็ยังเปิดแข่งรุ่นนี้อยู่ แต่มันเป็นเฉพาะกลุ่มมันเงียบๆ ไปช่วงหนึ่ง ก่อนจะกลับมาเล่นกันใหม่ช่วง 2 ปีที่แล้ว เพราะลูกค้ามีเยอะกว่ารุ่นใหญ่ มันก็วนกลับไปเรื่องเดิม และยิ่งช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น (Teen ก่ายหน้าผาก) แบบนี้ คนก็ไม่ลงทุนเยอะ รุ่นใหญ่ๆ ตั้งแต่ PRO TRUCK – SUPER MAX – SUPER DRAGSTER ที่ต้องจ่ายเยอะเป็นหลักล้านแค่รถไม่พอ ยังมีการเซอร์วิสที่จ่ายเยอะเช่นกัน ก็เลยหันมาเล่นกับรถบ้านยางบาง ที่ใช้งบประมาณไม่สูงนัก

เสน่ห์ของรถบ้านยางบาง” 

อะไรคือเสน่ห์ของมัน ก็ดูเหมือนเอารถกระบะหน้าตาบ้านๆ เห็นได้ทั่วไปมาแข่งกัน แต่ในความบ้าน มันก็มีฝีมือซ่อนอยู่ ไม่ใช่ว่าทำอะไรก็ได้ แล้วจะแรง หรือทำแรงๆ แล้วมันจะเร็วได้นะครับ

Special Tips

การแบ่งรุ่น

ถ้าใน Souped up เราก็จะมีเพียงรุ่นเดียว เพราะเราต้องการรถบ้านยางบางที่เร็วที่สุด” (จากการ Battle) แต่ถ้าแข่งขันทั่วไป ก็จะแบ่งแยกออกเป็น 2 รุ่น คือ 1,700 กก. กับ 1,600 กก. ซึ่งจะแบ่งแยกกันด้วยน้ำหนักและกติกาของตัวรถที่ต่างกันพอสมควร ดังนี้ครับ

รุ่น 1,700 กก.

มาเริ่มกันที่รุ่นตันเจ็ดก็คือ บังคับน้ำหนักต่ำสุด 1,700 กก. จะบอดี้ไหนก็มา หัวเดี่ยว หัวแค็บ หัวสี่ตู จุดประสงค์ของรุ่นนี้ คือรถบ้านจริงๆที่มีกันอยู่ก็มาแข่งกันได้เลย เพราะตอนนี้รุ่นตันหกชักจะไปไกลกันแล้ว ก็เอารุ่นนี้มาเพื่อให้คนทั่วไปเป็นจุดเริ่มต้นในการแข่งกันได้ครับ สำหรับกติกา ผมจะบอกแค่จุดแตกต่างโดยหลักของ 2 รุ่นนี้ ซึ่งกติการายละเอียดอื่นๆ อันนี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดแต่ละรายการนะครับ

รุ่น 1,600 กก.

อันนี้เป็นสุดยอดของรถบ้านยางบาง ที่จะออกแนว Advance เพราะการแข่งขันสูง พูดกันตรงๆ ก็วิญญาณ PRO TURBO 3000 ในคราบรถบ้านนั่นแหละครับ สำหรับรุ่นนี้ เราก็ขออ้างอิงตามรุ่น LENSO STREET TRUCK RADIAL by FLEX TURBO ของรายการ Souped Up ที่ผ่านมา

งบประมาณ

ถ้าเป็น “ZARD AOM Driver & Service” ก็ตีงบประมาณตั้งต้นไว้ “400,000 บาทในค่าทำแบบเหมาลูกค้าเอารถเข้ามา ทางอู่จัดการทำ เครื่อง มี ลูกก้าน MRX ข้อ 3,000 ซี.ซี. ระบบส่งกำลัง ช่วงล่าง โช้คอัพ และ A-arm มีให้ แต่ของจำพวกตกแต่งไม่รวมนะครับ พวก ล้อ เกจ์วัด เบาะ อะไรพวกนี้ลูกค้าต้องจ่ายเพิ่มเอง ซึ่งงบประมาณอาจจะมีเพิ่มกว่านี้ได้ ถ้าลูกค้าอยากจะได้ของเล่นไฮโซเช่น ท่อไทเทเนียม เทอร์โบเกรดสูง ราคาก็จะเพิ่มไปตามของที่เลือกใช้

Special Thanks

Facebook/ZARD AOM Driver & Service

Tel. 09-5196-3133   

*เพื่อความสะดวก กรุณาดู Video ผ่าน Google Chrome